คัมภีร์หลักของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิ้ล (The Bible / Holy Bible) หรือพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย ซึ่งมีที่มา จากภาษากรีกโบราณคำว่า บลิบิออน แปลว่า หนังสือ คัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ใช่หนังสือที่เรียบเรียงเขียนขึ้นมาเป็นเล่มเดียวในคราวเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคน และเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีการประมวลชุดหนังสือทั้งหมดนั้นรวมกันเป็นสารบบเรียกว่า สารบบของคัมภีร์ (Canon of Scripture) เนื้อหาของคัมภีร์ไบเบิ้ลแยกออกมาแบ่งออกเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testa­ments) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testaments)

ในภาคพันธสัญญาเดิมนั้น ประกอบด้วยพระคัมภีร์ฝ่ายคาทอลิกมี ๔๖ เล่ม ส่วนโปรเตสแตนท์มี ๓๙ เล่ม เป็นเรื่องราวก่อนที่พระเยซูจะทรงบังเกิดขึ้นในโลก เนื่องจากศาสนาคริสต์พัฒนามาจากศาสนายูดาย อันเป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวยิว จึงได้รับเอาคัมภีร์ของศาสนายูดายมาเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิ้ลด้วยโดยอยู่ในภาคพันธสัญญาเดิม โดยในคัมภีร์ ๕ เล่มแรกของภาคพันธสัญญาเดิม นับเป็นหนึ่งชุด และถือเป็นความเชื่อร่วมกันของศาสนาคริสต์และศาสนายูดาย ได้แก่ ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ โดยรวมเป็นเรื่องราวนับแต่กำเนิดโลกจนไปถึงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และประวัติศาสตร์ของชาวยิว ที่อธิบายอิงมิติความเชื่อทางศาสนารวมไปถึงกฎเกณฑ์ทางสังคมต่างๆ ของชาวยิว ประกอบไปกับคัมภีร์อื่นๆ จนรวมเป็นพระคัมภีร์ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วยพระคัมภีร์ทั้งหมด ๒๗ เล่ม ทั้งฝ่ายคาทอลิกและโปรเตสเตนท์รับเหมือนกัน เป็นเรื่องราวการเกิดของพระเยซูไปจนถึงภายหลังการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูและพันธกิจของอัครสาวก แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ๑) พระวรสาร ๔ เล่ม ประกอบด้วยการบันทึกโดยนักบุญมัทธิว นักบุญมาร์โก นักบุญลูกา และนักบุญยอห์น ๒) หนังสือกิจการอัครสาวก เรื่องราวของพระศาสนจักรในยุคแรกๆ ๓) จดหมายของนักบุญเปาโล ประกอบด้วยจดหมายของนักบุญเปาโลที่เขียนไปยังคริสตชนในหลายเมือง เซ่น ถึงชาวโรม ถึงชาวโครินทร์ ถึงชาวเอเฟซัส ถึงชาวกาลาเทีย ถึงชาวเทสโลนีกา ฯลฯ ๔) จดหมายทั่วไปของสาวกท่านอื่นๆ เพื่อสอน และตักเตือนคริสตชน ๔) หนังสือวิวรณ์ เขียนโดย นักบุญยอห์น อัครสาวก ที่หมายถึงการเปิดเผยของพระเจ้าถึงเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากคัมภีร์ไบเบิ้ลแล้ว ชาวคริสต์คาทอลิกยังยึดมั่นในธรรมประเพณีอีกด้วย อันได้แก่ การปฏิบัติของอัครสาวกและบันทึกจากบรรดาปีตาจารย์ ธรรมเนียมศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อมาอันเป็นแบบแผน ยาวนาน อำนาจของสันตะปาปา และสังคายนา ฯลฯ

คำสอนของพระเยซูคริสต์ปรากฏอยู่ในบันทึกเรื่องราวของการออกเทศนาสั่งสอน ซึ่งจดจำและบันทึกไว้โดยอัครสาวก บรรดาสาวกที่เลื่อมใสศรัทธา แต่ก็มีลักษณะปะปนไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนคำสอนที่เป็นระบบที่สุด คือ คำเทศนาบนภูเขาซึ่งมีผู้จัดกลุ่มคำสอนในเรื่องนี้ไว้ 7 กลุ่ม คือ
(1) “ผู้เป็นสุข” ที่อธิบายว่า ผู้ที่เป็นสุขนั้นต้องมีคุณสมบัติทางจิตใจเป็นอย่างไร เช่น บุคคลใดมีใจยากจน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา...บุคคลใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้พระกรุณาตอบ... เป็นต้น
(2) “เกลือของแผ่นดินและแสงสว่างของโลก” พระเยซูใช้สัญลักษณ์จากชีวิตประจำวัน เพื่อสอนว่าผู้ที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่โลกและช่วยนำทางผู้อื่นสู่ความรอดด้วย
(3) “กฎหมายสังคมใหม่” เป็นคำสอนที่บอกว่าพระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพื่อลบล้างกฎหมายดั้งเดิมของชาวยิว แต่มาทำให้สมบูรณ์ขึ้น
(4) “กฎแห่งพระอาณาจักรพระเจ้า” เป็นคำสอนถึงแนวปฏิบัติและการบำเพ็ญตนเพื่อจะได้ซื่อสัตย์และมั่นคงในอาณาจักรของพระเจ้า เน้นหลัก ๓ ประการ คือ การให้ทานที่ หมายถึง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ การภาวนาที่หมายถึง ศรัทธาต่อพระเจ้า การอดอาหารที่หมายถึง การเสียสละโดยประยุกต์จากการปฏิบัติที่มีอยู่เดิมในประเพณีของชาวยิว
(5) บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” เป็นคำสอนถึงการภาวนาในพระเจ้าที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ หากจะวิเคราะห์หลักธรรมในศาสนาคริสต์โดยสรุปก็สามารถวิเคราะห์ได้จากบทภาวนาบทนี้
(6) “การไม่ยึดมั่นถือมั่นและความไว้ใจในพระเจ้า” คำสอนนี้สอนเรื่องการละซึ่งความโลภในทรัพย์สินและสมบัติต่างๆ ในโลกนี้ และมุ่งให้สะสมสมบัติในสวรรค์
(7) “เรื่องอื่นๆ” นอกจากเรื่องข้างต้น ยังมีคำสอนในประเด็นต่างๆ ปลีกย่อยไปอีกหลายประเด็น เช่น การตัดสินผู้อื่น การวิงวอนในพระเจ้า การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน เป็นต้น

นอกจากนี้ มีผู้ประมวลหลักคำสอนที่สำคัญของพระเยซูคริสต์ว่าเป็นคำสอนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้า มนุษย์ และจริยธรรมทางสังคม ซึ่งอาจจำแนกโดยย่อได้เป็น ๓ เรื่องที่เป็นหลักคือ
(1) หลักความเชื่อ เรื่อง พระตรีเอกภาพ (Holy Trinity)
พระศาสนจักรให้คำจำกัดความของ “ตรีเอกภาพ” ว่าหมายถึง ความเชื่อเรื่องพระเจ้าทรงมี ๓ บุคคลในองค์เดียวกัน เชื่อว่านิยามความหมายนี้ถือกำเนิดในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ สามพระบุคคลนั้นได้แก่ พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิตเจ้า (The Holy Spirit) พระบิดาซึ่งหมายถึง พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งและ ทรงรักมนุษย์มากกว่าสิ่งสร้างอื่นใด พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่เสด็จมาในโลกนี้เพื่อไถ่บาปของมนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้าและพระจิตเจ้า ที่มีพลังอำนาจของพระเจ้าเป็นพลังของความรักที่เชื่อมพระบิดาและพระบุตรเข้าด้วยกัน
(2) หลักแห่งความรัก (Love / Agape)
พระเจ้า คือ องค์ความรัก คำสอนที่สำคัญด้านจริยธรรมของศาสนาคริสต์ที่สูงสุดคือ ความรัก หมายถึง การมอบชีวิตทั้งหมดให้ด้วยรักซึ่งให้ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ความเป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่น มีสันติความสุข คำสอนในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ล้วนแต่มีคำสอนเรื่องความรัก อันแยกได้เป็น ๒ แบบคือ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรัก ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เช่น “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” การให้อภัยแม้แต่ศัตรู ฯลฯ
(3) หลักอาณาจักรของพระเจ้า
คำสอนเรื่องอาณาจักรของพระเจ้าเป็นคำสอนที่สืบเนื่อง มาจากแนวคิดของชาวฮีบรู หรือชาวยิว ซึ่งอพยพตามโมเสสมาในดินแดนปาเลสไตน์ ชาวยิวเรียกตนเองว่า อิสราเอล อันเป็นชื่อของหลานชายของอับราอัม (ยากอบ) ต้นตระกูลของชาวยิว อิสราเอล หมายถึง ผู้ปลํ้าสู้กับพระเจ้า ศาสนาที่ชาวยิวนับถือคือศาสนายูดาย อันเป็นศาสนาที่สัมพันธ์กับศาสนาคริสต์อย่างใกล้ชิด ศาสนายูดายเชื่อว่าพระเจ้าเป็นกษัตริย์แห่งสวรรค์ และ อาณาจักรของพระเจ้ายังไม่ปรากฏแก่โลกมนุษย์ ส่วนคำสอนของพระเยซูในเรื่องอาณาจักรของพระเจ้า เป็นคำสอนหลักเรื่องหนึ่งที่พระเยซูให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเน้นว่าความคิดต่างๆ ที่บุคคลได้ทำแล้วจะเป็นสิ่งที่นำพาบุคคลนั้นให้ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า ไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้า คำสอนเรื่องอาณาจักรของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาใหม่ มีนักพระคัมภีร์ตีความออกมาหลายนัย ดังมีผู้สรุปออกมาเป็น ๓ นัย ได้แก่
1. อาณาจักรของพระเจ้า คือ ศาสนจักรหรือดินแดนที่เต็มไปด้วยความรัก และความสุขในโลกนี้
2. อาณาจักรของพระเจ้า คือ สวรรค์ที่อยู่เหนือโลก
3. อาณาจักรของพระเจ้า คือ อาณาจักรแห่งความรัก และสันติสุขภายในจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบันขณะ
อย่างไรก็ตาม ชาวคริสต์มีความเชื่อว่า จะมีวันสิ้นพิภพ พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตและวิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้ว ความยุติธรรมและสันติสุขที่แท้จริงและสมบูรณ์นั้นอยู่ในอาณาจักรพระเจ้า ไม่ใช่ในโลกนี้ ชาวคริสต์เชื่อเรื่องการถูกพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgement)

คัมภีร์หลักของศาสนาคริสต์ คือ คัมภีร์ไบเบิ้ล (The Bible / Holy Bible) หรือพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ในภาษาไทย ซึ่งมีที่มา จากภาษากรีกโบราณคำว่า บลิบิออน แปลว่า หนังสือ คัมภีร์ไบเบิ้ลไม่ใช่หนังสือที่เรียบเรียงเขียนขึ้นมาเป็นเล่มเดียวในคราวเดียว แต่เป็นชุดหนังสือหลายเล่มที่เขียนโดยผู้เขียนหลายคน และเขียนขึ้นในช่วงเวลาที่ต่างกัน มีการประมวลชุดหนังสือทั้งหมดนั้นรวมกันเป็นสารบบเรียกว่า สารบบของคัมภีร์ (Canon of Scripture) เนื้อหาของคัมภีร์ไบเบิ้ลแยกออกมาแบ่งออกเป็น ๒ ภาค ได้แก่ ภาคพันธสัญญาเดิม (Old Testa­ments) และภาคพันธสัญญาใหม่ (New Testaments)

ในภาคพันธสัญญาเดิมนั้น ประกอบด้วยพระคัมภีร์ฝ่ายคาทอลิกมี ๔๖ เล่ม ส่วนโปรเตสแตนท์มี ๓๙ เล่ม เป็นเรื่องราวก่อนที่พระเยซูจะทรงบังเกิดขึ้นในโลก เนื่องจากศาสนาคริสต์พัฒนามาจากศาสนายูดาย อันเป็นศาสนาดั้งเดิมของชาวยิว จึงได้รับเอาคัมภีร์ของศาสนายูดายมาเป็นส่วนหนึ่งของคัมภีร์ไบเบิ้ลด้วยโดยอยู่ในภาคพันธสัญญาเดิม โดยในคัมภีร์ ๕ เล่มแรกของภาคพันธสัญญาเดิม นับเป็นหนึ่งชุด และถือเป็นความเชื่อร่วมกันของศาสนาคริสต์และศาสนายูดาย ได้แก่ ปฐมกาล อพยพ เลวีนิติ กันดารวิถี และเฉลยธรรมบัญญัติ โดยรวมเป็นเรื่องราวนับแต่กำเนิดโลกจนไปถึงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ และประวัติศาสตร์ของชาวยิว ที่อธิบายอิงมิติความเชื่อทางศาสนารวมไปถึงกฎเกณฑ์ทางสังคมต่างๆ ของชาวยิว ประกอบไปกับคัมภีร์อื่นๆ จนรวมเป็นพระคัมภีร์ซึ่งมีอยู่ในปัจจุบัน

ส่วนภาคพันธสัญญาใหม่ ประกอบด้วยพระคัมภีร์ทั้งหมด ๒๗ เล่ม ทั้งฝ่ายคาทอลิกและโปรเตสเตนท์รับเหมือนกัน เป็นเรื่องราวการเกิดของพระเยซูไปจนถึงภายหลังการเสด็จขึ้นสู่สวรรค์ของพระเยซูและพันธกิจของอัครสาวก แบ่งออกเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ ๑) พระวรสาร ๔ เล่ม ประกอบด้วยการบันทึกโดยนักบุญมัทธิว นักบุญมาร์โก นักบุญลูกา และนักบุญยอห์น ๒) หนังสือกิจการอัครสาวก เรื่องราวของพระศาสนจักรในยุคแรกๆ ๓) จดหมายของนักบุญเปาโล ประกอบด้วยจดหมายของนักบุญเปาโลที่เขียนไปยังคริสตชนในหลายเมือง เซ่น ถึงชาวโรม ถึงชาวโครินทร์ ถึงชาวเอเฟซัส ถึงชาวกาลาเทีย ถึงชาวเทสโลนีกา ฯลฯ ๔) จดหมายทั่วไปของสาวกท่านอื่นๆ เพื่อสอน และตักเตือนคริสตชน ๔) หนังสือวิวรณ์ เขียนโดย นักบุญยอห์น อัครสาวก ที่หมายถึงการเปิดเผยของพระเจ้าถึงเรื่องราวที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

นอกจากคัมภีร์ไบเบิ้ลแล้ว ชาวคริสต์คาทอลิกยังยึดมั่นในธรรมประเพณีอีกด้วย อันได้แก่ การปฏิบัติของอัครสาวกและบันทึกจากบรรดาปีตาจารย์ ธรรมเนียมศาสนาที่ปฏิบัติสืบต่อมาอันเป็นแบบแผน ยาวนาน อำนาจของสันตะปาปา และสังคายนา ฯลฯ

คำสอนของพระเยซูคริสต์ปรากฏอยู่ในบันทึกเรื่องราวของการออกเทศนาสั่งสอน ซึ่งจดจำและบันทึกไว้โดยอัครสาวก บรรดาสาวกที่เลื่อมใสศรัทธา แต่ก็มีลักษณะปะปนไปกับเหตุการณ์ต่างๆ ส่วนคำสอนที่เป็นระบบที่สุด คือ คำเทศนาบนภูเขาซึ่งมีผู้จัดกลุ่มคำสอนในเรื่องนี้ไว้ 7 กลุ่ม คือ
(1) “ผู้เป็นสุข” ที่อธิบายว่า ผู้ที่เป็นสุขนั้นต้องมีคุณสมบัติทางจิตใจเป็นอย่างไร เช่น บุคคลใดมีใจยากจน ผู้นั้นเป็นสุข เพราะแผ่นดินสวรรค์เป็นของเขา...บุคคลใดมีใจกรุณา ผู้นั้นเป็นสุข เพราะว่าเขาจะได้พระกรุณาตอบ... เป็นต้น
(2) “เกลือของแผ่นดินและแสงสว่างของโลก” พระเยซูใช้สัญลักษณ์จากชีวิตประจำวัน เพื่อสอนว่าผู้ที่เชื่อฟังและปฏิบัติตามคำสอนจะเป็นผู้ทำประโยชน์แก่โลกและช่วยนำทางผู้อื่นสู่ความรอดด้วย
(3) “กฎหมายสังคมใหม่” เป็นคำสอนที่บอกว่าพระองค์ไม่ได้เสด็จมาเพื่อลบล้างกฎหมายดั้งเดิมของชาวยิว แต่มาทำให้สมบูรณ์ขึ้น
(4) “กฎแห่งพระอาณาจักรพระเจ้า” เป็นคำสอนถึงแนวปฏิบัติและการบำเพ็ญตนเพื่อจะได้ซื่อสัตย์และมั่นคงในอาณาจักรของพระเจ้า เน้นหลัก ๓ ประการ คือ การให้ทานที่ หมายถึง ความรักต่อเพื่อนมนุษย์ การภาวนาที่หมายถึง ศรัทธาต่อพระเจ้า การอดอาหารที่หมายถึง การเสียสละโดยประยุกต์จากการปฏิบัติที่มีอยู่เดิมในประเพณีของชาวยิว
(5) บทภาวนา “ข้าแต่พระบิดาของข้าพเจ้าทั้งหลาย” เป็นคำสอนถึงการภาวนาในพระเจ้าที่มีเนื้อหาสมบูรณ์ หากจะวิเคราะห์หลักธรรมในศาสนาคริสต์โดยสรุปก็สามารถวิเคราะห์ได้จากบทภาวนาบทนี้
(6) “การไม่ยึดมั่นถือมั่นและความไว้ใจในพระเจ้า” คำสอนนี้สอนเรื่องการละซึ่งความโลภในทรัพย์สินและสมบัติต่างๆ ในโลกนี้ และมุ่งให้สะสมสมบัติในสวรรค์
(7) “เรื่องอื่นๆ” นอกจากเรื่องข้างต้น ยังมีคำสอนในประเด็นต่างๆ ปลีกย่อยไปอีกหลายประเด็น เช่น การตัดสินผู้อื่น การวิงวอนในพระเจ้า การปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างที่ท่านปรารถนาให้เขาปฏิบัติต่อท่าน เป็นต้น

นอกจากนี้ มีผู้ประมวลหลักคำสอนที่สำคัญของพระเยซูคริสต์ว่าเป็นคำสอนที่แสดงถึงความสัมพันธ์ของพระเจ้า มนุษย์ และจริยธรรมทางสังคม ซึ่งอาจจำแนกโดยย่อได้เป็น ๓ เรื่องที่เป็นหลักคือ
(1) หลักความเชื่อ เรื่อง พระตรีเอกภาพ (Holy Trinity)
พระศาสนจักรให้คำจำกัดความของ “ตรีเอกภาพ” ว่าหมายถึง ความเชื่อเรื่องพระเจ้าทรงมี ๓ บุคคลในองค์เดียวกัน เชื่อว่านิยามความหมายนี้ถือกำเนิดในราวคริสต์ศตวรรษที่ ๔ ถึงคริสต์ศตวรรษที่ ๕ สามพระบุคคลนั้นได้แก่ พระบิดา (The Father) พระบุตร (The Son) และพระจิตเจ้า (The Holy Spirit) พระบิดาซึ่งหมายถึง พระเจ้าผู้สร้างสรรพสิ่งและ ทรงรักมนุษย์มากกว่าสิ่งสร้างอื่นใด พระเยซูคริสต์ซึ่งมีฐานะเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่เสด็จมาในโลกนี้เพื่อไถ่บาปของมนุษย์ผู้หลงผิดให้กลับคืนไปหาพระเจ้าและพระจิตเจ้า ที่มีพลังอำนาจของพระเจ้าเป็นพลังของความรักที่เชื่อมพระบิดาและพระบุตรเข้าด้วยกัน
(2) หลักแห่งความรัก (Love / Agape)
พระเจ้า คือ องค์ความรัก คำสอนที่สำคัญด้านจริยธรรมของศาสนาคริสต์ที่สูงสุดคือ ความรัก หมายถึง การมอบชีวิตทั้งหมดให้ด้วยรักซึ่งให้ไม่หวังสิ่งใดตอบแทน ความเป็นมิตรและความปรารถนาให้ผู้อื่น มีสันติความสุข คำสอนในคัมภีร์ไบเบิ้ลหรือพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งภาคพันธสัญญาเดิมและพันธสัญญาใหม่ล้วนแต่มีคำสอนเรื่องความรัก อันแยกได้เป็น ๒ แบบคือ ความรักระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และความรัก ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ เช่น “จงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” การให้อภัยแม้แต่ศัตรู ฯลฯ
(3) หลักอาณาจักรของพระเจ้า
คำสอนเรื่องอาณาจักรของพระเจ้าเป็นคำสอนที่สืบเนื่อง มาจากแนวคิดของชาวฮีบรู หรือชาวยิว ซึ่งอพยพตามโมเสสมาในดินแดนปาเลสไตน์ ชาวยิวเรียกตนเองว่า อิสราเอล อันเป็นชื่อของหลานชายของอับราอัม (ยากอบ) ต้นตระกูลของชาวยิว อิสราเอล หมายถึง ผู้ปลํ้าสู้กับพระเจ้า ศาสนาที่ชาวยิวนับถือคือศาสนายูดาย อันเป็นศาสนาที่สัมพันธ์กับศาสนาคริสต์อย่างใกล้ชิด ศาสนายูดายเชื่อว่าพระเจ้าเป็นกษัตริย์แห่งสวรรค์ และ อาณาจักรของพระเจ้ายังไม่ปรากฏแก่โลกมนุษย์ ส่วนคำสอนของพระเยซูในเรื่องอาณาจักรของพระเจ้า เป็นคำสอนหลักเรื่องหนึ่งที่พระเยซูให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเน้นว่าความคิดต่างๆ ที่บุคคลได้ทำแล้วจะเป็นสิ่งที่นำพาบุคคลนั้นให้ไปสู่อาณาจักรของพระเจ้า ไม่ว่าจะในโลกนี้หรือโลกหน้า คำสอนเรื่องอาณาจักรของพระเจ้าในคัมภีร์ไบเบิ้ลภาคพันธสัญญาใหม่ มีนักพระคัมภีร์ตีความออกมาหลายนัย ดังมีผู้สรุปออกมาเป็น ๓ นัย ได้แก่
1. อาณาจักรของพระเจ้า คือ ศาสนจักรหรือดินแดนที่เต็มไปด้วยความรัก และความสุขในโลกนี้
2. อาณาจักรของพระเจ้า คือ สวรรค์ที่อยู่เหนือโลก
3. อาณาจักรของพระเจ้า คือ อาณาจักรแห่งความรัก และสันติสุขภายในจิตใจของมนุษย์ในปัจจุบันขณะ
อย่างไรก็ตาม ชาวคริสต์มีความเชื่อว่า จะมีวันสิ้นพิภพ พระเยซูคริสต์จะเสด็จมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อพิพากษาทั้งผู้ที่ยังมีชีวิตและวิญญาณผู้ล่วงลับไปแล้ว ความยุติธรรมและสันติสุขที่แท้จริงและสมบูรณ์นั้นอยู่ในอาณาจักรพระเจ้า ไม่ใช่ในโลกนี้ ชาวคริสต์เชื่อเรื่องการถูกพิพากษาครั้งสุดท้าย (The Last Judgement)