share line share line

วัดบวรนิเวศวิหาร

ที่ตั้ง : 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

        เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร แต่เดิมวัดนี้ชื่อวัดใหม่หรือวัดวังหน้าอยู่ใกล้กับวัดรังษี สุทธาวาส ต่อมาได้รวมเข้าเป็นวัดเดียวกัน สถาปนาขึ้นใหม่ โดยสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพ ในรัชกาลที่ 3 วัดนี้ได้รับการทะนุบํารุง และสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ ขึ้น เป็นอันมาก โดยเฉพาะในปลายรัชกาลที่ 3 พุทธศักราช 2375 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระอนุชาธิราช เจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวช เป็นพระภิกษุอยู่วัดสมอราย (วัดราชาธิวาส) เสด็จมาครอง วัดนี้ และพระราชทานนามวัดเป็น “วัดบวรนิเวศวิหาร” ซึ่งต่อมาได้เป็นที่ประทับขณะทรงผนวชของพระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์หลายพระองค์ โดยในระหว่างที่ เจ้าฟ้ามงกุฎประทับอยู่นั้นได้จัดตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้นเป็นครั้งแรก

        พระอุโบสถ เป็นสถาปัตยกรรมตามแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 3 ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แต่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีแทน หันหน้าออกไปสู่ทิศเหนือ หน้าบันประดับกระเบื้องเป็นตรา มหามงกุฎ พระราชลัญจกรประจําพระองค์ รัชกาลที่ 4 และพระขรรค์ ประดิษฐานเหนือพานแว่นฟ้า ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสําริด ศิลปะสุโขทัย หมวดพระพุทธชินราช ที่อัญเชิญมาจากเมือง พิษณุโลก นามว่า “พระพุทธชินสีห์” เป็นพระประธาน ซึ่งใต้บัลลังก์เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราช สรีรางคารของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ด้านหลังเป็นพระประธานองค์ใหญ่นามว่า “พระสุวรรณเขต” หรือหลวงพ่อโต อัญเชิญมา จากวัดสระตะพาน จังหวัดเพชรบุรี จึงเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อเพชร” แล้วคงมีการบูรณะอีกครั้งราว สมัยรัชกาลที่ 3 จิตรกรรมภายในเป็นภาพปริศนาธรรมเขียนโดยขรัวอินโข่ง ถือเป็นจิตรกรรมฝีมือบรมครู เพราะเป็นรูปแบบของจิตรกรรมหัวเลี้ยวหัวต่อของการรับอิทธิพลยุโรป หรือตะวันตก มาผสมผสานกับ แนวคิดตามขนบนิยมของไทย

        พระวิหารอยู่ด้านทิศใต้ของพระมหาเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปนามว่า “พระศาสดา” พระพุทธ รูปสําคัญจากเมืองพิษณุโลก ที่หล่อพร้อมกับพระพุทธชินราช และพระชินสีห์ ประทับบนฐานชุกชีที่ตกแต่ง ด้วยลวดลายพันธุ์พฤกษาแบบตะวันตก ผนังพระวิหารเขียนภาพจิตรกรรมเกี่ยวกับตํานานพระพุทธชินราช หลังพระศาสดา มีห้องเล็กๆ อีกห้องหนึ่ง ประดิษฐาน “พระพุทธไสยา” พระพุทธรูปปางปรินิพพานจากเมือง สุโขทัย บรรทมไสยาสน์หลับพระเนตรสนิท รอบๆ มีภาพจิตรกรรมฝาผนังรูปพระสาวก เทวดา และพุทธบริษัท เดินทางมาเข้าเฝ้าครั้งสุดท้าย ใกล้กันนั้นยังมีพระวิหารขนาดเล็ก เรียก “พระวิหารเก่ง” เป็นที่ประดิษฐาน พระพุทธรูปฉลองพระองค์สําคัญอีกกลุ่มหนึ่ง ฝาผนังเขียนภาพจิตรกรรมเรื่องสามก๊ก

        พระมหาเจดีย์ เป็นเจดีย์หลักประจําพระอาราม ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถและพระวิหาร มีลักษณะ เป็นเจดีย์ทรงลังกาหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ เหนือบัลลังก์มีเสาหาน ประดับด้วยกระเบื้องโมเสกสีทอง ตามแบบ เจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ภายในประดิษฐานพระเจดีย์กะไหล่ทอง บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ บนฐานทักษิณโดยรอบ มีพระเจดีย์ทิศยอดทรงปรางค์ เฉพาะองค์กลางด้านทิศตะวันออก เป็นที่ประดิษฐาน พระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

        ในส่วนของเขตสังฆาวาส มีพระตําหนักหลายหลังที่สร้างพระราชทานหรือพระราชอุทิศในโอกาสต่างๆ กัน และได้ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์หรือเจ้านายขณะทรงผนวช อาทิ พระตําหนักเพชร พระตําหนัก จันทร์ พระตําหนักปั้นหยา โดยเฉพาะพระตําหนักปั้นหยา เป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้รื้อจากสวนขวาในพระบรมมหาราชวังมาสร้างพระราชทานพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ พระตําหนักนี้ เคยเป็นที่ประทับในขณะทรงผนวชของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร