share line share line

วัดหน้าพระเมรุราชิการาม

ที่ตั้ง : 76 หมู่4 ตำบล ลุมพลี อำเภอ พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 13000

ประวัติความเป็นมา

          วัดหน้าพระเมรุราชิการาม หรือวัดพระเมรุ หรือวัด หน้าพระเมรุ เป็นอารามหลวงสามัญชั้นตรีตามตำนาน กล่าวว่า พระองค์อินทร์ในรัชกาลสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรง สร้างขึ้น พระราชทานนามว่า “วัดหน้าพระเมรุ” สันนิษฐานว่าสร้าง บริเวณที่เคยปลูกสร้างพระเมรุในการถวายพระเพลิง พระบรมศพ เจ้านายมาก่อน

          พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาระบุว่าในแผ่นดินสมเด็จ พระมหาจักรพรรดิทรงกระทำสัญญาสงบศึกกับพระเจ้าหงสาวดี บุเรงนอง ในปีพ.ศ.2093 โปรดให้เจ้าพนักงานไปปลูกพลับพลา ณ ตำบลวัดหน้าพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาสครั้งในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยา ทรงเลือก พื้นที่บริเวณวัดพระเมรุราชิการามกับวัดหัสดาวาสเป็นที่บัญชาการรบ พระองค์ทรงบัญชาการรบด้วยพระองค์เอง ทรงจุดชนวนปืนใหญ่ ปืนใหญ่ที่ทรงยิงแตกต้องพระองค์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ทำให้ ทัพพม่าต้องเลิกทัพกลับไป ระหว่างทางพระเจ้าอลองพญาทรง ทนพิษบาดแผลไม่ไหวทรงสิ้นพระชนม์บริเวณชายแดนเมืองตาก

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระยา ไชยวิชิต(เผือก)ผู้รักษาพระนครศรีอยุธยาได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ วัดนี้และได้อัญเชิญพระพุทธรูปศิลาสีเขียวหรือพระคันธารราฐ สมัยทวาราวดีจากวัดมหาธาตุ มาประดิษฐานในวิหารน้อย (วิหารสรรเพชญ์) ทางราชการได้ทำการบูรณะวัดนี้โดยสร้างสะพาน ข้ามแม่น้ำลพบุรีตรงหน้าวัดพร้อมทำถนนเข้าวัด และได้ทำการ บูรณะพระอุโบสถและวิหารน้อยวัดหน้าพระเมรุราชิการามได้มีการ บูรณปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

สถานที่สำคัญและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด

          วัดหน้าพระเมรุ มีศาสนวัตถุและศาสนสถานสำคัญที่ ประชาชนให้ความเคารพศรัทธา เดินทางมาสักการะบูชาและ เยี่ยมชม คือ

          พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ พระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่อย่างจักรพรรดิราช ศิลปะอยุธยา ตอนปลาย พระประธานในพระอุโบสถวัดหน้าพระเมรุราชิการามปางมารวิชัย หล่อด้วยสำริด ลงรักปิดทอง ประทับขัดสมาธิราบ นักวิชาการหลายท่านเชื่อว่าพระพุทธรูปองค์นี้คงได้รับการสร้าง หรือบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เนื่องจาก มีพุทธลักษณะทางศิลปะที่ใกล้เคียงกับพระพุทธรูปปูนปั้นที่เมรุทิศ และเมรุรายและระเบียงคดของวัดไชยวัฒนาราม ซึ่งสร้างขึ้นในสมัย สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

          ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหา เจษฎาราชเจ้า ทรงโปรดให้ทำการบูรณะ และพระราชทานนามว่า “พระพุทธนิมิตวิชิตมารโมฬีศรีสรรเพชญ์บรมไตรโลกนาถ”

          พระอุโบสถ สถาปัตยกรรมอยุธยาตอนต้น หลังคา พระอุโบสถชั้นลด 3 ชั้น หน้าบันด้านหน้าพระอุโบสถเป็นไม้สัก แกะสลักรูปนารายณ์ทรงครุฑยุดนาค ลายประกอบพื้นหลังเป็น หมู่เทพ 26 องค์

          ส่วนหน้าบันด้านหลังแกะสลักรูปเทพนม 22 องค์มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์เป็นเครื่องประดับอาคาร มีคันทวยไม้แกะสลัก ประดับรับชายคา

          พระคันธาวาส หรือ“พระคันธารราฐ”เป็นพระพุทธ ประธานในวิหารน้อยศิลปะทวารวดีราวพุทธศตวรรษที่ 13 - 15 สันนิษฐานว่าพระคันธาวาสองค์นี้เดิมประดิษฐานที่วัดพระเมรุ จังหวัดนครปฐม มีการเคลื่อนย้ายมายังกรุงศรีอยุธยาและได้นำมา ประดิษฐานไว้ที่วัดมหาธาตุต่อมาวัดมหาธาตุถูกไฟไหม้เสียหายไป ในคราวเสียกรุง เมื่อปีพ.ศ. 2310 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่๓)จึงโปรดให้พระยาไชยวิชิต(เผือก) ปฏิสังขรณ์ วัดหน้าพระเมรุฯ แล้วโปรดให้อัญเชิญพระพุทธรูปองค์นี้มา ประดิษฐานในพระวิหารน้อย ซึ่งสร้างขึ้นในปีพ.ศ. 2381