สกุลพราหมณ์จากสายภาคใต้เป็นหลักในการก่อตั้งเทวสถานประจำพระนคร มีการตั้งเสาชิงช้าตามคติการสร้างบ้านเมืองของพิธีพราหมณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สร้างพระบรมมหาราชวังมนเทียรพระราชฐาน และวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จ มีการประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย และพิธีโล้ชิงช้า เพื่อพระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาประสิทธิ์ประสาทสวัสดิมงคล อันอุดมด้วยความมั่นคงไพบูลย์แห่งพระราชอาณาจักร

พราหมณ์ ณ เทวสถานแห่งนี้ คือกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายในการพระราชพิธีแห่งพระมหากษัตรียาธิราชเจ้าทุกรัชกาลของแผ่นดิน ตลอดทั้งพิธีของพระราชวงศ์ หน่วยราชการและอาณาประชาราษฎร์ให้ศานติสุข ให้ความร่มเย็นธำรงอยู่ในสังคมไทยสืบเนื่องต่อมาไม่ขาดสายตราบปัจจุบัน ซึ่งการพระราชพิธีหรือพิธีนั้นๆ จะมีพิธีสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้พิธีกรรมทั้งสองศาสนาได้ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงเอกลักษณ์ความกลมกลืนไปด้วยกันตลอดมา

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบ้านเมืองสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สถานการณ์ใด หรือบ้านเมืองมีผลกระทบจากสังคมโลกสถานใด บทบาทความสำคัญของคติพราหมณ์แห่งเทวสถานก็มิได้ลด หรือตัดทอนสิ่งที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมครั้งประเทศไทยยึดถือการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่โบราณกาลกระทั้งถึงรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หลังจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จารีตอันเป็นโบราณ ราชประเพณีอันงดงาม แม้มิได้รับความนิยมและเห็นชอบในคติพราหมณีตามกระแสของระบอบประชาธิปไตยในเบื้องต้นก็ตาม ระเบียบประเพณีตามคติพราหมณีก็ยังคงรักษาและถือปฏิบัติแสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาติไทยเสมอมา คติพราหมณ์แห่งเทวสถานคงสนองภารกิจที่เกิดขึ้นใหม่ตามสมัย ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับรูปแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องตามความประสงค์ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์ตลอดมา จึงได้เห็นวิวัฒนาการการปรุงแต่งคติความดีงามที่คณะพราหมณ์ยึดมั่นและผจง สร้างสรรค์สรรพสิ่งมงคลนานาประการ ทั้งในสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ในทุกๆ โอกาส เพื่อความร่มเย็นศานติสุขเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการธำรงความเจริญรุ่งเรืองให้ยั่งยืนสืบไป

คุณสมบัติของพราหมณ์ในสังคมไทย ผู้มีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม คือ พราหมณ์ทวิชาติ ถือว่าเป็นพราหมณ์ที่แท้จริง หมายถึง ผู้ได้มีการเกิด ๒ ครั้ง กำเนิดพราหมณ์ครั้งแรกจากบิดามารดา กำเนิดครั้งที่ ๒ จากการบวช เพื่อปฏิบัติบูชาและประกาศพระคุณของเทพเจ้า เพื่อนำชีวิตของศาสนิกชนให้กลับไปอยู่กับพรหม พรหมัน มีคุณสมบัติ ๕ ประการคือ
(1) ชาติหรือกำเนิด ต้องเกิดจากบิดามารดาผู้อยู่ในวรรณะ พราหมณ์มาโดยตลอด ๗ ชั่วอายุ
(2) มนตร์ ต้องเรียนจบไตรเพทและคัมภีร์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับคัมภีร์ไตรเพทจนมีความรู้ความชำนาญ
(3) วรรณะ หมายถึงรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณงดงามผุดผ่องคล้ายพรหม
(4) ศีล คือปฏิบัติรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย รู้จักควบคุมอารมณ์
(5) ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความฉลาดที่เกิดจากการ เรียน ชนทั่วไปนับถือว่าเป็นอาจารย์
ลักษณะดังกล่าวคือรูปแบบพราหมณ์ของเทวสถาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย สังเกตได้จากการไว้มวยผม แต่งกายนุ่งขาวตลอดเวลา เมื่อประกอบพิธีกรรมจะนุ่งโจง สวมเสื้อราชปะแตน ไม่บริโภคเนื้อโค ไม่ปฏิเสธการปฏิบัติกิจทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมเนื่องตามข้อบัญญัติในศาสนาและมีการประสานสัมพันธ์สมาคมกับคณะพราหมณ์ - ฮินดูในนิกายอื่นๆ ทุกแห่งอย่างดี

เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีคณะพราหมณ์ - ฮินดูในนิกายอื่น ซึ่งเป็นแหล่งที่ชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาประกอบอาชีพค้าขาย และพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานจำนวนมาก ได้สร้างคาสนสถานขึ้น สำหรับปฏิบัติคาสนกิจและประกอบพิธีสักการบูชาพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาด้วย ปรากฏว่าเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาตราบถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้เผยแพร่คาสนกิจในกลุ่มชนชาวอินเดียอย่างเสรีขึ้นหลายกลุ่มศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวจีน เมื่อถึงเทศกาลสำคัญจะมีผู้ไปสักการะร่วมงานนอกจากชาวอินเดียแล้ว ยังมีระชาชนในศาสนาอื่นด้วย อันแสดงศรัทธาความเชื่ออย่างแท้จริงในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูนั่นเอง

สกุลพราหมณ์จากสายภาคใต้เป็นหลักในการก่อตั้งเทวสถานประจำพระนคร มีการตั้งเสาชิงช้าตามคติการสร้างบ้านเมืองของพิธีพราหมณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๗ หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ สร้างพระบรมมหาราชวังมนเทียรพระราชฐาน และวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้วเสร็จ มีการประกอบพระราชพิธีตรียัมปวาย - ตรีปวาย และพิธีโล้ชิงช้า เพื่อพระผู้เป็นเจ้าเสด็จมาประสิทธิ์ประสาทสวัสดิมงคล อันอุดมด้วยความมั่นคงไพบูลย์แห่งพระราชอาณาจักร

พราหมณ์ ณ เทวสถานแห่งนี้ คือกลไกสำคัญที่ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรมทั้งหลายในการพระราชพิธีแห่งพระมหากษัตรียาธิราชเจ้าทุกรัชกาลของแผ่นดิน ตลอดทั้งพิธีของพระราชวงศ์ หน่วยราชการและอาณาประชาราษฎร์ให้ศานติสุข ให้ความร่มเย็นธำรงอยู่ในสังคมไทยสืบเนื่องต่อมาไม่ขาดสายตราบปัจจุบัน ซึ่งการพระราชพิธีหรือพิธีนั้นๆ จะมีพิธีสงฆ์ในพระพุทธศาสนาเป็นหลัก ทำให้พิธีกรรมทั้งสองศาสนาได้ผสมผสานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงเอกลักษณ์ความกลมกลืนไปด้วยกันตลอดมา

อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าบ้านเมืองสังคมไทยจะก้าวเข้าสู่สถานการณ์ใด หรือบ้านเมืองมีผลกระทบจากสังคมโลกสถานใด บทบาทความสำคัญของคติพราหมณ์แห่งเทวสถานก็มิได้ลด หรือตัดทอนสิ่งที่มีมาตั้งแต่ดั้งเดิมครั้งประเทศไทยยึดถือการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ตั้งแต่โบราณกาลกระทั้งถึงรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

หลังจาก พ.ศ. ๒๔๗๕ ประเทศไทยเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จารีตอันเป็นโบราณ ราชประเพณีอันงดงาม แม้มิได้รับความนิยมและเห็นชอบในคติพราหมณีตามกระแสของระบอบประชาธิปไตยในเบื้องต้นก็ตาม ระเบียบประเพณีตามคติพราหมณีก็ยังคงรักษาและถือปฏิบัติแสดงความเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชาติไทยเสมอมา คติพราหมณ์แห่งเทวสถานคงสนองภารกิจที่เกิดขึ้นใหม่ตามสมัย ซึ่งได้มีการพัฒนาปรับรูปแบบดั้งเดิมให้สอดคล้องตามความประสงค์ให้สัมฤทธิ์ผลอย่างสมบูรณ์ตลอดมา จึงได้เห็นวิวัฒนาการการปรุงแต่งคติความดีงามที่คณะพราหมณ์ยึดมั่นและผจง สร้างสรรค์สรรพสิ่งมงคลนานาประการ ทั้งในสถาบันชาติ ศาสนา และ พระมหากษัตริย์ในทุกๆ โอกาส เพื่อความร่มเย็นศานติสุขเพื่อเป็นขวัญกำลังใจในการธำรงความเจริญรุ่งเรืองให้ยั่งยืนสืบไป

คุณสมบัติของพราหมณ์ในสังคมไทย ผู้มีสิทธิ์ในการประกอบพิธีกรรม คือ พราหมณ์ทวิชาติ ถือว่าเป็นพราหมณ์ที่แท้จริง หมายถึง ผู้ได้มีการเกิด ๒ ครั้ง กำเนิดพราหมณ์ครั้งแรกจากบิดามารดา กำเนิดครั้งที่ ๒ จากการบวช เพื่อปฏิบัติบูชาและประกาศพระคุณของเทพเจ้า เพื่อนำชีวิตของศาสนิกชนให้กลับไปอยู่กับพรหม พรหมัน มีคุณสมบัติ ๕ ประการคือ
(1) ชาติหรือกำเนิด ต้องเกิดจากบิดามารดาผู้อยู่ในวรรณะ พราหมณ์มาโดยตลอด ๗ ชั่วอายุ
(2) มนตร์ ต้องเรียนจบไตรเพทและคัมภีร์ต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่อง กับคัมภีร์ไตรเพทจนมีความรู้ความชำนาญ
(3) วรรณะ หมายถึงรูปร่างหน้าตา ผิวพรรณงดงามผุดผ่องคล้ายพรหม
(4) ศีล คือปฏิบัติรักษากาย วาจา ให้เรียบร้อย รู้จักควบคุมอารมณ์
(5) ปัญญา หมายถึง ความรอบรู้ ความฉลาดที่เกิดจากการ เรียน ชนทั่วไปนับถือว่าเป็นอาจารย์
ลักษณะดังกล่าวคือรูปแบบพราหมณ์ของเทวสถาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย สังเกตได้จากการไว้มวยผม แต่งกายนุ่งขาวตลอดเวลา เมื่อประกอบพิธีกรรมจะนุ่งโจง สวมเสื้อราชปะแตน ไม่บริโภคเนื้อโค ไม่ปฏิเสธการปฏิบัติกิจทางพระพุทธศาสนา การปฏิบัติธรรมเนื่องตามข้อบัญญัติในศาสนาและมีการประสานสัมพันธ์สมาคมกับคณะพราหมณ์ - ฮินดูในนิกายอื่นๆ ทุกแห่งอย่างดี

เฉพาะในกรุงเทพมหานครมีคณะพราหมณ์ - ฮินดูในนิกายอื่น ซึ่งเป็นแหล่งที่ชาวอินเดียที่เดินทางเข้ามาประกอบอาชีพค้าขาย และพำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานานจำนวนมาก ได้สร้างคาสนสถานขึ้น สำหรับปฏิบัติคาสนกิจและประกอบพิธีสักการบูชาพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาด้วย ปรากฏว่าเริ่มตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมาตราบถึงรัชกาลปัจจุบัน ได้เผยแพร่คาสนกิจในกลุ่มชนชาวอินเดียอย่างเสรีขึ้นหลายกลุ่มศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ได้เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งชาวไทยและชาวจีน เมื่อถึงเทศกาลสำคัญจะมีผู้ไปสักการะร่วมงานนอกจากชาวอินเดียแล้ว ยังมีระชาชนในศาสนาอื่นด้วย อันแสดงศรัทธาความเชื่ออย่างแท้จริงในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดูนั่นเอง