ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ศพอ.)

แนวนโยบายเรื่องศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์
โดย พระพรหมบัณฑิต กรรมการมหาเถรสมาคม ที่ปรึกษาโครงการศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์


ท่านผู้บริหารและครูผู้สอนในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์กรุงเทพมหานครและทั่วประเทศ ขอเจริญพร
ท่านเกรียงศักดิ์ บุญประสิทธิ์ อธิบดีกรมการศาสนา

      ในโอกาสที่มีการประชุมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ ที่เข้ากับยุคสมัยของการแพร่ระบาดของโควิด ๑๙ ขอมี ส่วนร่วมกับท่านทั้งหลายด้วยการกล่าวปรารภถึงการประชุมครั้งนี้ว่า ถ้าจะให้ได้ประโยชน์ได้สาระในการที่จัดประชุม ร่วมกัน ก็คงจะต้องรําลึกถึงพระปฐมบรมราชโองการ ของในหลวงรัชกาลปัจจุบันตอนหนึ่งที่พูดถึง สืบสาน รักษา
และต่อยอด เพราะว่างาน
ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น เป็นสิ่งที่พวกเราผู้บริหารและครูผู้สอน
ได้สืบ สานสิ่งที่ริเริ่มไว้นานมาแล้วในประเทศของเรา รักษาสืบต่อกันมา วันนี้เราก็จะได้มาต่อยอดและพัฒนางาน
ต่อไป
    ท่านทั้งหลายคงจําได้ว่าการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์นั้น เริ่มที่ประเทศศรีลังกา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๘
สมัยรัชกาลที่ ๕ ในศรีลังกาสมัยนั้นมีการเผยแผ่ศาสนาอื่นมาก จนเยาวชนห่างเหินศาสนาโดยเฉพาะ พระพุทธศาสนา โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์จึงมีความจําเป็นในประเทศนั้น แล้วก็พัฒนาต่อเนื่องมาจน ปัจจุบัน ถ้าเราอยากจะดูงานดั้งเดิมและมีการพัฒนาอย่างมากมายมหาศาลให้ไปดูที่ศรีลังกาได้ ผู้พูดนั้นเคยไปดูงาน ที่ศรีลังกา ก็ยังเห็นบรรยากาศคึกคัก เรียนกันจริงจังอยู่จนทุกวันนี้ ในส่วนประเทศไทยเราเริ่มเปิดการศึกษาเรียกว่า โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ที่วัดมหาธาตุฯท่าพระจันทร์ ที่ตั้งของมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในปีพุทธศักราช ๒๕๐๑ มาถึงปัจจุบันก็ถึง ๖๒ - ๒๓ ปี จนกระทั่งเปิดขยายไปทั่วหลายแห่ง ทางกรมการศาสนาซึ่งตอนนั้นก็ ยังดําเนินงานอยู่กับสํานักเลขาธิการมหาสมาคม ก็รับเอามาเป็นงานในระดับของราชการในปี พ.ศ.๒๕๒๐ และก็มา เปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนมาเป็นศูนย์ศึกษาในปี พ.ศ.๒๕๒๓
    การที่กล่าวเรื่องนี้ก็ให้เห็นว่าบูรพาจารย์ของเราได้สืบสาน รักษากันมา ส่งไม้ต่อ ๆ กันมาจนมาถึง ยุคพวกเราในปัจจุบัน แล้วเราจะต่อยอดทําอะไรต่อไป ก็ต้องมองซ้ายมองขวา มองบริบททางสังคมในยุคปัจจุบัน ว่าเราจะปรับกลยุทธ์ปรับกระบวนการอย่างไร ที่จะทําให้การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์มีชีวิตชีวามากขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นยุคปัจจุบัน ที่เราน่าจะเอามาพิจารณาเกี่ยวข้องเห็นได้ชัด ในกรมการศาสนามีสํานักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมเพื่อ มาดูแลงานนี้ หมายความว่าทางรัฐบาลนั้นโดยเฉพาะในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี
ให้ความสําคัญกับเรื่องการพัฒนา คุณธรรมจริยธรรม มีการออกประกาศใช้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑
(๒๕๕๔ – ๒๕๖๔) และจะขยาย ออกไปเป็นถึงปี ๒๕๑๕ จากนั้นจึงจะมีฉบับต่อไป
    ฉะนั้น ทั่วประเทศตอนนี้ให้ความสําคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม และคําถามศูนย์ ศึกษาพระพุทธศาสนา
วันอาทิตย์เราจะอยู่ในขบวนรถไฟขบวนนี้ได้อย่างไร โดยมีกรมการศาสนาเป็นตัวเชื่อม ไป ส่งเสริมแผนของชาติในเรื่องของการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม อันนี้ก็เป็นบริบทเป็นสิ่งแวดล้อมที่สําคัญที่จะช่วย ขับเคลื่อนงานของเราอีกเรื่องหนึ่งก็คือ การประกาศใช้ประกาศ
พระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม พุทธศักราช ๒๕๖๒ ให้ความสําคัญกับการยกเครื่องและเพิ่มอัดฉีดงบประมาณเข้าไป
ในการศึกษาพระปริยัติธรรมและ ในภาคหนึ่งของการศึกษาพระปริยัติธรรม คือ นักธรรม นักธรรมก็มีธรรมศึกษา และมีงบประมาณและบุคลากรก็จะ เข้าไปในเรื่องของนักธรรม ธรรมศึกษา เราได้ปรับนโยบายให้การศึกษาในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สอดคล้องกับหลักสูตรธรรมศึกษาไปแล้ว ในเชิงนโยบายในภาคปฏิบัติก็ค่อย ๆ ปรับไป

    เพราะฉะนั้น เราก็พลอยได้รับอานิสงส์ในเรื่องของการมีพระราชบัญญัติการศึกษาพระปริยัติธรรม แทนที่จะมองการศึกษา
ของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เป็นการศึกษาสงเคราะห์อย่างเดียว เราก็ต้องมองว่าเป็นการศึกษาพระปริยัติธรรมในฝ่ายธรรมศึกษาไปด้วย เพราะฉะนั้นก็น่าจะได้รับการอัดฉีดส่งเสริม สนับสนุนจากช่องทางนี้ อีกเรื่องหนึ่งก็คือตอนนี้มีการปรับใหญ่ในเรื่องของระเบียบมหาเถรสมาคมว่าด้วยการเผยแผ่ พระพุทธศาสนา ในระเบียบนี้ก็จะสร้างเครือข่ายภาคีเครือข่ายของการเผยแผ่พระพุทธศาสนาซึ่งเป็นงานของคณะ สงฆ์ทั่วประเทศ เมื่อการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์อยู่ในวัดเราจะนับเป็นงานอะไรเป็นงานการศึกษาสงเคราะห์ เป็นงานธรรมศึกษา หรือเป็นงานเผยแผ่ ตอบว่าได้ทั้งนั้น และก็มีบุคลากร มีงบประมาณมาจากส่วนไหน เราเอามาใช้ ให้เป็นประโยชน์ เราก็จะได้ยกเครื่อง เราจะได้เชื่อมกับชุมชนเพราะว่าเราทํางานในส่วนของการส่งเสริมคุณธรรม แห่งชาติ และก็ต้องตระหนักด้วยว่าคุณธรรมแห่งชาตินั้นขับเคลื่อนคุณธรรมหลักอยู่ ๔ ประการ ที่เราจะต้องบูรณาการ เข้ากับหลักสูตรของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ นั้นก็คือ “พอเพียง วินัย สุจริต จิตอาสา” สร้าง คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของเยาวชนของชาติให้มีลักษณะอันพึงประสงค์ ๔ ประการนี้ได้ ถ้าเราทําได้หรือเราสามารถ ปลูกฝังคุณธรรม ๔ ประการนั้นได้ เราก็เข้าไปในขบวนรถไฟของการพัฒนาชาติในยุคปัจจุบันไม่ตกยุค ซึ่งกรมการ ศาสนาเป็นตัวเชื่อมตรงนี้เพื่อที่จะเดินหน้าต่อไป

    นี่คือการต่อยอดและเชื่อมกับสิ่งต่างๆที่มีอยู่ ทั้งกับระดับประเทศกับมหาเถรสมาคม กับงานของ ศาสนาทั้งหลาย เราจะเอามาปรับกระบวนยุทธ์กระบวนการของ ศพอ. ของเราอย่างไร หลักก็คือในการจัดการศึกษา มันหนีไม่พ้นเรื่องการประกันคุณภาพ เพราะการประกันคุณภาพมันเป็นสิ่งที่จําเป็นจะต้องทําในยุคปัจจุบันที่ไม่ว่า การจัดการศึกษาที่ไหนอย่างไรจะในระบบโรงเรียน นอกระบบ ตามอัธยาศัย ต้องให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ในพรบ. การศึกษาแห่งชาติ ถือว่าผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง และผู้เรียนจะต้องได้รับประโยชน์คุ้มค่า
กับเวลากับเงินทองที่เขาเสียไป นั่นก็คือฝ่ายผู้จัดต้องประกันคุณภาพ ซึ่ง ศพอ. ก็จะต้องทําแบบเดียวกันคือ ประกันคุณภาพ เวลาที่เราพูดถึงการพัฒนา พูดถึงการพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนของเรา ของศูนย์ของเรา มีคําที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพอาจจะ อาจจะ
สัก ๓ ข้อ ที่จะฝากกับท่านทั้งหลายไว้

รายชื่อ ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ทั้งหมด