share line share line

มัสยิดบางอ้อ

ที่ตั้ง : 216 ซอย จรัญสนิทวงศ์ 86 ถนน จรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด แขวงบางอ้อ กรุงเทพมหานคร 10700

ประวัติความเป็นมา

          มัสยิดบางอ้อก่อสร้างโดยซาวมุสลิมในชุมชนมัสยิด บางอ้อซึ่งเป็นพ่อค้าชาวมุสลิมเชื้อสายเปอร์เซียที่อพยพมา จากกรุงศรีอยุธยาเมื่อครั้งเสียกรุง และมาตั้งถิ่นฐานบริเวณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งเป็นที่รู้จักในนาม “แขกแพ” ต่อมา จึงขยับขยายสร้างบ้านเรือนและมัสยิดบนที่ดินริมแม่น้ำ และเติบโตเป็นชุมชนขนาดใหญ่ที่ประสบความสําเร็จใน การเดินเรือและการค้าไม้ ในอดีตชุมชนแห่งนี้ใช้แพเป็น ศาสนสถานจนกระทั่งขยับขยายมาสร้างมัสยิดบนพื้นดินเป็น อาคารไม้ทรงสี่เหลี่ยมขนาดพอๆ กับเรือนแพ หลังจากนั้น ในระหว่างพุทธศักราช 2448 - 2458 ได้สร้างมัสยิดอย่าง ถาวร เป็นอาคารไม้ทรงปั้นหยาที่ใหญ่กว่าเดิม และต่อมา ในพุทธศักราช 2462 จึงสร้างอาคารมัสยิดหลังปัจจุบันขึ้น พร้อมกับอาคารเรียนเป็นอาคารไม้แบบเรือนขนมปังขิง ชื่อว่า “เจริญวิทยาคาร รวมทั้งอาคารอเนกประสงค์ ศาลา ริมน้ำ และกุโบร์หรือสุสานมุสลิม

          มัสยิดบางอ้อได้รับการทํานุบํารุงเป็นอย่างดีจาก ผู้นําทางศาสนาและชุมชนตลอดมา จนกระทั่งพุทธศักราช 2554เกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ในกรุงเทพมหานคร มัสยิด บางอ้อถูกน้ำท่วมในครั้งนี้ด้วย ในพุทธศักราช 2555 - 2556 จึงได้บูรณะโดยวิธีดีดยกอาคารและปรับปรุง ซ่อมแซมส่วนประกอบต่างๆ ของอาคาร ทําให้มัสยิดแห่งนี้ ดํารงคุณค่าทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมเหมือนเช่น ในอดีตที่ผ่านมา

ลักษณะสถาปัตยกรรม

          เป็นอาคารชั้นเดียว ก่ออิฐถือปูน กว้าง 12 เมตร ยาว 24 เมตร ตามลักษณะ ของสถาปัตยกรรมเรอเนสซองส์ผสมผสานกับอิทธิพลของศาสนาอิสลาม หลังคา ทรงปั้นหยา มีชายคาเป็นหลังคาคอนกรีตแบนและมีลูกกรงระเบียงที่มีลวดลายปูนปั้นและเครื่องประดับโดยรอบหลังคา มีหอคอยหลังคาทรงโดมขนาบทั้งสองข้างทั้งด้านหน้าและด้านหลังมุขด้านหน้ามีลวดลายปูนปั้นทาทองจารึกคําปฏิญาณตนของ มุสลิมว่า “ลาอิลา ฮะ อิลลัลลอฮ. มุฮัมมัดรอซูลุลลอฮ.” แปลว่า “ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์” และวัน เดือน ปี ที่เริ่มใช้ มัสยิดหลังนี้ในพุทธศักราช 2462 ตรงกับปฏิทินอิสลาม ฮิจเราะห์ศักราช 1339 ประตูและหน้าต่างเป็นไม้ ช่องลมเหนือประตูและช่องหน้าต่างเป็นปูนปั้นทรงโค้ง แบบยุโรป