share line share line

สมาคมฮินดูสมาช หรือ วัดเทพมณเฑียร เสาชิงช้า เป็นโบสถ์พราหมณ์ลัทธิไวษณพ ตั้งอยู่ด้านบนของโรงเรียนภารตวิทยาลัย ถนนศิริพงษ์ แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นเทวสถานของพระวิษณุและเทพเจ้าในศาสนาฮินดู

เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา ในเทศกาลวิชัยทศมี ปี พ.ศ. 2468 หนึ่งในวันสำคัญของ ศาสนิกชนชาวฮินดู ชาวภารตะ (ชาวอินเดีย) ในประเทศไทย ได้ถือเป็นวันอุดมฤกษ์อันสำคัญ จึงพร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นหนึ่ง ณ อาคารเล็ก ๆ หลังหนึ่งในย่านหลังวังบูรพา (ใกล้โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) ในนาม "ฮินดูสภา" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" จนถึงปัจจุบัน


กิจกรรมของสมาคมฯ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นับจากวันก่อตั้งอาคารที่ทำการคูหาเดียวในหลังวังบูรพา ต้องขยับขยายเป็น 3 คูหาติดต่อกันในเวลาต่อมา และด้วยเห็นความสำคัญต้องการสนับสนุนการศึกษา ของเหล่าเยาวชนของชาติ จึงได้จัดตั้ง "โรงเรียนภารตวิทยาลัย" ขึ้นในบริเวณเดียวกัน


ในการก่อสร้างอาคารสมาคมฮินดูสมาช และ โรงเรียนภารตวิทยาลัยแล้ว จึงได้ทำการก่อสร้าง โบสถ์เทพมณเฑียร ขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดา อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 4 แห่ง อันได้แก่ ลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้) สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และ กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน) มาไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ ณ โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าศาสนิกชนทั้งหลาย โดยสมาคมฯ ได้จัด พิธีเฉลิมฉลองการเปิดโบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 มิถุนายน 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณ เสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธี

หลักใหญ่ของสมาคมจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ฮินดู โดยกิจกรรมสำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันเรื่อยมา คือการนัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ 

นอกจากสวดมนต์และขับร้องเพลงถวายพระเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนใน คัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม 

นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศอินเดีย มาแสดงปาฐกถาให้ผู้ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีการตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัย มีการสอนภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ ให้เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน 

"วัดเทพมณเฑียร" มีเทวรูปหินอ่อนประดิษฐานอยู่หลายองค์ด้วยกัน โดยมี พระวิษณุ และ พระแม่ลักษมี เป็นองค์ประธาน เทวรูปองค์อื่นๆ ก็มีอาทิ
พระพรหม ผู้สร้างโลก ดูงดงามอ่อนช้อยในศิลปะแบบอินเดียเหนือ 
พระแม่ทุรคา สัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งและความมีอำนาจ 
พระพุทธเจ้า ชาวพราหมณ์ฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางที่เก้าของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน (อหิงสา) 
พระราม และ ภควดีสีดา (พระแม่สีดา) พระรามเป็นอวตารปางที่เจ็ดของพระวิษณุ 
พระกฤษณะและชายา อีกอวตารหนึ่งของพระวิษณุนารายณ์
พระหนุมาน อวตารของพระศิวะ เพื่อคุ้มครองดูแลพระราม
พระแม่ลักษมี มหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สัญลักษณ์แห่งความงามการรักษาความดี พระพิฆเนศวร (พระคเณศ) โอรสของพระอิศวรและพระแม่อุมา และยังมีอีกหลายองค์ที่ชาวฮินดูและชาวไทยให้ความเคารพนับถือ

พิธีกรรมภายในวัดเทพมณเฑียรในแต่ละวัน เรียกว่า "พิธีอารตี" คือการถวายไฟแก่ทวยเทพ มีขึ้นทุกวันตั้งแต่ 06.00-08.00 น. (ในวันอาทิตย์ มีจนถึง 10.00 น. หรือ 11.30 น.) และตอนเย็นของทุกวันตั้งแต่เวลา 18.30-19.30 น. ผู้ศรัทธาสามารถเข้าร่วมพิธีกรรมได้โดยไม่ต้องขออนุญาต

วัดเทพมณเฑียร

ที่ตั้ง : 136 สำราญราษฎร์ 1-2 ถนน ศิริพงษ์ แขวง เสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

          วัดเทพมณเฑียรมีจุดเริ่มต้นจากฮินดูสภา คือ เมื่อพุทธศักราช 2468 ศาสนิกชนชาวฮินดู (ซาวอินเดีย-ภารตะ) ในประเทศไทยได้พร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมฮินดูสภา บริเวณหลัง วังบูรพาเพื่อเป็นศูนย์กลางการดําเนินกิจกรรมทางศาสนา และ เปลี่ยนชื่อเป็น ฮินดูสมาชในพุทธศักราช 2493 โดยย้ายมาอยู่ อาคาร 3 ชั้น ซอยศิริชัย ถนนศิริพงษ์ ในพุทธศักราช 2494 ได้ย้ายโรงเรียนภารตวิทยาลัย มาอยู่ในบริเวณเดียวกันด้วย

          เมื่อได้จัดตั้งสมาคมฮินดูสมาช ณ สถานที่แห่งใหม่ แล้ว จึงได้เรี่ยไรเงินบริจาคจากชาวภารตะทั้งในประเทศและ ต่างประเทศที่มีจิตศรัทธา เพื่อจัดสร้างโบสถ์เทพมณเฑียร (ศาสนสถานของชาวฮินดู) อย่างใหญ่โตงดงาม เพื่อเป็น สถานที่ประกอบศาสนกิจ โดยได้อัญเชิญพุทธปฏิมา และ เทวปฏิมาที่ชาวฮินดูเคารพสักการะจากประเทศอินเดียมา ประดิษฐานไว้ภายในเทพมณเฑียรแห่งนี้ อาทิ พระนารายณ์ และพระแม่ลักษมี พระรามและภควดีสีดา พระกฤษณะ และพระนางราธา พระพุทธเจ้าอวตารปางที่ 9 แห่งพระวิษณุ พระศิวะ พระแม่ทุรคา พระพิฆเนศวร พระหนุมาน พระแม่สตี หรือราณีสตีเทวี และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนีย สถานที่สําคัญ 4 แห่งอันได้แก่ลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้ สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และ กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน) มาไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และ เป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ ต่างๆ ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมนา และแม่น้ำ สุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนํามาประดิษฐานไว้ ณ โบสถ์ เทพมณเฑียรแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าศาสนิกชน ทั้งหลาย โดยสมาคมฯ ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองการเปิดโบสถ์ เทพมณเฑียรอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พุทธศักราช 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรม ราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เสด็จพระราชดําเนินมาทรงเปิด

สิ่งสําคัญภายในศาสนสถาน

          วัดเทพมณเฑียรมีเทวรูปหินอ่อนประดิษฐานอยู่หลายองค์ โดยมีพระวิษณุ และพระแม่ลักษมี เป็นองค์ ประธานเทวรูปองค์อื่น ๆ อาทิ พระพรหม ผู้สร้างโลก งดงามอ่อนช้อยในศิลปะแบบอินเดียเหนือ พระแม่ทุรคา สัญลักษณ์แห่งความเข้มแข็งและความมีอํานาจ พระพุทธเจ้า ชาวพราหมณ์ ฮินดูถือว่าเป็นอวตารปางที่ 9 ของพระนารายณ์ สัญลักษณ์แห่งความไม่เบียดเบียน (อหิงสา) พระราม และภควดีสีดา (พระแม่สีดา) พระราม เป็นอวตารปางที่ 7 ของพระวิษณุ พระกฤษณะและชายา อีกอวตารหนึ่งของพระวิษณุนารายณ์ พระหนุมาน อวตารของพระศิวะเพื่อคุ้มครองดูแลพระราม พระแม่ลักษมี มหาเทวีผู้ยิ่งใหญ่ สัญลักษณ์แห่งความงาม การรักษาความดี พระพิฆเนศวร (พระคเณศ) โอรสของพระอิศวรและพระแม่อุมา และยังมีอีกหลายองค์ที่ ชาวฮินดูและชาวไทยให้ความเคารพนับถือ

          ในบรรดางานเทศกาลหรืองานนักขัตฤกษ์ของสังคมฮินดู มีงานซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง คืองาน “วิชัย ทศมี” และงาน “ชนมาษฎมี” ประชาชนจะเฉลิมฉลอง “วิชัย ทศมี” เพราะถือกันว่า เป็นวันที่พระรามรบ ศึกชนะทศกัณฐ์ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง ก็คือ เป็นวันที่ธรรมะชนะอธรรม เพราะเชื่อกันว่า พระรามเป็นสัญลักษณ์ ของธรรมะ ในทํานองเดียวกับที่เชื่อว่าทศกัณฐ์เป็นสัญลักษณ์ของอธรรม ส่วน “ชนมาษฎมี” เป็นวันเกิดของ พระกฤษณะ ซึ่งเป็นเทพเจ้าที่ชาวอินเดียเคารพบูชากันทั่วประเทศ งานเทศกาล หรืองานนักขัตฤกษ์ของทั้ง สองงานนี้ ศาสนิกชนฮินดูให้ความสําคัญและจัดเฉลิมฉลองอย่างครึกครื้นทุกปี