share line share line

-

 

ชื่อวัด/สถานปฏิบัติธรรม วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร

เจ้าอาวาส/ประธานสงฆ์ พระธรรมเสนาบดี

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เป็น ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงใหม่ ตั้งแต่ครั้งอาณาจักรล้านนาสืบมาจนปัจจุบันกว่า 600 ปี ชื่อดอยสุเทพมีที่มาจากชื่อ ฤษีวาสุเทพ หรือ สุเทวะฤษี ซึ่งบําเพ็ญตบะอยู่บนดอยแห่งนี้ ดอยสุเทพยังมีชื่อเรียกอื่นว่า ดอยอุจุบัพพต หรือดอยอ้อยช้าง กรมศิลปากรได้ประกาศ ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พุทธศักราช 2478 องค์พระธาตุดอยสุเทพ ตามประวัติการสร้างระบุว่า พญามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ที่เชิงดอยอุจฉุบัพพต เมื่อ พุทธศักราช 1539 ราชวงศ์มังรายปกครองเมืองเชียงใหม่มาจนถึงสมัยพญากือนา (พุทธศักราช 1898 - 1925) พญากือนาได้อาราธนาพระสุมนเถระชาวเมืองสุโขทัยมาเผยแผ่ พุทธศาสนานิกายลังกาวงศ์ โดยอุสสาภิเศกให้เป็นพระมหาสุมนสวามี จําพรรษาที่วัดพระยืน เมืองลำพูน

        พระมหาสุมนสวามีนําพระบรมสารีริกธาตุที่ค้นพบจากเมืองสุโขทัยมา ให้พญากือนาทอดพระเนตร พระบรมสารีริกธาตุได้แสดงปาฏิหาริย์ประทักษิณอยู่เหนือผิวน้ำเป็นที่อัศจรรย์ เมื่อ พระมหาสุมนะจําพรรษาที่วัดพระยืนได้ 2 พรรษา พญากือนาจึงพระราชทานสวนป่าไม้พะยอมในเมืองเชียงใหม่ให้เป็น วัด ชื่อว่า บุปผารามสวนดอกไม้หลวง หรือวัดสวนดอกใน ปัจจุบัน แล้วสร้างพระธาตุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งปรากฏว่าพระบรมสารีริกธาตุได้แยกเป็น 2 องค์ จึงประดิษฐานไว้ที่วัดสวนดอกหนึ่งองค์ พญากือนาและพระมหาสุมนะอธิษฐานเสี่ยงช้างมงคลเพื่อหาสถานที่ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุอีกองค์หนึ่ง ช้างมงคลมุ่ง ขึ้นสู่ดอยสุเทพ ประทักษิณบนยอดดอย 3 รอบ คุกเข่าลง หมอบและล้มบนยอดดอยนั้น พญากือนาและพระมหาสุมนะ จึงสร้างพระธาตุและประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุไว้บน ดอยสุเทพ เมื่อพุทธศักราช 1914

        ลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุเจดีย์ เป็นรูปทรงระฆัง สิบสองเหลี่ยม ตั้งอยู่บนฐาน สี่เหลี่ยมย่อเก็จตามแบบศิลปะล้านนาประดับประดาด้วยการหุ้มทองจังโก ปิดทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ ทางขึ้น พระธาตุเป็นบันไดนาค 173 ขั้น สร้างเมื่อพุทธศักราช 2100 เชิงบันไดเป็นรูปเศียรพญานาค

        โดยรอบองค์พระธาตุประกอบด้วยสิ่งสำคัญ ได้แก่ ฉัตร 4 มุม ทำจากทองเหลือง มีความหมายในเชิง สัญลักษณ์สื่อถึงความร่มเย็นของพระพุทธศาสนาที่แผ่ไปทั่วทั้ง 4 ทิศรั้วหอก หรือสัตติบัญชร รอบองค์พระธาตุ เพื่อพิทักษ์รักษาพระบรมสารีริกธาตุ หอยอมีลักษณะคล้ายวิหารแต่มีขนาดเล็กตั้งอยู่ทั้ง 4 ทิศ รอบองค์ พระธาตุ มีพระพุทธรูปประดิษฐานภายในซึ่งมีความหมายถึงการบูชาสรรเสริญคุณของพระพุทธเจ้า หอท้าว โลกบาล เป็นหอยอดแหลม ประจำอยู่ ๔ มุมของพระบรมธาตุ ไหดอกบัว หรือปูรณะฆฏะ (บูรณะ แปลว่า เต็ม สมบูรณ์ ฆฏะ แปลว่า หม้อ) หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในล้านนา

        ในอดีตการเดินทางไปนมัสการพระธาตุดอยสุเทพ เป็นไปด้วยความยากลําบาก ทางเดินไม่ราบเรียบ ต้องผ่านป่าเขา
ใช้เวลาถึง 5 ชั่วโมง เพราะตั้งอยู่บนดอย และเมื่อถึงบริเวณวัดต้องเดินขึ้นบันไดนาค 173 ขั้น ซึ่งเป็นสัญลักษณ์คู่กับวัดพระธาตุ
ดอยสุเทพ พุทธศักราช 2477 ครูบาศรีวิชัย (นักบุญแห่งล้านนา) เป็นผู้นําสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ ระยะทาง 11 กิโลเมตร ปัจจุบันการเดินทางสะดวกมากขึ้น มีการสร้างรถรางไฟฟ้าขึ้นถึงวัด (โดยไม่ต้องขึ้นบันไดนาค)

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

วัดพระธาตุดอยสุเทพ มีศาสนวัตถุ และโบราณสถาน ที่ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา คือ

พระอุโบสถ

พระอุโบสถ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน ลักษณะทรงไทย หลังคาลด 2 ชั้น มุงกระเบื้อง หน้าบันลายปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังภายในมีจิตรกรรมเขียนภาพเล่าประวัติพระธาตุดอยสุเทพ

 

พระประธาน

พระประธานในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร
และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถในรัชกาลที่ 9 ได้ เสด็จเททองหล่อ เมื่อวันเพ็ญมาฆบูชา วันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุ

พระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุพระเจดีย์องค์เต็ม สร้างสมัยพระเจ้ากือนา ก่อน พ.ศ. 2424 และสร้างขึ้นใหม่ สมัยพระเมือง
เกตุเกล้า เมื่อปี พ.ศ. 2081 ถึงปี พ.ศ. 2088 โดยพระมหาญาณมงคลโพธิ์ จากเมืองลําพูนและบูรณะใหม่ เพื่อฉลอง ๒๕
พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2560

บันไดนาคหลวง

บันไดนาคหลวงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2500 โดย พระมหาญาณมงคงโพธิ์เป็นผู้อํานวยการสร้าง เป็นบันไดนาค ตามความนิยมของชาวภาคเหนือ

อ้างอิง :

แผนที่/การดำทาง :