วัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือที่จำพรรษาของพระภิกษุ และสามเณร เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในอุโบสถ อีกทั้งยังใช้ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ เป็นต้น และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมช่วยกันส่งเสริมพระพุทธศาสนา เช่น การมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน เป็นต้น

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธสร้างถวายพระพุทธเจ้า ส่วนวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา คือ วัดเชตวันมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย

วัดมีความผูกพันกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไทยอย่างแนบแน่นตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม เช่น เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและมหรสพของชาวบ้าน เป็นสถาน ที่ศึกษาของกุลบุตรที่ชาวบ้านส่งมารับใช้พระ รับการฝึกอบรมทางศีลธรรมและวิชาการต่างๆ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมที่รวบรวมศิลปกรรมของชาติ เป็นต้น

วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และ เขตสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาสจะเป็นส่วนกุฏิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มพื้นที่เขตสาธารณะเพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ของชุมชน เช่น ฌาปนสถาน หรือที่เผาศพ ในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัดตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น

ศาสนสถานประจำศาสนาพุทธ หรือวัด จำแนกตามภูมิภาคแบ่งออกเป็น ภาคเหนือ จำนวน 5,090 แห่ง (ร้อยละ 12.43) ภาคกลางจำนวน 8,733 แห่ง (ร้อยละ 21.32) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20,353 แห่ง (ร้อยละ 49.70) ภาคตะวันออก จำนวน 2,424 แห่ง (ร้อยละ 5.91) ภาคตะวันตก จำนวน 1,797 แห่ง (ร้อยละ 4.38) และภาคใต้ จำนวน 2,550 แห่ง (ร้อยละ 6.22) รวมทั้งสิ้น จำนวน 40,947 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคเหนือ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 5,090 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย จำนวน 1,056 แห่ง เชียงใหม่ จำนวน 1,089 แห่ง น่าน จำนวน 437 แห่ง พะเยา จำนวน 474 แห่ง แพร่ จำนวน 386 แห่ง แม่ฮ่องสอน จำนวน 142 แห่ง ลำปาง จำนวน 745 แห่ง ลำพูน จำนวน 436 แห่ง และอุตรดิตถ์ จำนวน 343 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคกลาง มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 8,733 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพฯ จำนวน 456 แห่ง กำแพงเพชร จำนวน 610 แห่ง ชัยนาท จำนวน 277 แห่ง นครนายก จำนวน 211 แห่ง นครปฐม จำนวน 227 แห่ง นครสวรรค์ จำนวน 811 แห่ง นนทบุรี จำนวน 196 แห่ง ปทุมธานี จำนวน 190 แห่ง พระนครศรีอยุธยา จำนวน 514 แห่ง พิจิตร จำนวน 468 แห่ง พิษณุโลก จำนวน 599 แห่ง เพชรบูรณ์ จำนวน 876 แห่ง ลพบุรี จำนวน 711 แห่ง สมุทรปราการ จำนวน 127 แห่ง สมุทรสงคราม จำนวน 110 แห่ง สมุทรสาคร จำนวน 110 แห่ง สระบุรี จำนวน 518 แห่ง สิงห์บุรี จำนวน 184 แห่ง สุโขทัย จำนวน 367 แห่ง สุพรรณบุรี จำนวน 591 แห่ง อ่างทอง จำนวน 219 แห่ง และอุทัยธานี จำนวน 361 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 20,353 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาฬสินธุ์ จำนวน 900 แห่ง ขอนแก่น จำนวน 1,458 แห่ง ชัยภูมิ จำนวน 1,056 แห่ง นครพนม จำนวน 807 แห่ง นครราชสีมา จำนวน 2,107 แห่ง บึงกาฬ จำนวน 423 แห่ง บุรีรัมย์ จำนวน 1,061 แห่ง มหาสารคราม จำนวน 1,032 แห่ง มุกดาหาร จำนวน 387 แห่ง ยโสธร จำนวน 649 แห่ง ร้อยเอ็ด จำนวน 1,581 แห่ง เลย จำนวน 719 แห่ง ศรีษะเกษ จำนวน 1,335 แห่ง สกลนคร จำนวน 1,173 แห่ง สุรินทร์ จำนวน 928 แห่ง หนองคาย จำนวน 635 แห่ง หนองบัวลำภู จำนวน 481 แห่ง อำนาจเจริญ จำนวน 378 แห่ง อุดรธานี จำนวน 1,443 แห่ง และอุบลราชธานี จำนวน 1,800 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันออก มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,424 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จันทบุรี จำนวน 380 แห่ง ฉะเชิงเทรา จำนวน 356 แห่ง ชลบุรี จำนวน 400 แห่ง ตราด จำนวน 144 แห่ง ปราจีนบุรี จำนวน 410 แห่ง ระยอง จำนวน 274 แห่ง และสระแก้ว จำนวน 460 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันตก มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,797 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาญจนบุรี จำนวน 590 ตาก จำนวน 267 ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 236 แห่ง เพชรบุรี จำนวน 274 แห่ง และราชบุรี จำนวน 430 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคใต้ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,550 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กระบี่ จำนวน 84 แห่ง ชุมพร จำนวน 231 แห่ง ตรัง จำนวน 173 แห่ง นครศรีรมราช จำนวน 623 แห่ง นราธิวาส จำนวน 75 แห่ง ปัตตานี จำนวน 83 แห่ง พังงา จำนวน 87 แห่ง พัทลุง จำนวน 245 แห่ง ภูเก็ต จำนวน 40 แห่ง ยะลา จำนวน 52 แห่ง ระนอง จำนวน 43 แห่ง สงขลา จำนวน 430 แห่ง สตูล จำนวน 41 แห่ง และสุราษฏร์ธานี จำนวน 343 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

วัดเป็นศาสนสถานที่สำคัญของพระพุทธศาสนา เป็นสถานที่อยู่อาศัย หรือที่จำพรรษาของพระภิกษุ และสามเณร เพื่อใช้ประกอบกิจกรรมประจำวันของพระภิกษุสงฆ์ เช่น การทำวัตรเช้าและเย็น และสังฆกรรมในอุโบสถ อีกทั้งยังใช้ประกอบพิธีกรรมในวันสำคัญทางศาสนา เช่น การเวียนเทียน การสวดมนต์ การทำสมาธิ เป็นต้น และยังเป็นศูนย์รวมในการมาร่วมกันทำกิจกรรมช่วยกันส่งเสริมพระพุทธศาสนา เช่น การมาทำบุญในวันพระของแต่ละท้องถิ่นของพุทธศาสนิกชน เป็นต้น

วัดแห่งแรกในพระพุทธศาสนา คือ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ซึ่งพระเจ้าพิมพิสาร แห่งแคว้นมคธสร้างถวายพระพุทธเจ้า ส่วนวัดที่พระพุทธเจ้าประทับจำพรรษานานที่สุดถึง ๑๙ พรรษา คือ วัดเชตวันมหาวิหาร ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของกรุงสาวัตถี ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย

วัดมีความผูกพันกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวไทยอย่างแนบแน่นตั้งแต่เกิดจนตาย เพราะวัดเป็นศูนย์กลางของสังคม เช่น เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลและมหรสพของชาวบ้าน เป็นสถาน ที่ศึกษาของกุลบุตรที่ชาวบ้านส่งมารับใช้พระ รับการฝึกอบรมทางศีลธรรมและวิชาการต่างๆ ทั้งยังเป็นศูนย์กลางวัฒนธรรมที่รวบรวมศิลปกรรมของชาติ เป็นต้น

วัดโดยส่วนใหญ่นิยมแบ่งเขตภายในวัดออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และ เขตสังฆาวาส โดยส่วนพุทธาวาสจะเป็นที่ตั้งของสถูปเจดีย์ อุโบสถ สถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา ส่วนสังฆาวาสจะเป็นส่วนกุฏิสงฆ์สำหรับภิกษุสามเณรจำพรรษา อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันแทบทุกวัดจะเพิ่มพื้นที่เขตสาธารณะเพื่อใช้ในกิจกรรมสาธารณะต่างๆ ของชุมชน เช่น ฌาปนสถาน หรือที่เผาศพ ในอดีตส่วนนี้จะเป็นป่าช้า ซึ่งอยู่ติดหรือใกล้วัดตามธรรมเนียมของแต่ละท้องถิ่น

ศาสนสถานประจำศาสนาพุทธ หรือวัด จำแนกตามภูมิภาคแบ่งออกเป็น ภาคเหนือ จำนวน 5,090 แห่ง (ร้อยละ 12.43) ภาคกลางจำนวน 8,733 แห่ง (ร้อยละ 21.32) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20,353 แห่ง (ร้อยละ 49.70) ภาคตะวันออก จำนวน 2,424 แห่ง (ร้อยละ 5.91) ภาคตะวันตก จำนวน 1,797 แห่ง (ร้อยละ 4.38) และภาคใต้ จำนวน 2,550 แห่ง (ร้อยละ 6.22) รวมทั้งสิ้น จำนวน 40,947 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคเหนือ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 5,090 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ เชียงราย จำนวน 1,056 แห่ง เชียงใหม่ จำนวน 1,089 แห่ง น่าน จำนวน 437 แห่ง พะเยา จำนวน 474 แห่ง แพร่ จำนวน 386 แห่ง แม่ฮ่องสอน จำนวน 142 แห่ง ลำปาง จำนวน 745 แห่ง ลำพูน จำนวน 436 แห่ง และอุตรดิตถ์ จำนวน 343 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคกลาง มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 8,733 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพฯ จำนวน 456 แห่ง กำแพงเพชร จำนวน 610 แห่ง ชัยนาท จำนวน 277 แห่ง นครนายก จำนวน 211 แห่ง นครปฐม จำนวน 227 แห่ง นครสวรรค์ จำนวน 811 แห่ง นนทบุรี จำนวน 196 แห่ง ปทุมธานี จำนวน 190 แห่ง พระนครศรีอยุธยา จำนวน 514 แห่ง พิจิตร จำนวน 468 แห่ง พิษณุโลก จำนวน 599 แห่ง เพชรบูรณ์ จำนวน 876 แห่ง ลพบุรี จำนวน 711 แห่ง สมุทรปราการ จำนวน 127 แห่ง สมุทรสงคราม จำนวน 110 แห่ง สมุทรสาคร จำนวน 110 แห่ง สระบุรี จำนวน 518 แห่ง สิงห์บุรี จำนวน 184 แห่ง สุโขทัย จำนวน 367 แห่ง สุพรรณบุรี จำนวน 591 แห่ง อ่างทอง จำนวน 219 แห่ง และอุทัยธานี จำนวน 361 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 20,353 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาฬสินธุ์ จำนวน 900 แห่ง ขอนแก่น จำนวน 1,458 แห่ง ชัยภูมิ จำนวน 1,056 แห่ง นครพนม จำนวน 807 แห่ง นครราชสีมา จำนวน 2,107 แห่ง บึงกาฬ จำนวน 423 แห่ง บุรีรัมย์ จำนวน 1,061 แห่ง มหาสารคราม จำนวน 1,032 แห่ง มุกดาหาร จำนวน 387 แห่ง ยโสธร จำนวน 649 แห่ง ร้อยเอ็ด จำนวน 1,581 แห่ง เลย จำนวน 719 แห่ง ศรีษะเกษ จำนวน 1,335 แห่ง สกลนคร จำนวน 1,173 แห่ง สุรินทร์ จำนวน 928 แห่ง หนองคาย จำนวน 635 แห่ง หนองบัวลำภู จำนวน 481 แห่ง อำนาจเจริญ จำนวน 378 แห่ง อุดรธานี จำนวน 1,443 แห่ง และอุบลราชธานี จำนวน 1,800 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันออก มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,424 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ จันทบุรี จำนวน 380 แห่ง ฉะเชิงเทรา จำนวน 356 แห่ง ชลบุรี จำนวน 400 แห่ง ตราด จำนวน 144 แห่ง ปราจีนบุรี จำนวน 410 แห่ง ระยอง จำนวน 274 แห่ง และสระแก้ว จำนวน 460 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคตะวันตก มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 1,797 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กาญจนบุรี จำนวน 590 ตาก จำนวน 267 ประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 236 แห่ง เพชรบุรี จำนวน 274 แห่ง และราชบุรี จำนวน 430 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง

ภาคใต้ มีวัดรวมทั้งสิ้นจำนวน 2,550 แห่ง แบ่งเป็นจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กระบี่ จำนวน 84 แห่ง ชุมพร จำนวน 231 แห่ง ตรัง จำนวน 173 แห่ง นครศรีรมราช จำนวน 623 แห่ง นราธิวาส จำนวน 75 แห่ง ปัตตานี จำนวน 83 แห่ง พังงา จำนวน 87 แห่ง พัทลุง จำนวน 245 แห่ง ภูเก็ต จำนวน 40 แห่ง ยะลา จำนวน 52 แห่ง ระนอง จำนวน 43 แห่ง สงขลา จำนวน 430 แห่ง สตูล จำนวน 41 แห่ง และสุราษฏร์ธานี จำนวน 343 แห่ง ดังแผนภูมิด้านล่าง