1 หลักคำสอน ยึดอหิงสา คือการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ส่วนหลักปฏิบัติเป็นการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ด้วยจิตที่มีความ สงบ สุข สำราญใจ อันเกิดขึ้นจากการภาวนาในข้อธรรม ที่กำหนดไวใน หมวดต่างๆ ธรรมสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ “พรหมธรรม” เป็นการปฏิบัติธรรมของพระพรหม ๔ ประการ คือ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุทิตา ๑ อุเบกขา ๑ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องนำจิตให้ถึงพรหม โดยแม่นมั่น แน่วแน่อยู่ในความสงบ โดยไม่มีสิ่งใดๆ จูงจิตไปสู่กิเลสอันเป็นเครื่องนำ ไปสู่ความทุกข์โทมนัส
จุดมุ่งหมายของ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น เป็นความหลุดพ้นทั้งจากกอง กิเลสและกองทุกข์ ซึ่งเมื่อหลุดพ้นไปแล้วจะกลายเป็นเอกภาพ มีภาวะ เป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับปรมาตมันด้วย ภาวะเช่นนี้เรียกว่า โมกษะ จะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก มีสภาพไปกลมกลืนรวมอยู่กับปรมาตมันเป็นการสอนให้รู้จักและเข้าใจในกรรมของตนมิใช่ขอพึ่งพระเป็นเจ้าอย่างเดียว ดังนั้น คัมภีร์พระเวทจึงบัญญัติว่า มนุษยชาติทั้งหลายควรปฏิบัติ ตามคติ ๔ ประการ คือ ในทุกช่วง “อาศรม” ของชีวิตช่วงอาศรมของชีวิต มี ๔ ช่วง (1) ศึกษากาล เรียกว่า พรหมจรยาศรม ช่วงแรกตั้งแต่ เกิด - อายุ ๒๕ ปี หมายถึง เวลาแห่งการกระทำให้ตนเอง ได้แก่ ศึกษา เล่าเรียน (2) บริวารกาล เรียกว่า คฤหัสถาศรม อายุ ๒๕- ๕๐ ปี ประกอบอาชีพ แต่งงาน เป็นเวลากระทำให้ครอบครัว (3) สังคมกาล เรียกว่า วานปรัสถาศรม อายุ ๕๑- ๗๕ ปี เป็นเวลาแห่งการกระทำเพื่อสังคมและประเทศชาติ (4) วิศวกาล เรียกว่า สันยัสตาศรม เป็นช่วงอายุ ๗๕ ปี ขึ้นไป เป็นเวลาแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติทั้งปวง เป็นนักบวช

2 หลักปฏิบัติ หรือคติธรรม ที่มนุษยชาติควรถือปฏิบัติ ๔ ประการ มีดังนี้
(1) ธรรมะ คือ การดำรงชีวิตภายใต้กรอบคำสอนของศาสนา
(2) อรรถะ คือ การแสวงหาทรัพย์ ดำรงชีวิตภายในกรอบของศาสนา
(3) กามะ คือ การแสวงหาความสุขทางโลก ภายใต้กรอบ คำสอนของศาสนา
(4) โมกษะ คือ ในที่สุด ต้องแสวงหาความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
โดยหน้าที่ของศาสนิกพราหมณ์ - ฮินดู แท้จริง มีกิจประจำ วันที่ต้องปฏิบัติ ๗ ข้อ ดังนี้
(1) บูชาเทพประจำครอบครัว สวดบูชา ทำสมาธิ ไปไหว้ พระที่เทวาลัย เดินทางไปแสวงบุญ ณ สถานศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ใจจดจ่อ อยู่ที่พระผู้เป็นเจ้า
(2) ศึกษาคัมภีร์ทางศาสนา ดำเนินชีวิตส่วนตัว ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคมให้เป็นไปตามคำสอน จะต้องจำให้ได้เสมอว่ามนุษย์ มีจุดมุ่งหมายของชีวิต ๔ ประการ คือ มีหนี้ที่ต้องชำระ ๑ ช่วงชีวิตที่ เรียกว่า “อาศรม” ๔ ช่วง ต้องใช้หลักศีลธรรมกำกับ เพื่อดำเนินชีวิตไป สู่จุดหมาย ได้แก่ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ คือการดำรงชีวิต ภายใต้กรอบคำสอนของศาสนาตามที่กล่าวมาแล้ว
(3) เชื่อในคำสอนที่สืบทอดต่อๆ กันมา
(4) เชื่อในเทพทั้งหลายที่แท้ คือ หลายรูปของพระเป็นเจ้า สูงสุดพระองค์เดียว
(5) เคารพนับถือมุนีผู้บรรลุธรรม นักพรต ทั้งบุรุษและสตรี เคารพครู พ่อแม่ และคนสูงอายุ
(6) ช่วยเหลือคนที่ขาดแคลนยากจน คนพิการที่ช่วยเหลือ ตนเองไม่ได้ คนป่วย คนด้อยโอกาส
(7) ต้อนรับแขกด้วยความรัก ความนับถือ พร้อมที่จะบริการ ให้ความสะดวก นอกจากนั้นจะต้องทำกิจประจำวันเรียกว่า “ปัญจมหา ยัชญะ” คือ การบูชาที่ยิ่งใหญ่ ๔ ประการ ได้แก่
(1) พรหมยัชญะ ท่องคัมภีร์พระเวทและคัมภีร์ทางศาสนา อื่นๆ ทุกวัน เพื่อรักษาความรู้เก่าและเพิ่มความรู้ใหม่
(2) ปิตฤยัชญะ นึกถึงบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกวัน เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่ท่านสร้างสรรค์ไว้
(3) เทวยัชญะ ระลึกถึงพระเป็นเจ้า โดยการสวดมนต์ ทุกวันและทำสมาธิ
(4) ภูตยัชญะ ให้อาหารแก่คนหิวโหย เป็นการพัฒนาให้ รู้จักการแบ่งปน อันเป็นธรรมสูงสุดสำหรับช่วงชีวิตของทุกอาศรม รวมทั้ง การดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์ซึ่งถือเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
นรยัชญะ ให้ความรัก ความเคารพ นับถือแขกผู้มาเยือน เปรียบเสมือนเทพทั้งหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ มีรายละเอียดที่จำแนก คุณและโทษเพื่อความลึกซึ้งในข้อธรรมทุกลักษณะ อันเป็นศรัทธา ความ เข้าใจให้ยึดมั่นให้เชื่อมโยงจิตวิญญาณไว้กับพระเป็นเจ้าแน่นแฟ้นสืบทอด จากรุ่นสู่รุ่นตลอดไป

1 หลักคำสอน ยึดอหิงสา คือการไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น ส่วนหลักปฏิบัติเป็นการกระทำทั้งกาย วาจา ใจ ด้วยจิตที่มีความ สงบ สุข สำราญใจ อันเกิดขึ้นจากการภาวนาในข้อธรรม ที่กำหนดไวใน หมวดต่างๆ ธรรมสำคัญของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ “พรหมธรรม” เป็นการปฏิบัติธรรมของพระพรหม ๔ ประการ คือ เมตตา ๑ กรุณา ๑ มุทิตา ๑ อุเบกขา ๑ ผู้ปฏิบัติธรรมจะต้องนำจิตให้ถึงพรหม โดยแม่นมั่น แน่วแน่อยู่ในความสงบ โดยไม่มีสิ่งใดๆ จูงจิตไปสู่กิเลสอันเป็นเครื่องนำ ไปสู่ความทุกข์โทมนัส
จุดมุ่งหมายของ ศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู เพื่อนำบุคคลไปสู่ความหลุดพ้น เป็นความหลุดพ้นทั้งจากกอง กิเลสและกองทุกข์ ซึ่งเมื่อหลุดพ้นไปแล้วจะกลายเป็นเอกภาพ มีภาวะ เป็นอันหนึ่งอันเดียวไปกับปรมาตมันด้วย ภาวะเช่นนี้เรียกว่า โมกษะ จะไม่มีการเวียนว่ายตายเกิดอีก มีสภาพไปกลมกลืนรวมอยู่กับปรมาตมันเป็นการสอนให้รู้จักและเข้าใจในกรรมของตนมิใช่ขอพึ่งพระเป็นเจ้าอย่างเดียว ดังนั้น คัมภีร์พระเวทจึงบัญญัติว่า มนุษยชาติทั้งหลายควรปฏิบัติ ตามคติ ๔ ประการ คือ ในทุกช่วง “อาศรม” ของชีวิตช่วงอาศรมของชีวิต มี ๔ ช่วง (1) ศึกษากาล เรียกว่า พรหมจรยาศรม ช่วงแรกตั้งแต่ เกิด - อายุ ๒๕ ปี หมายถึง เวลาแห่งการกระทำให้ตนเอง ได้แก่ ศึกษา เล่าเรียน (2) บริวารกาล เรียกว่า คฤหัสถาศรม อายุ ๒๕- ๕๐ ปี ประกอบอาชีพ แต่งงาน เป็นเวลากระทำให้ครอบครัว (3) สังคมกาล เรียกว่า วานปรัสถาศรม อายุ ๕๑- ๗๕ ปี เป็นเวลาแห่งการกระทำเพื่อสังคมและประเทศชาติ (4) วิศวกาล เรียกว่า สันยัสตาศรม เป็นช่วงอายุ ๗๕ ปี ขึ้นไป เป็นเวลาแห่งการกระทำเพื่อมนุษยชาติทั้งปวง เป็นนักบวช

2 หลักปฏิบัติ หรือคติธรรม ที่มนุษยชาติควรถือปฏิบัติ ๔ ประการ มีดังนี้
(1) ธรรมะ คือ การดำรงชีวิตภายใต้กรอบคำสอนของศาสนา
(2) อรรถะ คือ การแสวงหาทรัพย์ ดำรงชีวิตภายในกรอบของศาสนา
(3) กามะ คือ การแสวงหาความสุขทางโลก ภายใต้กรอบ คำสอนของศาสนา
(4) โมกษะ คือ ในที่สุด ต้องแสวงหาความหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
โดยหน้าที่ของศาสนิกพราหมณ์ - ฮินดู แท้จริง มีกิจประจำ วันที่ต้องปฏิบัติ ๗ ข้อ ดังนี้
(1) บูชาเทพประจำครอบครัว สวดบูชา ทำสมาธิ ไปไหว้ พระที่เทวาลัย เดินทางไปแสวงบุญ ณ สถานศักดิ์สิทธิ์ เพื่อให้ใจจดจ่อ อยู่ที่พระผู้เป็นเจ้า
(2) ศึกษาคัมภีร์ทางศาสนา ดำเนินชีวิตส่วนตัว ชีวิตที่เกี่ยวข้องกับสังคมให้เป็นไปตามคำสอน จะต้องจำให้ได้เสมอว่ามนุษย์ มีจุดมุ่งหมายของชีวิต ๔ ประการ คือ มีหนี้ที่ต้องชำระ ๑ ช่วงชีวิตที่ เรียกว่า “อาศรม” ๔ ช่วง ต้องใช้หลักศีลธรรมกำกับ เพื่อดำเนินชีวิตไป สู่จุดหมาย ได้แก่ ธรรมะ อรรถะ กามะ และโมกษะ คือการดำรงชีวิต ภายใต้กรอบคำสอนของศาสนาตามที่กล่าวมาแล้ว
(3) เชื่อในคำสอนที่สืบทอดต่อๆ กันมา
(4) เชื่อในเทพทั้งหลายที่แท้ คือ หลายรูปของพระเป็นเจ้า สูงสุดพระองค์เดียว
(5) เคารพนับถือมุนีผู้บรรลุธรรม นักพรต ทั้งบุรุษและสตรี เคารพครู พ่อแม่ และคนสูงอายุ
(6) ช่วยเหลือคนที่ขาดแคลนยากจน คนพิการที่ช่วยเหลือ ตนเองไม่ได้ คนป่วย คนด้อยโอกาส
(7) ต้อนรับแขกด้วยความรัก ความนับถือ พร้อมที่จะบริการ ให้ความสะดวก นอกจากนั้นจะต้องทำกิจประจำวันเรียกว่า “ปัญจมหา ยัชญะ” คือ การบูชาที่ยิ่งใหญ่ ๔ ประการ ได้แก่
(1) พรหมยัชญะ ท่องคัมภีร์พระเวทและคัมภีร์ทางศาสนา อื่นๆ ทุกวัน เพื่อรักษาความรู้เก่าและเพิ่มความรู้ใหม่
(2) ปิตฤยัชญะ นึกถึงบรรพบุรุษผู้ที่ล่วงลับไปแล้วทุกวัน เพื่อสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่ท่านสร้างสรรค์ไว้
(3) เทวยัชญะ ระลึกถึงพระเป็นเจ้า โดยการสวดมนต์ ทุกวันและทำสมาธิ
(4) ภูตยัชญะ ให้อาหารแก่คนหิวโหย เป็นการพัฒนาให้ รู้จักการแบ่งปน อันเป็นธรรมสูงสุดสำหรับช่วงชีวิตของทุกอาศรม รวมทั้ง การดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยงและพืชพันธุ์ซึ่งถือเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมด้วย
นรยัชญะ ให้ความรัก ความเคารพ นับถือแขกผู้มาเยือน เปรียบเสมือนเทพทั้งหลักคำสอนและหลักปฏิบัติ มีรายละเอียดที่จำแนก คุณและโทษเพื่อความลึกซึ้งในข้อธรรมทุกลักษณะ อันเป็นศรัทธา ความ เข้าใจให้ยึดมั่นให้เชื่อมโยงจิตวิญญาณไว้กับพระเป็นเจ้าแน่นแฟ้นสืบทอด จากรุ่นสู่รุ่นตลอดไป