share line share line

ดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร

ที่ตั้ง :  ถนนรอบเมืองใน หมู่ 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน 51000

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร ศาสนสถานสําคัญศักดิ์สิทธิ์ในภาคเหนือและคู่บ้านคู่เมือง หริภุญชัยหรือลําพูนมายาวนาน วัดพระธาตุหริภุญชัยเดิม เป็นพระราชวังที่ประทับของพญาอาทิตยราช กษัตริย์ ผู้ครองนครหริภุญชัย องค์ที่ 33 ต่อจากพระนางจามเทวี ปฐมบรมกษัตริย์ของเมืองหริภุญชัย บริเวณกําแพง พระราชวัง แบ่งออกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นนอกและ ขั้นใน ในกาลต่อมาพญาอาทิตยราชได้ถวายพระราชวัง ของพระองค์ให้เป็นสังฆาราม โดยได้รื้อกําแพงชั้นนอกออก แล้วปั้นสิงห์คู่หนึ่ง เป็นสิงห์ขนาดใหญ่ประดับเครื่องทรง ยืนอ้าปากประดิษฐานไว้ที่ซุ้มประตูด้านทิศตะวันออก ตามคติโบราณทางเหนือซึ่งนิยมสร้างสิงห์เฝ้าวัด วัดพระธาตุ หริภุญชัย จึงมีกําแพงสองชั้นตามรูปลักษณ์ของพระราชวังเดิมของพญาอาทิตยราช คือรอบบริเวณวัดชั้นนอกชั้น หนึ่ง และก่อกําแพงเป็นศาลาบาตร รอบองค์พระธาตุ หริภุญชัยเป็นกําแพงชั้นในอีกชั้นหนึ่ง บริเวณกําแพงชั้น ใน (เขตพุทธาวาส) ประกอบด้วย องค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเป็นส่วนพระอัฐิเบื้องธารพระโมลี พระอัฐิเบื้องพระทรวง พระอัฐิพระองคุลี และพระธาตุย่อย เต็มบาตรหนึ่ง บริเวณกําแพงชั้นนอก (เขตสังฆาวาส) นอก กําแพงวัดขั้นในมีคณะสงฆ์ประจําทั้ง 4 มุม มุมอาคเนย์ เรียกว่า คณะหลวงมุมอีสาน เรียกว่า คณะเชียงยัน มุมหรดี เรียกว่า คณะสะดือเมือง มุมพายัพ เรียกว่า คณะอัฏฐารส เป็นคณะสงฆ์ประจําบํารุงพระอารามที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ

        ตํานานพระธาตุหริภุญชัยกล่าวถึงความเป็นมาของพระธาตุว่า ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมา สัมพุทธเจ้าทรงทราบด้วยญาณว่า พระพุทธศาสนาจะรุ่งเรืองในดินแดนแห่งหนึ่งเหนือลุ่มแม่น้ําปิงจึงเสด็จ มายังดินแดนแห่งนี้ พร้อมด้วยพระอานนท์และพระอรหันตสาวก โดยทรงทํานายว่าในอนาคตสถานที่แห่ง นี้จะเป็นเมืองใหญ่ชื่อว่า หริภุญชัย และจะเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุส่วนกระหม่อม อุรังคธาตุ พระธาตุ กระดูกนิ้ว และพระธาตุย่อย

        ในกาลต่อมา เมืองหริภุญชัยเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามพุทธทํานายและมีกษัตริย์ปกครองสืบมาจน กระทั่งถึงสมัยพญาอาทิตยราชได้สร้างหอจัณฑาคารสําหรับลงพระบังคนในบริเวณที่ประดิษฐานพระบรม สารีริกธาตุ ทุกครั้งที่พญาอาทิตยราชจะลงพระบังคน กาที่คอยเฝ้ารักษาพระบรมสารีริกธาตุจะบินมาขัด ขวางรบกวนเสมอทุกครั้งที่พญาอาทิตยราชจะลงพระบังคน จนกระทั่งกาถูกจับได้และขังไว้ เทพผู้รักษา พระบรมสารีริกธาตุดลบันดาลให้พญาอาทิตยราชทรงพระสุบินนิมิตว่าให้พระองค์เลี้ยงทารกที่เกิดได้ 7 วัน ไว้ใกล้กับกา เมื่อเด็กโตขึ้นจะรู้ภาษากาและจะสามารถบอกสาเหตุที่กาคอยขัดขวางพระองค์ได้พญาอาทิตยราชก็ทรงทําตามสุบินนิมิต จนทราบความจริงว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ และ ทรงอธิษฐานให้พระบรมสารีริกธาตุปรากฏให้เห็น พระบรมสารีริกธาตุก็ลอยออกมาจากพื้นดินและเปล่ง ฉัพพรรณรังสี พญาอาทิตยราชรับสั่งให้สร้างพระโกศทองคําครอบพระโกศเดิมและสถาปนาเป็นพระธาตุ หริภุญชัย

        รูปทรงเดิมของพระธาตุหริภุญชัยเป็นพระธาตุเจดีย์ สถูปสี่เหลี่ยม ทรงปราสาท มี 4 เสา และ 4 ซุ้มประตู แต่ได้รับการบูรณะมาในยุคสมัยต่างๆ ตั้งแต่เมื่อพญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ จนถึงสมัย พระเจ้าติโลกราช แห่งอาณาจักรล้านนาเป็นเจดีย์ทรงระฆังแบบศิลปะล้านนาลักษณะสําคัญคือฐานสี่เหลี่ยม เพิ่มมุม (ฐานยกเก็จ) ต่อขึ้นไปเป็นฐานในผังกลมซ้อนลดหลั่นกันจํานวน 3 ฐาน ฐานดังกล่าวรองรับทรง ระฆัง ซึ่งมีทรงกรวยเป็นส่วนยอด กรมศิลปากร ได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถานของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478

        วรรณคดีเรื่องโคลงนิราศหริภุญชัย กล่าวถึงพระธาตุหริภุญชัยว่า เป็นพระธาตุที่งดงามเทียมเท่า พระธาตุจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ดังความว่า

                                                มหาชินธาตุเจ้า     เจดีย์

                                      เหมือนแท่งคําสิงคี           คู่เพี้ยง

                                      ฉัตรคําคาดมณี               ควรค่า เมืองแฮ

                                      เปลวเปล่งดินฟ้าเสี้ยง       สว่างเท้าอัมพรา

 

        ปัจจุบัน ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ชาวลําพูนจะจัดประเพณีสรงน้ำ พระธาตุเจ้า 8 เป็ง หรืองานสมโภชพระธาตุหริภุญชัยเป็นประจําทุกปี

        วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นหนึ่งในพระมหาเจดียสถาน สถานที่ตั้งพิธีเสกทําน้ำพระพุทธมนต์ ศักดิ์สิทธิ์ในการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก