คัมภีร์ที่สำคัญของศาสนาซิกข์ คือ พระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งได้รับการสถาปนาให้เป็นพระศาสดานิรันดร์กาลของศาสนาซิกข์ ศาสนิกชนชาวซิกข์จึงปฏิบัติต่อพระมหาคัมภีร์ดุจพระศาสดาที่แท้จริง คำว่า “ครันถ์ซาริบ” แปลว่า พระคัมภีร์ มาจากคำว่า “ครันถ” เป็น คำสันสกฤตแปลว่า “คัมภีร์” ส่วน “ซาริบ” เป็นคำพื้นเมืองที่ใช้แสดง ความเคารพ แปลว่า “พระ” ซึ่งชาวซิกข์จะเรียกโดยเติมคำ'ว่า “คุรุ” ไว้ข้างหน้าเป็น “คุรุครันถ์ซาริบ” อันมีนัยถึงการแสดงความเคารพอย่างสูง พระมหาคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น ๒ เล่ม คือ
(1) “อาทิครันถ์” แปลว่า “คัมภีร์แรก” พระศาสดาคุรุอรชุนเทพ พระศาสดาพระองค์ที่ ๔ เป็นผู้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.๒๑๔๗ โดยรวบรวมจากบทนิพนธ์ของพระศาสดาพระองค์ที่ ๑- ๕ และมีบทประพันธ์ของนักบุญนักบวชจากศาสนาฮินดูและอิสลามผนวกรวมอยู่ด้วย
(2) “ทสมครันถ์” แปลว่า “คัมภีร์ของพระศาสดาพระองค์ ที่ ๑๐” เป็นชุมนุมบทนิพนธ์ของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์ พระศาสดาพระองค์ที่ ๑๐ ซึ่งรวบรวมขึ้นในสมัยหลังจากพระคัมภีร์แรกประมาณร้อยปี ข้อความในพระคัมภีร์นั้นเป็นบทกวีรวมทั้งสิ้น ๒๙,๔๘๐ โศลก จัดเป็นคำฉันท์ ๓๑ ประเภท ทั้งนี้ การสวดเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
(1) “อคันด์ปาธ” คือ การสวดเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ อย่างต่อเนื่องจนสมบูรณ์ ไม่มีการหยุดพัก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๔๘ ชั่วโมง
(2) “ซาดารันปาร” คือ การสวดภาวนาเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบโดยไม่ต่อเนื่องตามแต่โอกาสอำนวย จะเป็นการสวดในเคหสถานของตน หรือในศาสนสถานก็ได้ หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาซิกข์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การเข้าถึงสุขอันเป็นนิรันดร หรือนิรวาณ ประกอบด้วยหลัก ๕ ประการ ได้แก่
(1) ธรัมขัณฑ์ คือ การประกอบกรรมดี
(2) คิอานขัณฑ์ คือ การมีปัญญา
(3) สรันขัณฑ์ คือ ความปีติอิ่มเอิบใจในธรรม
(4) กรัมขัณฑ์ คือ การมีกำลังจิตแน่วแน่มั่นคงไม่หวาดกลัว
(5) สัจขัณฑ์ คือ การเข้าถึงสัจจะ หรือการหลอมรวมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้ ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยในการปฏิบัติตน ดังนี้
(1) วินัยทางกาย คือ การให้บริการผู้อิ่มทางกายและวาจา เช่น การให้ทาน
(2) วินัยทางศีลธรรม คือ การเลี้ยงชีพโดยขอบธรรม ไม่มีความเห็นแก่ตัว
(3) วินัยทางจิตใจ คือ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งอยู่เหนือกาลเทศะ และเทพทั้งหลาย
อนึ่ง ซาวซิกข์ได้นำคำสอนในเรื่องต่างๆ มาเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่สำคัญหลายประการ อาทิ
(1) การบรรลุถึงพระเจ้า (อกาลปุรัข) จุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินชีวิตของซาวซิกข์ คือ การบรรลุถึงพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติธรรมการสรรเสริญและภาวนานาม “วาเร่คุรุ” ของพระผู้เป็นเจ้า เหตุที่ต้องปฏิบัติเช่นนี้ เพราะโดยทั่วไปจิตใจของมนุษย์จะมีความชั่ว ๕ ประการ ประกอบด้วย ตัณหา ความโกรธ ความโลภ ความยึดติดหรือความหลง และความอหังการ เป็นสิ่งขัดขวางทำให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้ การสรรเสริญและสวดภาวนานามของพระผู้เป็นเจ้าจึงทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของความชั่วเหล่านั้น
(2) การทำเซว่า เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิตขอชาวซิกข์ หมายถึง การรับใช้และบริการต่อชุมชนสังคมด้วยทางกาย วาจา และใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ควบคู่กับการรำลึกถึงพระผู้ เป็นเจ้าด้วยการสวดภาวนาสรรเสริญคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า การทำเซว่าจึงเป็นการสอนให้ซาวซิกข์เสียสละเพื่อชุมชนและลังคมในฐานะที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามคำสั่งสอนของพระศาสดาคุรุนานักเทพที่ว่า “ความอ่อนหวานและการถ่อมตนนั้นเป็นแก่นแห่งความติและคุณธรรมทั้งปวง”
(3) ความเชื่อมั่นในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ดังปรากฏในคำสอนของพระศาสดาคุรุนานักเทพที่ว่า “มนุษย์ทั้งหลายมีพระบิดาพระองค์เดียวกัน เราทั้งหลายเป็นบุตรของพระองค์เราจึงเป็นพี่น้องกัน มนุษยชาติทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกคนมีเกียรติเท่ากันเพราะเขาเป็นคนมาจากพระผู้เป็นเจ้า” ศาสนาซิกข์จึงยึดมั่นในความเท่าเทียมและเสมอภาคกันของมนุษย์ทุกคน พร้อมทั้งปฏิเสธระบบการถือวรรณะ และการแบ่งแยกมนุษย์ตามเพศ ศาสนา ฐานะ เชื้อชาติ หรือสีผิว
ความเชื่อว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายโดยกำเนิด แต่ถือกำเนิดจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงสร้างและประทานคำสอนให้แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงในโลกนี้และ น่ามนุษย์กลับสู่จุดกำเนิดเดิม คือ พระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น คำสอนในศาสนาซิกข์จึงล่งเสริมให้เชื่อในความหวังและการมองโลกในด้านดี

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล 

คัมภีร์ที่สำคัญของศาสนาซิกข์ คือ พระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ ซึ่งได้รับการสถาปนาให้เป็นพระศาสดานิรันดร์กาลของศาสนาซิกข์ ศาสนิกชนชาวซิกข์จึงปฏิบัติต่อพระมหาคัมภีร์ดุจพระศาสดาที่แท้จริง คำว่า “ครันถ์ซาริบ” แปลว่า พระคัมภีร์ มาจากคำว่า “ครันถ” เป็น คำสันสกฤตแปลว่า “คัมภีร์” ส่วน “ซาริบ” เป็นคำพื้นเมืองที่ใช้แสดง ความเคารพ แปลว่า “พระ” ซึ่งชาวซิกข์จะเรียกโดยเติมคำ'ว่า “คุรุ” ไว้ข้างหน้าเป็น “คุรุครันถ์ซาริบ” อันมีนัยถึงการแสดงความเคารพอย่างสูง พระมหาคัมภีร์นี้แบ่งออกเป็น ๒ เล่ม คือ
(1) “อาทิครันถ์” แปลว่า “คัมภีร์แรก” พระศาสดาคุรุอรชุนเทพ พระศาสดาพระองค์ที่ ๔ เป็นผู้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.๒๑๔๗ โดยรวบรวมจากบทนิพนธ์ของพระศาสดาพระองค์ที่ ๑- ๕ และมีบทประพันธ์ของนักบุญนักบวชจากศาสนาฮินดูและอิสลามผนวกรวมอยู่ด้วย
(2) “ทสมครันถ์” แปลว่า “คัมภีร์ของพระศาสดาพระองค์ ที่ ๑๐” เป็นชุมนุมบทนิพนธ์ของพระศาสดาคุรุโควินทสิงห์ พระศาสดาพระองค์ที่ ๑๐ ซึ่งรวบรวมขึ้นในสมัยหลังจากพระคัมภีร์แรกประมาณร้อยปี ข้อความในพระคัมภีร์นั้นเป็นบทกวีรวมทั้งสิ้น ๒๙,๔๘๐ โศลก จัดเป็นคำฉันท์ ๓๑ ประเภท ทั้งนี้ การสวดเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ
(1) “อคันด์ปาธ” คือ การสวดเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบ อย่างต่อเนื่องจนสมบูรณ์ ไม่มีการหยุดพัก ซึ่งจะใช้เวลาประมาณ ๔๘ ชั่วโมง
(2) “ซาดารันปาร” คือ การสวดภาวนาเจริญธรรมพระมหาคัมภีร์คุรุครันถ์ซาฮิบโดยไม่ต่อเนื่องตามแต่โอกาสอำนวย จะเป็นการสวดในเคหสถานของตน หรือในศาสนสถานก็ได้ หลักคำสอนที่สำคัญของศาสนาซิกข์ เพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การเข้าถึงสุขอันเป็นนิรันดร หรือนิรวาณ ประกอบด้วยหลัก ๕ ประการ ได้แก่
(1) ธรัมขัณฑ์ คือ การประกอบกรรมดี
(2) คิอานขัณฑ์ คือ การมีปัญญา
(3) สรันขัณฑ์ คือ ความปีติอิ่มเอิบใจในธรรม
(4) กรัมขัณฑ์ คือ การมีกำลังจิตแน่วแน่มั่นคงไม่หวาดกลัว
(5) สัจขัณฑ์ คือ การเข้าถึงสัจจะ หรือการหลอมรวมเป็น อันหนึ่งอันเดียวกับพระผู้เป็นเจ้า ทั้งนี้ ศาสนาซิกข์ยังได้กำหนดระเบียบวินัยในการปฏิบัติตน ดังนี้
(1) วินัยทางกาย คือ การให้บริการผู้อิ่มทางกายและวาจา เช่น การให้ทาน
(2) วินัยทางศีลธรรม คือ การเลี้ยงชีพโดยขอบธรรม ไม่มีความเห็นแก่ตัว
(3) วินัยทางจิตใจ คือ ความเชื่อมั่นในพระเจ้าองค์เดียว ซึ่งอยู่เหนือกาลเทศะ และเทพทั้งหลาย
อนึ่ง ซาวซิกข์ได้นำคำสอนในเรื่องต่างๆ มาเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินชีวิตที่สำคัญหลายประการ อาทิ
(1) การบรรลุถึงพระเจ้า (อกาลปุรัข) จุดมุ่งหมายสำคัญในการดำเนินชีวิตของซาวซิกข์ คือ การบรรลุถึงพระผู้เป็นเจ้า ซึ่งจะเกิดขึ้นได้ด้วยการปฏิบัติธรรมการสรรเสริญและภาวนานาม “วาเร่คุรุ” ของพระผู้เป็นเจ้า เหตุที่ต้องปฏิบัติเช่นนี้ เพราะโดยทั่วไปจิตใจของมนุษย์จะมีความชั่ว ๕ ประการ ประกอบด้วย ตัณหา ความโกรธ ความโลภ ความยึดติดหรือความหลง และความอหังการ เป็นสิ่งขัดขวางทำให้มนุษย์ไม่สามารถเข้าถึงพระผู้เป็นเจ้าได้ การสรรเสริญและสวดภาวนานามของพระผู้เป็นเจ้าจึงทำให้บุคคลสามารถดำเนินชีวิตได้โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อำนาจของความชั่วเหล่านั้น
(2) การทำเซว่า เป็นหลักปฏิบัติที่สำคัญในการดำเนินชีวิตขอชาวซิกข์ หมายถึง การรับใช้และบริการต่อชุมชนสังคมด้วยทางกาย วาจา และใจ โดยไม่หวังผลตอบแทน ควบคู่กับการรำลึกถึงพระผู้ เป็นเจ้าด้วยการสวดภาวนาสรรเสริญคุณความดีของพระผู้เป็นเจ้า การทำเซว่าจึงเป็นการสอนให้ซาวซิกข์เสียสละเพื่อชุมชนและลังคมในฐานะที่ตนเป็นส่วนหนึ่งของสังคม และเป็นการแสดงออกถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ตามคำสั่งสอนของพระศาสดาคุรุนานักเทพที่ว่า “ความอ่อนหวานและการถ่อมตนนั้นเป็นแก่นแห่งความติและคุณธรรมทั้งปวง”
(3) ความเชื่อมั่นในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ดังปรากฏในคำสอนของพระศาสดาคุรุนานักเทพที่ว่า “มนุษย์ทั้งหลายมีพระบิดาพระองค์เดียวกัน เราทั้งหลายเป็นบุตรของพระองค์เราจึงเป็นพี่น้องกัน มนุษยชาติทั้งหลายเป็นหนึ่งเดียวกัน ทุกคนมีเกียรติเท่ากันเพราะเขาเป็นคนมาจากพระผู้เป็นเจ้า” ศาสนาซิกข์จึงยึดมั่นในความเท่าเทียมและเสมอภาคกันของมนุษย์ทุกคน พร้อมทั้งปฏิเสธระบบการถือวรรณะ และการแบ่งแยกมนุษย์ตามเพศ ศาสนา ฐานะ เชื้อชาติ หรือสีผิว
ความเชื่อว่าชีวิตไม่ใช่สิ่งชั่วร้ายโดยกำเนิด แต่ถือกำเนิดจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้าพระองค์ทรงสร้างและประทานคำสอนให้แก่มนุษย์ เพื่อให้มนุษย์เข้าใจจุดประสงค์ที่แท้จริงในโลกนี้และ น่ามนุษย์กลับสู่จุดกำเนิดเดิม คือ พระผู้เป็นเจ้า ดังนั้น คำสอนในศาสนาซิกข์จึงล่งเสริมให้เชื่อในความหวังและการมองโลกในด้านดี

หมายเหตุ : อยู่ในช่วงการปรับปรุงข้อมูล