องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.)

ประวัติองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.)

นับแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โปรดให้บรรดาศิษยานุษิตย์ของพระองค์ออกไปเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนเป็นต้นมา จวบจนกระทั่งปัจจุบัน กาลเวลาและสถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนไปจนบันดาลให้เกิดความแตกต่างในทางปฏิบัติและความเข้าใจในพุทธธรรม จึงเกิดเป็นนิกายต่างๆขึ้นมา อาทิ เถรวาท มหายานหรือวัชรยานและอื่นๆ ซึ่งได้แพร่หลายจากทวีปเอเซียไปยังทวีปต่างๆ กระนั้นก็ดี สิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกมีเหมือนกันคือ พุทธศาสนิกชนล้วนมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว บรรดาคฤหัสถ์ในกาลก่อนจึงตระหนักในเรื่องนี้และเห็นพ้องกันว่า ถึงเวลาที่เหล่าพุทธศาสนิกชนควรจะมีเอกภาพและภราดรภาพเพื่อความวัฒนาถาวรและความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ผู้ทรงความรู้ด้านบาลีชาวศรีลังกาผู้มีชื่อเสียงซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันแนวความคิดนี้จนนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรระดับโลกคือท่าน ดร. มาลาลาเสเกรา องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) จึงได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันวิสาขบูชาวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ (ค.ศ.๑๙๕๐) ณ ศาสนสถานดาดาลา มาลิกาวา เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระทัณตธาตุ

เมื่อครั้งแรกเริ่มนั้นมีการตัดสินใจให้ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การ พ.ส.ล. อยู่ในประเทศเดียวกันกับที่ประธานขององค์การฯ พำนักอยู่ ดังนั้นเมื่อท่าน ดร.มาลาลาเสเกราซึ่งเป็นชาวศรีลังกาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานคนแรกขององค์การฯ สำนักงานใหญ่แห่งแรกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกจึงตั้งอยู่ ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา ภายหลังต่อมาอีก ๘ ปีนับจากการก่อตั้งขององค์การฯใน พ.ศ.๒๕๐๑ (ค.ศ.๑๙๕๘) ฯพณฯ อู จัน ทูน ชาวพม่าได้รับเลือกตั้งต่อจาก ดร.มาลาลาเสเกรา จึงได้มีการย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มาที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๖ (ค.ศ.๑๙๖๓) ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศพม่า ฯพณฯ อู จัน ทูนได้ขอร้องให้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลซึ่งเป็นรองประธานองค์การฯในขณะนั้นให้รับช่วงในการดำเนินกิจการทั้งหมดขององค์การ พ.ส.ล. ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของการเป็นประธานจนครบวาระ จึงทำให้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งเป็นชาวไทยคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานขององค์การ พ.ส.ล. ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ (ค.ศ.๑๙๖๓) ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่จึงได้ย้ายมาที่ กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ.๑๙๖๙) จึงได้มีมติให้ตั้งสำนักงานใหญ่ถาวรในประเทศไทย ทั้งนี้ การก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) ส่งเสริมสนับสนุนในมวลสมาชิกให้รักษาศีลและปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคร่งครัด
(2) เสริมสร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น และภราดรภาพในหมู่พุทธศาสนิกชน
(3) เผยแผ่หลักธรรมอันบริสุทธิ์ประเสริฐขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(4) จัดตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ในด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม และมนุษยธรรม
(5) ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความสามัคคีกลมเกลียว และความผาสุกในมวลมนุษยชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับองค์การอื่นๆ ซึ่งประกอบกิจการที่มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน

โครงสร้างองค์การ
     องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารของสำนักงานใหญ่ ที่คอยให้การปรึกษาและคำแนะนำในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ดังนี้
แผนภูมิโครงสร้างองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

การบริหารจัดการ

(1) ภารกิจหลักของของ พ.ส.ล. คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและสามัคคีธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ปัจจุบันนี้ พ.ส.ล. มีศูนย์ภาคี ๑๘๙ แห่ง ใน ๕๐ ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก ศูนย์ภาคีเหล่านี้คือองค์กรเผยแผ่พุทธศาสนาของ พ.ส.ล. และดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อจรรโลงและเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสุขในมวลมนุษยชาติ หน้าที่ของ พ.ส.ล. คือ ให้แนวทางปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่และประสานงานกับศูนย์ภาคีต่างๆทั่วโลก ทั้งนี้ การประชุมใหญ่ของ พ.ส.ล. จะจัดให้มีขึ้นทุก ๒ ปี โดยศูนย์ภาคีต่างๆ จะเข้าร่วมประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อพิจารณาออกมติต่างๆ ในการใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน โดยวิธีนี้ พ.ส.ล. คาดว่าจะเป็นการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและสามัคคีธรรมในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกอย่างต่อเนื่องตลอดไป
(2) การจัดองค์กรและแนวทางดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ พ.ส.ล. จึงมีการจัดองค์กรและแนวทางการดำเนินงานในธรรมนูญดังนี้
ก. การประชุมใหญ่ (General Conference) เป็นองค์กรสูงสุดที่กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การฯและศูนย์ภาคีทั่วโลก
ข. คณะกรรมการทั่วไป (General Council) เป็นองค์การบริหารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินและกองทุนของ พ.ส.ล. นอกจากนี้ยังมีความรับผิดชอบในการจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อคัดสรรกรรมการและเจ้าหน้าที่ต่างๆ รวมทั้งกำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการประชุมขององค์การต่างๆ ของ พ.ส.ล.
ค. คณะกรรมการบริหาร (Executive Council) เป็นองค์การที่ดูแลกำกับและให้คำแนะนำการบริหารงานของ พ.ส.ล. ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ โดยมีประธาน พ.ส.ล. เป็นประธานกรรมการบริหาร โดยทั่วไปจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกๆ ๖ เดือนเพื่อที่จะสามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ พ.ส.ล.
ง. คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องต่างๆตามที่คณะกรรมการทั่วไปจะมอบหมายให้ ในปัจจุบันมีคณะกรรมการประจำทั้งหมด ๑๑ คณะ ได้แก่ ๑) คณะกรรมการด้านการเงิน ๒) คณะกรรมการด้านสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ การศึกษา วัฒนธรรมและศิลปะ ๓) คณะกรรมการด้านกิจกรรมธรรมฑูต ๔) คณะกรรมการด้านมนุษยธรรม ๕) คณะกรรมการด้านเอกภาพและสมานฉันท์ ๖) คณะกรรมการด้านเยาวชน ๗. คณะกรรมการด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ๘) คณะกรรมการด้านสตรี ๙) คณะกรรมการด้านปัญจศีลสมาทาน ๑๐) คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม ๑๑) คณะกรรมการด้านศาสนสัมพันธ์
องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist Youth) ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ณ ประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา เพื่อส่งเสริมเยาวชนในการรักษาศีลและปฏิบัติธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสันติภาพและความสามัคคีในหมู่เยาวชน มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก (The World Buddhist University) ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๒๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ทำหน้าที่เชื่อมโยงและประสานงานกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลกมุ่งเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและการพัฒนา การฝึกอบรมและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การฝึกปฏิบัติจิตภาวนา และการพัฒนาการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาผู้ประสานงานองค์การยูเนสโกและหน่วยงานอื่นๆ ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อประสานงานด้านกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมา ๓ แห่งเพื่อเป็นการสนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้
ก. มูลนิธิอุปถัมภ์สงฆ์ของ พ.ส.ล. (The Foundation in Support of Foreign Buddhist Monks of the WFB) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศซึ่งมาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ข. มูลนิธิส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางพุทธศาสนาเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล (The Foundation for the Support of Buddhistic Knowledge Exchange Programme in Honour of H.M. King Bhumibol The Great) ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งดำเนินงานหลักในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้ทางพระพุทธศาสนา
ค. มูลนิธิส่งเสริมกิจการของ พ.ส.ล. (The Foundation for the Support of the WFB Activities) ตั้งขึ้นเมื่อ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของ พ.ส.ล.

บุคคลสำคัญประกอบด้วยคณะกรรมการ และคณะกรรมการบริหาร ดังนี้

คณะกรรมการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระอาจารย์ซิงหยุน ประธานกิตติมศักดิ์
2 นายแผน วรรณเมธี ประธาน
3 ดาโต๊ะ คู เลียง ฮัน รองประธานกิตติมศักดิ์
4 ดร. คิม อี จุง รองประธานกิตติมศักดิ์
5 พระติ๊ก ฟ๊อก ตัน รองประธาน
6 พระ ซิน เฉง รองประธาน
7 พระซิน ติง รองประธาน
8 พระ หมิง กวง รองประธาน
9 พระ ธรรมปาลาเวลา เฮลาเกดารา ดานาปาลา รองประธาน
10 พระ ดร.บาดัน ราฮูลา โพธิ รองประธาน
11 ท่านมาซามิชิ โชโดะ โคบายาชิ รองประธาน
12 พระ ชอยจิลจั๊บ ดัมบาจั๊บ รองประธาน
13 พระ จัง มุน รองประธาน
14 พระ โกดากาลานา เถโร กุนารัตนา (เชา ชู) รองประธาน
15 ดร. สตีเวน เอส. ดับบลิว. หวง รองประธาน
16 ดาโต๊ะ ตัน กิน ซุน รองประธาน
17 นาย พัดมา โจติ รองประธาน
18 นาย จาง วุน ยัง รองประธาน
19 นาย จากัท สุมาติปาลา รองประธาน
20 นาย พัลลภ ไทยอารี รองประธาน
21 นายปีเตอร์ ลี ประธานคณะกรรมาธิการ
22 ดร. บิกิรัน ปราสาด บารัว ประธานคณะกรรมาธิการ
23 นายกิม ซัน ตัน ประธานคณะกรรมาธิการ
24 ท่านอิกุโกะ ฮิบิโน ประธานคณะกรรมาธิการ
25 นายเฮนรี่ เฮียน แดง จี พี ประธานคณะกรรมาธิการ
26 นายเด่นพงษ์ สุวรรณชัยรบ ประธานคณะกรรมาธิการ
27 นายแอนดี้ เค้าช์ ประธานคณะกรรมาธิการ
28 นางอัง ยี่ โฉ ประธานคณะกรรมาธิการ
29 ท่านเดิก ชอง ประธานคณะกรรมาธิการ
30 นายรัตนะ มาน ศากยะ ประธานคณะกรรมาธิการ
31 นางสาวโร ไป่ หลิง ประธานคณะกรรมาธิการ
32 นายพัลลภ ไทยอารี สำนักงานเลขาธิการ
33 นางเสาวนีย์ ชื่นสำราญ สำนักงานเลขาธิการ
34 ท่านคิม ซัน วู สำนักงานเลขาธิการ
35 พันเอกสุทัศ มาดูกัล สำนักงานเลขาธิการ
36 ท่าน เรียวโช่ โชจิ สำนักงานเลขาธิการ
37 พลเรือตรี อิสระ ยิ้มพานิชย์ สำนักงานเลขาธิการ
38 นายแฟรงค์ คาเตอร์ สำนักงานเลขาธิการ
39 นายปรามาถา บารัว สำนักงานเลขาธิการ
40 นาย ฉวน บิล เชน สำนักงานเลขาธิการ
41 นางสาวเพ็ญศรี เรืองพงษ์ เหรัญญิกกิตติมศักดิ์
42 ท่านนอริมิตซุ มาซาโมโต ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.
43 พระติ๊ก เวียน ลี (ตัน ง๊อก โฮ) ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.
44 พระ วู ชิน ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.

 

กรรมการบริหารองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายแผน วรรณเมธี (ประธาน) กรรมการบริหาร
2 พระ ปู่ เจิ้ง กรรมการบริหาร
3 ท่าน โยชิฮารุ โทมัตสุ กรรมการบริหาร
4 พระ ซูกั๊ก (คิม ชี วอน) กรรมการบริหาร
5 ดร.โยว เซียง ชู กรรมการบริหาร
6 นางคามิลเลีย ดาร์มาวัน กรรมการบริหาร
7 ดาโต๊ะ อัง ชู ฮง กรรมการบริหาร
8 นายจันทรา นิมาล วากิสต้า กรรมการบริหาร
9 นางกาญจนา สุ่นสวัสดิ์ กรรมการบริหาร
10 นายพัลลภ ไทยอารี (เลขาธิการ) กรรมการบริหาร
11 นางสาวเพ็ญศรี เรืองพงษ์ (เหรัญญิก) กรรมการบริหาร

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ

ที่ตั้ง : องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) เลขที่ 616 ในอุทยานเบญจสิริ ซอยสุขุมวิท 24 แยกซอยเมธีนิเวศน์ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ : 0-661-1284-7
โทรสาร : 0-2661-0555
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : https://wfbhq.org/th/


พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ
ประวัติพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ณ สามัคคยาจารย์สโมสรสถานกรุงเทพฯ โดย คณะพุทธมามกะ 5 ท่าน ดังมีรายนามต่อไปนี้
(1) หลวงวรพากย์พินิจ (เลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในสมัยนั้น)
(2) หลวงสิริราชไมตรี พระราชธรรมนิเทศ
(3) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
(4) หลวงรณสิทธิ์พิชัย (อธิบดีกรมโฆษณาการในสมัยนั้น)
(5) พระราชธรรมนิเทศ (อธิบดีกรมธรรมการในสมัยนั้น)
ทั้งนี้ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุนกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
(2) เพื่อศึกษา เผยแพร่ และส่งเสริมเชิดชูหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
(3) เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรม
(4) เพื่อปฏิบัติการสาธารณกุศล และสังคมสงเคราะห์

โครงสร้างองค์กร

การบริหารจัดการ
การบริหารงานของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุนกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
(2) เพื่อศึกษา เผยแพร่ และส่งเสริมเชิดชูหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา และพิทักษ์รักษาสถาบันชาติ พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์
(3) เพื่อเป็นตัวแทนองค์การพระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ
(4) เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมและสัมพันธภาพกับศาสนาอื่น
(5) เพื่อปฏิบัติการสาธารณกุศล และสวัสดิการสังคม

บุคคลสำคัญ
ประกอบด้วยนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 – ปัจจุบัน ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ปีที่ตำแหน่งนายกพุทธสมาคม
1 พระราชธรรมนิเทศ พ.ศ.2476-2479
2 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.ศ.2480-2492
3 พระยา ภะรตราชสุพิช พ.ศ.2493-2496
4 พันโท หลวงรณสิทธิพิชัย พ.ศ.2497-2498
5 หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล พ.ศ.2499-2500
6 ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2501-2505
7 คุณปุ๋ย โรจนะบุรานนท์ พ.ศ.2506-2507
8 ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2508-2515
9 หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ พ.ศ.2516-2517
10 ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2518-2523
11 ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย พ.ศ.2524-2546
12 อาจารย์ ณัฐพัชร์(อำนวย) อินทุภูติ พ.ศ.2547-ปัจจุบัน

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 41 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2281-9563-4
โทรสาร : 0-2281-9564 กด 110, 0-2281-4275
เว็บไซต์ : https://www.batr.or.th


ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามารถแบ่งประวัติความเป็นมาออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
(1) ยุคที่ 1 ก่อตั้งคณะยุวพุทธิกะ
ก. พ.ศ.2493 กลุ่มคนหนุ่มสาว นำโดยคุณบุญยง ว่องวานิช คุณเสถียร โพธินันทะ และคุณสุพจน์ แสงสมบูรณ์ จัดตั้งคณะยุวพุทธิกะขึ้น
ข. พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสมาคมไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
ค. พ.ศ.2508 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานที่ดินให้แก่สมาคม ซึ่งนายขวัญเอี่ยมอ่อง น้อมเกล้าฯ ถวาย
ง. พ.ศ.2525 จัดตั้งโรงเรียนยุวพุทธพิทยาในอาคารหลังแรกของสมาคม ซอยเพชรเกษม 54 เริ่มเปิดสอนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 ในเวลาต่อมา
(2) ยุคที่ 2 วิปัสสนากรรมฐาน
ก. พ.ศ.2526 อมรมวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตรพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข โดยคุณแม่สิริกรินชัย ในเวลาต่อมาได้มีการอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา โครงการศึกษาและปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนหญิง
ข. พ.ศ.2535 เปิด “อาคารสิกรินชัยริ” อาคารปฏิบัติธรรมหลังแรกของสมาคม ได้นำเทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นมาใช้เพื่อรองรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ขยายอย่างรวดเร็ว
ค. พ.ศ.2550 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงภาพถ่าย พิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปางประสูติจากพระอุโบสถวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล
(3) ยุคที่ 3 งานวิปัสสนากรรมฐานเชิงคุณภาพ
ก. พ.ศ.2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารธรรมนิเวศ
ข. พ.ศ.2552 สมาคมเพิ่มกิจกรรมสืบสานงานพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาและประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธ
ค. พ.ศ.2555 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จเป็นประธานพิธีสวดพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถา และโพชณังคปริตร เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง. พ.ศ.2556 จัดระบบเพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านการบริหารจัดการบัญชีการเงิน (Financial Model) ปรับปรุงหลักสูตรและคุณภาพวิทยากรของสมาคม
จ. พ.ศ.2557 จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการบริหาร “ภารกิจร้อยใจ สู่ร้อยปี” เพื่อวางแผนและปรับปรุงคุณภาพของกิจกรรมวิปัสสนากรรมฐาน
ฉ. พ.ศ.2558 – 2559 ปรับปรุงอัตลักษณ์และพัฒนาระบบงานสื่อสารสารสนเทศ และประชาสัมพันธ์ เพื่อก้าวสู่งานเผยแพร่ยุคดิจิทัล ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง

โครงสร้างองค์การ

 

การบริหารจัดการ
(1) วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเป็นผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่เยาวชนและผู้สนใจ เข้าร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎก (เถรวาท) โดยเน้นหลักวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้เกิดศรัทธาและปัญญาเพื่อนำหลักมาใช้ในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งเข้าร่วมเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางต่อไป
(2) พันธกิจ
ก. พัฒนาระบบการบริหารจัดการสมาคมอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย ได้มาตรฐานสากล
ข. พัฒนาคุณภาพในการจัดอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ค. ขยายและพัฒนาวิธีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่เยาชน และสังคม ให้ทันต่อสมัยในหลายช่องทาง
ง. สร้างบุคลากรและเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
จ. สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับสมาคม
(3) คติธรรมในการบริหารงานสมาคม
การไม่ถือตนเป็นใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของทุกคน ไต่ตรองพิจารณาว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ คิดถึงหลักประโยชน์ส่วนรวม นำธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้ามาประกอบพิจารณาทุกครั้ง ภูมิใจในการเป็นผู้เสียสละด้วยความมั่นคงและมั่นใจ

บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ กรรมการบริหารองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก จำนวน 15 ท่าน ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายมณเธียร ธนานาถ นายยกสมาคม
2 นายล้วนชาย  ว่องวานิช อุปนายกที่ คนที่ 2
3 รศ.ดร.วิไล   เทียนรุ่งโรจน์  หนุนภักดี อุปนกยก คนที่ 3 และประชาสัมพันธ์
4 นางสาวนฤชล  ศฤงคารศุกกุล อุปนายก  คนที่ 4
5 นายนพเก้า  ไชยะบุรินทร์ กรรมการ
6 นางเปรมวดี  อยู่หุ่น กรรมการ
7 นายเอนก  วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ กรรมการ
8 รองศาสตราจารย์ดนัย  ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ กรรมการ
9 นางนิภา  วรพันธ์ กรรมการและสาราณียกร
10 นายทัตสกล  ทองเลิศ กรรมการและปฏิคม
11 นายจิรายุ  แก้วพะเนาว์ กรรมการและวิเทศสัมพันธ์
12 นางสาวชญาน์นันท์  สาครสกลพัฒน์ กรรมการและนายทะเบียน
13 นางสาวณรากาญจน์  ชาวนาผล กรรมการและสังคมสงเคราะห์
14 นางสาวศรีนิตย์  ว่องวานิช กรรมการและเหรัญญิก
15 นางสาวกาญจนา  กรัณยประเสริฐ กรรมการและเลขาธิการ

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 4 ซอยเพชรเกษม 54 แยก 6 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพ 10610
โทรศัพท์ : 0-2455-2525
โทรสาร : 0-2413-3131
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : https://www.ybat.org


เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ประวัติ
เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นองค์กรการกุศล มีอุดมการณ์เผยแผ่ธรรม ชี้นำความถูกต้อง ปกป้องพระพุทธศาสนา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยการนำของนายประสิทธ กิตติสิทโธ นายจำรัส ดวงธิสาร และคณะ ซึ่งเป็นผู้ได้เคยบวชเรียนมาก่อน แล้วลาสิกขามาเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพรับราชการและอาชีพอื่นๆ แตกต่างกันออกไป
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แม่กองบาลีสนามหลวง และเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ได้เมตตานุเคราะห์ สนับสนุนและมอบอาคารสถานที่ภายในวัดสามพระยาเป็นที่ตั้งสำนักงานเปรียญธรรม สมาคมฯ และ ม.ร.ว ศึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๓ ของประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนทั้งข้อคิด ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ พ.ศ.๒๕๒๐ ได้จัดตั้ง “มูลนิธิเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย” ขึ้นอีกสถาบันหนึ่ง เพื่อมีส่วนเป็นฐานสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (สมาคมฯ) มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ดังนี้
(1) ธำรงรักษาและบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา
(2) ส่งเสริมความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบ
(3) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และสังคมสงเคราะห์
(4) พิทักษ์ความเป็นธรรมในสังคม
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
(6) เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมโดยใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์
(7) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคคล ชุมชนและประเทศชาติตามแนวทางพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง

โครงสร้างองค์การ
(1) คณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ

(2) คณะกรรมการบริหารเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

โครงสร้างองค์การเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ประกอบด้วยคณะทำงานในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ประธานกรรมการ รองประธาน กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการ 
 

การจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการต่างๆ
การจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ถือว่าเป็นหัวใจของสถาบันทั้งสองแห่ง คณะกรรมการบริหารทุกคณะได้ร่วมกันทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญาจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้
(1) ทำบุญใหญ่ประจำปี การจัดงานทำบุญใหญ่ประจำปี ทุกปี เพื่อบำเพ็ญทักษิณานุปทาน อุทิศกุศลแก่นักธรรม ธรรมศึกษา เปรียญธรรม และผู้มีอุปการคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อฉลองพระภิกษุ–สามเณรทั่วประเทศที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคในสนามหลวง และเพื่อทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนเพิ่มทุนและตั้งทุนมูลนิธิ
(2) การรักษาศีล ปฏิบัติธรรม จัดโครงการรักษาศีล ปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีละ ๔-๕ ครั้ง ตามวัดต่างๆในทุกภาคของประเทศไทย
(3) อบรมศีลธรรม จัดโครงการอบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยการส่งพระวิทยากรและฆราวาส วิทยากรไปบรรยายธรรม ฝึกมารยาทไทย และบำเพ็ญจิตภาวนา
(4) ธรรมสัญจร จัดโครงการธรรมสัญจร ทั้งใน กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยการจัดอภิปรายธรรม บรรยายธรรม และเสวนาธรรม ทั้งในวัด สถาบันการศึกษา บริษัท และองค์กรต่างๆ ที่เชิญมาปีละ ๑๒ ครั้ง
(5) เลือกนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่น จัดการคัดเลือกนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่นประจำปี โดยการแบ่งคัดเลือกออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่นสาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และสาขาการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อนำเข้าพระราชทานโล่และรางวัล
(6) ถวายความรู้พระบวชใหม่ จัดโครงการถวายความรู้แก่พระนวกะ (พระบวชใหม่) ในเขตกรุงเทพมหานคร จัดให้มีการถวายความรู้แก่พระนวกะ ทุกวันโกนใหญ่ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) ของทุกเดือนตามหน่วยอบรมเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
(7) ร่วมงานวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชาของทุกปี คือการจัดนิทรรศการ โต๊ะหมูบูชา การอภิปรายธรรม การบรรยายธรรม การโต้วาที และการทำบุญตักบาตร ณ ปริมณฑลท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
(8) จัดรายการธรรมะ “ทางเดิน” ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๗.๐๐- ๑๗.๓๐ น.ทางสถานีวิทยุกองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ คลื่น A.M. ๙๖.๓ โดยนายสมบัติ ศีลสาร ประธานมูลนิธิฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ (ยุติรายการไปแล้ว
(9) ทำวารสาร "ทางเดิน" เป็นวารสาร 3 เดือน เพื่อเผยแผ่ธรรม ชี้นำความถูกต้อง ปกป้องพระพุทธศาสนา เป็นสื่อกลางของชาวพุทธ และสร้างจุดเข้าใจอันดี ระหว่างศาสนา กำหนดออกปีละ ๔ ฉบับ ฉบับละ ๔,๐๐๐ เล่ม ๓ เดือนต่อ ๑ ฉบับ โดยจัดส่งให้แก่สมาชิกวารสารทางเดิน ถวายพระเถรานุเถระ ในโอกาสต่างๆ และมอบเป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มีอุปการคุณ
(10) ถวายสังฆทาน จัดบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ในวันที่ ๙ มิถุนายน และบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และอุทิศกุศลแก่ นายบัญชา ล่ำซำ ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อสถาบันทั้ง ๒ ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปี ฯลฯ
(11) ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และแนะนำให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่วัด องค์การกุศล สมาชิก และบุคคลทั่วไป
(12) ให้คำปรึกษาการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา แก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป เช่น พิธีทำบุญวันเกิด พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีทำบุญหรือบำเพ็ญกุศลผู้เสียชีวิต และพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น
(13) บำเพ็ญกุศลวันมูลนิธิฯในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จย่า ๑๘ กรกฎาคม

นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายประสิทธิ กิตติสิทโธ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑-๒
2 นายจำรัส ดวงธิสาร นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๒,๖,๑๒
3 นายประเทือง ไตรทิพย์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๔
4 น.อ (พิเศษ) อ่อน บุญญพันธุ์ ร.น นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๕-๖
5 นายสังเวียน ภู่ระหงษ์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๗-๑๑
6 นายสุพจน์ วิสุทธิกันต์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๓
7 ดร.สนิท ศรีสำแดง นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๔
8 พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๕-๑๖-๑๗
9 นายโชค ไกรเทพ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๘
10 พันเอก(พิเศษ) บุญชู ศรีเคลือบ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๙

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ วัดสามพระยา เลขที่ 165 ถนนสามเสน 5 เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 0-2628-7283 / 0-2628-8878
โทรสาร : 0-2628-7283
เว็บไซต์ : https://www.pada.or.th/

องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.)

ประวัติองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.)

นับแต่ครั้งพุทธกาลเมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้โปรดให้บรรดาศิษยานุษิตย์ของพระองค์ออกไปเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนเป็นต้นมา จวบจนกระทั่งปัจจุบัน กาลเวลาและสถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนไปจนบันดาลให้เกิดความแตกต่างในทางปฏิบัติและความเข้าใจในพุทธธรรม จึงเกิดเป็นนิกายต่างๆขึ้นมา อาทิ เถรวาท มหายานหรือวัชรยานและอื่นๆ ซึ่งได้แพร่หลายจากทวีปเอเซียไปยังทวีปต่างๆ กระนั้นก็ดี สิ่งที่ชาวพุทธทั่วโลกมีเหมือนกันคือ พุทธศาสนิกชนล้วนมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพระพุทธเจ้าเพียงพระองค์เดียว บรรดาคฤหัสถ์ในกาลก่อนจึงตระหนักในเรื่องนี้และเห็นพ้องกันว่า ถึงเวลาที่เหล่าพุทธศาสนิกชนควรจะมีเอกภาพและภราดรภาพเพื่อความวัฒนาถาวรและความรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ผู้ทรงความรู้ด้านบาลีชาวศรีลังกาผู้มีชื่อเสียงซึ่งเป็นผู้ริเริ่มและเป็นกำลังสำคัญในการผลักดันแนวความคิดนี้จนนำไปสู่การจัดตั้งองค์กรระดับโลกคือท่าน ดร. มาลาลาเสเกรา องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) จึงได้จัดตั้งขึ้นเมื่อวันวิสาขบูชาวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๙๓ (ค.ศ.๑๙๕๐) ณ ศาสนสถานดาดาลา มาลิกาวา เมืองแคนดี้ ประเทศศรีลังกา ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานองค์พระทัณตธาตุ

เมื่อครั้งแรกเริ่มนั้นมีการตัดสินใจให้ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ขององค์การ พ.ส.ล. อยู่ในประเทศเดียวกันกับที่ประธานขององค์การฯ พำนักอยู่ ดังนั้นเมื่อท่าน ดร.มาลาลาเสเกราซึ่งเป็นชาวศรีลังกาได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานคนแรกขององค์การฯ สำนักงานใหญ่แห่งแรกขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกจึงตั้งอยู่ ณ กรุงโคลอมโบ ประเทศศรีลังกา ภายหลังต่อมาอีก ๘ ปีนับจากการก่อตั้งขององค์การฯใน พ.ศ.๒๕๐๑ (ค.ศ.๑๙๕๘) ฯพณฯ อู จัน ทูน ชาวพม่าได้รับเลือกตั้งต่อจาก ดร.มาลาลาเสเกรา จึงได้มีการย้ายที่ตั้งของสำนักงานใหญ่มาที่เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า จนกระทั่ง พ.ศ.๒๕๐๖ (ค.ศ.๑๙๖๓) ได้เกิดการปฏิวัติขึ้นในประเทศพม่า ฯพณฯ อู จัน ทูนได้ขอร้องให้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุลซึ่งเป็นรองประธานองค์การฯในขณะนั้นให้รับช่วงในการดำเนินกิจการทั้งหมดขององค์การ พ.ส.ล. ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของการเป็นประธานจนครบวาระ จึงทำให้หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ซึ่งเป็นชาวไทยคนแรกที่ได้รับการเลือกตั้งอย่างเป็นเอกฉันท์ให้เป็นประธานขององค์การ พ.ส.ล. ตั้งแต่ พ.ศ.๒๕๐๖ (ค.ศ.๑๙๖๓) ที่ตั้งของสำนักงานใหญ่จึงได้ย้ายมาที่ กรุงเทพมหานคร จนกระทั่งการประชุมใหญ่ครั้งที่ ๙ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ (ค.ศ.๑๙๖๙) จึงได้มีมติให้ตั้งสำนักงานใหญ่ถาวรในประเทศไทย ทั้งนี้ การก่อตั้งองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
(1) ส่งเสริมสนับสนุนในมวลสมาชิกให้รักษาศีลและปฏิบัติธรรมตามคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยเคร่งครัด
(2) เสริมสร้างความสามัคคี ความเป็นปึกแผ่น และภราดรภาพในหมู่พุทธศาสนิกชน
(3) เผยแผ่หลักธรรมอันบริสุทธิ์ประเสริฐขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
(4) จัดตั้งและดำเนินกิจกรรมต่างๆที่เป็นประโยชน์ในด้านสังคม การศึกษา วัฒนธรรม และมนุษยธรรม
(5) ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความสามัคคีกลมเกลียว และความผาสุกในมวลมนุษยชาติ ตลอดจนให้ความร่วมมือกับองค์การอื่นๆ ซึ่งประกอบกิจการที่มีความมุ่งหมายอย่างเดียวกัน

โครงสร้างองค์การ
     องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลกได้กำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารของสำนักงานใหญ่ ที่คอยให้การปรึกษาและคำแนะนำในการดำเนินงานและกิจกรรมต่างๆ ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ดังนี้
แผนภูมิโครงสร้างองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

การบริหารจัดการ

(1) ภารกิจหลักของของ พ.ส.ล. คือ การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการส่งเสริมความเป็นปึกแผ่นและสามัคคีธรรมของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ปัจจุบันนี้ พ.ส.ล. มีศูนย์ภาคี ๑๘๙ แห่ง ใน ๕๐ ประเทศทุกภูมิภาคทั่วโลก ศูนย์ภาคีเหล่านี้คือองค์กรเผยแผ่พุทธศาสนาของ พ.ส.ล. และดำเนินกิจกรรมต่างๆเพื่อจรรโลงและเผยแพร่พระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้เกิดสันติภาพและความสุขในมวลมนุษยชาติ หน้าที่ของ พ.ส.ล. คือ ให้แนวทางปฏิบัติตามมติของที่ประชุมใหญ่และประสานงานกับศูนย์ภาคีต่างๆทั่วโลก ทั้งนี้ การประชุมใหญ่ของ พ.ส.ล. จะจัดให้มีขึ้นทุก ๒ ปี โดยศูนย์ภาคีต่างๆ จะเข้าร่วมประชุมกันเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เพื่อพิจารณาออกมติต่างๆ ในการใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติร่วมกัน โดยวิธีนี้ พ.ส.ล. คาดว่าจะเป็นการเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นและสามัคคีธรรมในหมู่พุทธศาสนิกชนทั่วโลกอย่างต่อเนื่องตลอดไป
(2) การจัดองค์กรและแนวทางดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ พ.ส.ล. จึงมีการจัดองค์กรและแนวทางการดำเนินงานในธรรมนูญดังนี้
ก. การประชุมใหญ่ (General Conference) เป็นองค์กรสูงสุดที่กำหนดยุทธศาสตร์และนโยบายในการดำเนินงานขององค์การฯและศูนย์ภาคีทั่วโลก
ข. คณะกรรมการทั่วไป (General Council) เป็นองค์การบริหารซึ่งทำหน้าที่ควบคุมทรัพย์สินและกองทุนของ พ.ส.ล. นอกจากนี้ยังมีความรับผิดชอบในการจัดให้มีการเลือกตั้งเพื่อคัดสรรกรรมการและเจ้าหน้าที่ต่างๆ รวมทั้งกำหนดกฎเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติในการประชุมขององค์การต่างๆ ของ พ.ส.ล.
ค. คณะกรรมการบริหาร (Executive Council) เป็นองค์การที่ดูแลกำกับและให้คำแนะนำการบริหารงานของ พ.ส.ล. ให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมใหญ่ โดยมีประธาน พ.ส.ล. เป็นประธานกรรมการบริหาร โดยทั่วไปจะจัดให้มีการประชุมคณะกรรมการบริหารทุกๆ ๖ เดือนเพื่อที่จะสามารถติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของ พ.ส.ล.
ง. คณะกรรมการประจำ (Standing Committee) ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องต่างๆตามที่คณะกรรมการทั่วไปจะมอบหมายให้ ในปัจจุบันมีคณะกรรมการประจำทั้งหมด ๑๑ คณะ ได้แก่ ๑) คณะกรรมการด้านการเงิน ๒) คณะกรรมการด้านสิ่งพิมพ์ การเผยแพร่ การศึกษา วัฒนธรรมและศิลปะ ๓) คณะกรรมการด้านกิจกรรมธรรมฑูต ๔) คณะกรรมการด้านมนุษยธรรม ๕) คณะกรรมการด้านเอกภาพและสมานฉันท์ ๖) คณะกรรมการด้านเยาวชน ๗. คณะกรรมการด้านการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ๘) คณะกรรมการด้านสตรี ๙) คณะกรรมการด้านปัญจศีลสมาทาน ๑๐) คณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อม ๑๑) คณะกรรมการด้านศาสนสัมพันธ์
องค์การยุวพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (The World Fellowship of Buddhist Youth) ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๑๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๕ ณ ประเทศสาธารณรัฐศรีลังกา เพื่อส่งเสริมเยาวชนในการรักษาศีลและปฏิบัติธรรม รวมทั้งเสริมสร้างสันติภาพและความสามัคคีในหมู่เยาวชน มหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลก (The World Buddhist University) ตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ ๒๐ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ ณ ประเทศออสเตรเลีย เพื่อให้ทำหน้าที่เชื่อมโยงและประสานงานกับมหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษาต่างๆทั่วโลก โดยมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลกมุ่งเน้นกิจกรรมที่เกี่ยวกับการค้นคว้าและการพัฒนา การฝึกอบรมและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษา การฝึกปฏิบัติจิตภาวนา และการพัฒนาการศึกษาตามหลักพระพุทธศาสนาผู้ประสานงานองค์การยูเนสโกและหน่วยงานอื่นๆ ขององค์การสหประชาชาติ เพื่อประสานงานด้านกิจกรรมที่เป็นการส่งเสริมการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรม
นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยยังได้ร่วมกันจัดตั้งมูลนิธิขึ้นมา ๓ แห่งเพื่อเป็นการสนับสนุนงานด้านพระพุทธศาสนา ดังต่อไปนี้
ก. มูลนิธิอุปถัมภ์สงฆ์ของ พ.ส.ล. (The Foundation in Support of Foreign Buddhist Monks of the WFB) ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๕ เพื่อให้ความช่วยเหลือพระภิกษุสามเณรชาวต่างประเทศซึ่งมาศึกษาพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
ข. มูลนิธิส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้ทางพุทธศาสนาเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล (The Foundation for the Support of Buddhistic Knowledge Exchange Programme in Honour of H.M. King Bhumibol The Great) ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมหาราช เมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ซึ่งดำเนินงานหลักในการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนความรู้ทางพระพุทธศาสนา
ค. มูลนิธิส่งเสริมกิจการของ พ.ส.ล. (The Foundation for the Support of the WFB Activities) ตั้งขึ้นเมื่อ ๗ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ เพื่อดำเนินงานส่งเสริมและสนับสนุนกิจการของ พ.ส.ล.

บุคคลสำคัญประกอบด้วยคณะกรรมการ และคณะกรรมการบริหาร ดังนี้

คณะกรรมการองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 พระอาจารย์ซิงหยุน ประธานกิตติมศักดิ์
2 นายแผน วรรณเมธี ประธาน
3 ดาโต๊ะ คู เลียง ฮัน รองประธานกิตติมศักดิ์
4 ดร. คิม อี จุง รองประธานกิตติมศักดิ์
5 พระติ๊ก ฟ๊อก ตัน รองประธาน
6 พระ ซิน เฉง รองประธาน
7 พระซิน ติง รองประธาน
8 พระ หมิง กวง รองประธาน
9 พระ ธรรมปาลาเวลา เฮลาเกดารา ดานาปาลา รองประธาน
10 พระ ดร.บาดัน ราฮูลา โพธิ รองประธาน
11 ท่านมาซามิชิ โชโดะ โคบายาชิ รองประธาน
12 พระ ชอยจิลจั๊บ ดัมบาจั๊บ รองประธาน
13 พระ จัง มุน รองประธาน
14 พระ โกดากาลานา เถโร กุนารัตนา (เชา ชู) รองประธาน
15 ดร. สตีเวน เอส. ดับบลิว. หวง รองประธาน
16 ดาโต๊ะ ตัน กิน ซุน รองประธาน
17 นาย พัดมา โจติ รองประธาน
18 นาย จาง วุน ยัง รองประธาน
19 นาย จากัท สุมาติปาลา รองประธาน
20 นาย พัลลภ ไทยอารี รองประธาน
21 นายปีเตอร์ ลี ประธานคณะกรรมาธิการ
22 ดร. บิกิรัน ปราสาด บารัว ประธานคณะกรรมาธิการ
23 นายกิม ซัน ตัน ประธานคณะกรรมาธิการ
24 ท่านอิกุโกะ ฮิบิโน ประธานคณะกรรมาธิการ
25 นายเฮนรี่ เฮียน แดง จี พี ประธานคณะกรรมาธิการ
26 นายเด่นพงษ์ สุวรรณชัยรบ ประธานคณะกรรมาธิการ
27 นายแอนดี้ เค้าช์ ประธานคณะกรรมาธิการ
28 นางอัง ยี่ โฉ ประธานคณะกรรมาธิการ
29 ท่านเดิก ชอง ประธานคณะกรรมาธิการ
30 นายรัตนะ มาน ศากยะ ประธานคณะกรรมาธิการ
31 นางสาวโร ไป่ หลิง ประธานคณะกรรมาธิการ
32 นายพัลลภ ไทยอารี สำนักงานเลขาธิการ
33 นางเสาวนีย์ ชื่นสำราญ สำนักงานเลขาธิการ
34 ท่านคิม ซัน วู สำนักงานเลขาธิการ
35 พันเอกสุทัศ มาดูกัล สำนักงานเลขาธิการ
36 ท่าน เรียวโช่ โชจิ สำนักงานเลขาธิการ
37 พลเรือตรี อิสระ ยิ้มพานิชย์ สำนักงานเลขาธิการ
38 นายแฟรงค์ คาเตอร์ สำนักงานเลขาธิการ
39 นายปรามาถา บารัว สำนักงานเลขาธิการ
40 นาย ฉวน บิล เชน สำนักงานเลขาธิการ
41 นางสาวเพ็ญศรี เรืองพงษ์ เหรัญญิกกิตติมศักดิ์
42 ท่านนอริมิตซุ มาซาโมโต ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.
43 พระติ๊ก เวียน ลี (ตัน ง๊อก โฮ) ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.
44 พระ วู ชิน ที่ปรึกษาประธาน พ.ส.ล.

 

กรรมการบริหารองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายแผน วรรณเมธี (ประธาน) กรรมการบริหาร
2 พระ ปู่ เจิ้ง กรรมการบริหาร
3 ท่าน โยชิฮารุ โทมัตสุ กรรมการบริหาร
4 พระ ซูกั๊ก (คิม ชี วอน) กรรมการบริหาร
5 ดร.โยว เซียง ชู กรรมการบริหาร
6 นางคามิลเลีย ดาร์มาวัน กรรมการบริหาร
7 ดาโต๊ะ อัง ชู ฮง กรรมการบริหาร
8 นายจันทรา นิมาล วากิสต้า กรรมการบริหาร
9 นางกาญจนา สุ่นสวัสดิ์ กรรมการบริหาร
10 นายพัลลภ ไทยอารี (เลขาธิการ) กรรมการบริหาร
11 นางสาวเพ็ญศรี เรืองพงษ์ (เหรัญญิก) กรรมการบริหาร

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ

ที่ตั้ง : องค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก (พ.ส.ล.) เลขที่ 616 ในอุทยานเบญจสิริ ซอยสุขุมวิท 24 แยกซอยเมธีนิเวศน์ ถนนสุขุมวิท เขตคลองเตย จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10110
โทรศัพท์ : 0-661-1284-7
โทรสาร : 0-2661-0555
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : https://wfbhq.org/th/


พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ
ประวัติพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ถูกก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2476 ณ สามัคคยาจารย์สโมสรสถานกรุงเทพฯ โดย คณะพุทธมามกะ 5 ท่าน ดังมีรายนามต่อไปนี้
(1) หลวงวรพากย์พินิจ (เลขาธิการคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินในสมัยนั้น)
(2) หลวงสิริราชไมตรี พระราชธรรมนิเทศ
(3) ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์
(4) หลวงรณสิทธิ์พิชัย (อธิบดีกรมโฆษณาการในสมัยนั้น)
(5) พระราชธรรมนิเทศ (อธิบดีกรมธรรมการในสมัยนั้น)
ทั้งนี้ พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุนกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
(2) เพื่อศึกษา เผยแพร่ และส่งเสริมเชิดชูหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา
(3) เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรม
(4) เพื่อปฏิบัติการสาธารณกุศล และสังคมสงเคราะห์

โครงสร้างองค์กร

การบริหารจัดการ
การบริหารงานของพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการบริหารงาน ดังนี้
(1) เพื่อสนับสนุนกิจการเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาทั้งในและนอกประเทศ
(2) เพื่อศึกษา เผยแพร่ และส่งเสริมเชิดชูหลักธรรมแห่งพระพุทธศาสนา และพิทักษ์รักษาสถาบันชาติ พระพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์
(3) เพื่อเป็นตัวแทนองค์การพระพุทธศาสนาทั้งในและต่างประเทศ
(4) เพื่อส่งเสริมสามัคคีธรรมและสัมพันธภาพกับศาสนาอื่น
(5) เพื่อปฏิบัติการสาธารณกุศล และสวัสดิการสังคม

บุคคลสำคัญ
ประกอบด้วยนายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ.2476 – ปัจจุบัน ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ปีที่ตำแหน่งนายกพุทธสมาคม
1 พระราชธรรมนิเทศ พ.ศ.2476-2479
2 พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ พ.ศ.2480-2492
3 พระยา ภะรตราชสุพิช พ.ศ.2493-2496
4 พันโท หลวงรณสิทธิพิชัย พ.ศ.2497-2498
5 หม่อมเจ้าหญิง พูนพิศมัย ดิศกุล พ.ศ.2499-2500
6 ศาสตราจารย์ สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2501-2505
7 คุณปุ๋ย โรจนะบุรานนท์ พ.ศ.2506-2507
8 ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2508-2515
9 หลวงอรรถวิภาคไพศาลย์ พ.ศ.2516-2517
10 ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ พ.ศ.2518-2523
11 ศาสตราจารย์ประภาศน์ อวยชัย พ.ศ.2524-2546
12 อาจารย์ ณัฐพัชร์(อำนวย) อินทุภูติ พ.ศ.2547-ปัจจุบัน

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : พุทธสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 41 ถนนพระอาทิตย์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2281-9563-4
โทรสาร : 0-2281-9564 กด 110, 0-2281-4275
เว็บไซต์ : https://www.batr.or.th


ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

ประวัติ
ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สามารถแบ่งประวัติความเป็นมาออกเป็น 3 ยุค ดังนี้
(1) ยุคที่ 1 ก่อตั้งคณะยุวพุทธิกะ
ก. พ.ศ.2493 กลุ่มคนหนุ่มสาว นำโดยคุณบุญยง ว่องวานิช คุณเสถียร โพธินันทะ และคุณสุพจน์ แสงสมบูรณ์ จัดตั้งคณะยุวพุทธิกะขึ้น
ข. พ.ศ.2503 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสมาคมไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และทรงมีพระกรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าลูกยาเธอ และพระเจ้าลูกเธอทรงเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
ค. พ.ศ.2508 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถพระราชทานที่ดินให้แก่สมาคม ซึ่งนายขวัญเอี่ยมอ่อง น้อมเกล้าฯ ถวาย
ง. พ.ศ.2525 จัดตั้งโรงเรียนยุวพุทธพิทยาในอาคารหลังแรกของสมาคม ซอยเพชรเกษม 54 เริ่มเปิดสอนชั้นอนุบาล 1 และชั้นอนุบาล 2 ในเวลาต่อมา
(2) ยุคที่ 2 วิปัสสนากรรมฐาน
ก. พ.ศ.2526 อมรมวิปัสสนากรรมฐานหลักสูตรพัฒนาจิตให้เกิดปัญญาและสันติสุข โดยคุณแม่สิริกรินชัย ในเวลาต่อมาได้มีการอบรมให้ความรู้แก่ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาสนา โครงการศึกษาและปฏิบัติธรรมสำหรับเยาวชนหญิง
ข. พ.ศ.2535 เปิด “อาคารสิกรินชัยริ” อาคารปฏิบัติธรรมหลังแรกของสมาคม ได้นำเทคโนโลยีโสตทัศนูปกรณ์ที่ทันสมัยที่สุดในยุคนั้นมาใช้เพื่อรองรับการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ที่ขยายอย่างรวดเร็ว
ค. พ.ศ.2550 พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าโสมสวลีฯ ทรงเป็นประธานในพิธีเปิดนิทรรศการแสดงภาพถ่าย พิธีอัญเชิญพระพุทธรูปปางประสูติจากพระอุโบสถวัดไทยลุมพินี ประเทศเนปาล
(3) ยุคที่ 3 งานวิปัสสนากรรมฐานเชิงคุณภาพ
ก. พ.ศ.2552 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทรงเปิดอาคารธรรมนิเวศ
ข. พ.ศ.2552 สมาคมเพิ่มกิจกรรมสืบสานงานพระพุทธศาสนาด้านการศึกษาและประเพณีวัฒนธรรมชาวพุทธ
ค. พ.ศ.2555 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลีฯ เสด็จเป็นประธานพิธีสวดพระพุทธมนต์ชัยมงคลคาถา และโพชณังคปริตร เพื่อถวายพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ง. พ.ศ.2556 จัดระบบเพื่อพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานด้านการบริหารจัดการบัญชีการเงิน (Financial Model) ปรับปรุงหลักสูตรและคุณภาพวิทยากรของสมาคม
จ. พ.ศ.2557 จัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการคณะกรรมการบริหาร “ภารกิจร้อยใจ สู่ร้อยปี” เพื่อวางแผนและปรับปรุงคุณภาพของกิจกรรมวิปัสสนากรรมฐาน
ฉ. พ.ศ.2558 – 2559 ปรับปรุงอัตลักษณ์และพัฒนาระบบงานสื่อสารสารสนเทศ และประชาสัมพันธ์ เพื่อก้าวสู่งานเผยแพร่ยุคดิจิทัล ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้ในวงกว้าง

โครงสร้างองค์การ

 

การบริหารจัดการ
(1) วิสัยทัศน์
เป็นองค์กรทางพระพุทธศาสนาที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพเป็นผู้นำในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาสู่เยาวชนและผู้สนใจ เข้าร่วมศึกษาและปฏิบัติธรรมตามพระไตรปิฎก (เถรวาท) โดยเน้นหลักวิปัสสนากรรมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔ ให้เกิดศรัทธาและปัญญาเพื่อนำหลักมาใช้ในการดำเนินชีวิต พร้อมทั้งเข้าร่วมเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้กว้างขวางต่อไป
(2) พันธกิจ
ก. พัฒนาระบบการบริหารจัดการสมาคมอย่างมีประสิทธิภาพและทันสมัย ได้มาตรฐานสากล
ข. พัฒนาคุณภาพในการจัดอบรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
ค. ขยายและพัฒนาวิธีการเผยแพร่พระพุทธศาสนาสู่เยาชน และสังคม ให้ทันต่อสมัยในหลายช่องทาง
ง. สร้างบุคลากรและเครือข่ายในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องและกว้างขวาง
จ. สร้างความมั่นคงและยั่งยืนให้กับสมาคม
(3) คติธรรมในการบริหารงานสมาคม
การไม่ถือตนเป็นใหญ่ รับฟังความคิดเห็นของทุกคน ไต่ตรองพิจารณาว่าสิ่งใดควรทำ สิ่งใดไม่ควรทำ คิดถึงหลักประโยชน์ส่วนรวม นำธรรมะของพระพุทธเจ้าเข้ามาประกอบพิจารณาทุกครั้ง ภูมิใจในการเป็นผู้เสียสละด้วยความมั่นคงและมั่นใจ

บุคคลสำคัญ
บุคคลสำคัญของยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้แก่ กรรมการบริหารองค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก จำนวน 15 ท่าน ดังนี้

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายมณเธียร ธนานาถ นายยกสมาคม
2 นายล้วนชาย  ว่องวานิช อุปนายกที่ คนที่ 2
3 รศ.ดร.วิไล   เทียนรุ่งโรจน์  หนุนภักดี อุปนกยก คนที่ 3 และประชาสัมพันธ์
4 นางสาวนฤชล  ศฤงคารศุกกุล อุปนายก  คนที่ 4
5 นายนพเก้า  ไชยะบุรินทร์ กรรมการ
6 นางเปรมวดี  อยู่หุ่น กรรมการ
7 นายเอนก  วงศ์ไพฑูรย์ปิยะ กรรมการ
8 รองศาสตราจารย์ดนัย  ปรีชาเพิ่มประสิทธิ์ กรรมการ
9 นางนิภา  วรพันธ์ กรรมการและสาราณียกร
10 นายทัตสกล  ทองเลิศ กรรมการและปฏิคม
11 นายจิรายุ  แก้วพะเนาว์ กรรมการและวิเทศสัมพันธ์
12 นางสาวชญาน์นันท์  สาครสกลพัฒน์ กรรมการและนายทะเบียน
13 นางสาวณรากาญจน์  ชาวนาผล กรรมการและสังคมสงเคราะห์
14 นางสาวศรีนิตย์  ว่องวานิช กรรมการและเหรัญญิก
15 นางสาวกาญจนา  กรัณยประเสริฐ กรรมการและเลขาธิการ

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : ยุวพุทธิกสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลขที่ 4 ซอยเพชรเกษม 54 แยก 6 แขวงบางด้วน เขตภาษีเจริญ จังหวัดกรุงเทพ 10610
โทรศัพท์ : 0-2455-2525
โทรสาร : 0-2413-3131
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : https://www.ybat.org


เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ประวัติ
เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เป็นองค์กรการกุศล มีอุดมการณ์เผยแผ่ธรรม ชี้นำความถูกต้อง ปกป้องพระพุทธศาสนา ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๑๘ โดยการนำของนายประสิทธ กิตติสิทโธ นายจำรัส ดวงธิสาร และคณะ ซึ่งเป็นผู้ได้เคยบวชเรียนมาก่อน แล้วลาสิกขามาเป็นฆราวาส ประกอบอาชีพรับราชการและอาชีพอื่นๆ แตกต่างกันออกไป
ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธรมหาเถร) อดีตกรรมการมหาเถรสมาคมเจ้าคณะใหญ่หนกลาง แม่กองบาลีสนามหลวง และเจ้าอาวาสวัดสามพระยา ได้เมตตานุเคราะห์ สนับสนุนและมอบอาคารสถานที่ภายในวัดสามพระยาเป็นที่ตั้งสำนักงานเปรียญธรรม สมาคมฯ และ ม.ร.ว ศึกฤทธิ์ ปราโมช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่ ๑๓ ของประเทศไทย ได้ให้การสนับสนุนทั้งข้อคิด ข้อเสนอแนะในการดำเนินกิจกรรมและโครงการต่างๆ พ.ศ.๒๕๒๐ ได้จัดตั้ง “มูลนิธิเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย” ขึ้นอีกสถาบันหนึ่ง เพื่อมีส่วนเป็นฐานสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ทั้งนี้ เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทย (สมาคมฯ) มีวัตถุประสงค์ในการก่อตั้ง ดังนี้
(1) ธำรงรักษาและบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนา
(2) ส่งเสริมความสามัคคีและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในทางที่ชอบ
(3) บำเพ็ญสาธารณประโยชน์และสังคมสงเคราะห์
(4) พิทักษ์ความเป็นธรรมในสังคม
(5) ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยและไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
(6) เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและสังคมโดยใช้สื่อสารมวลชนเพื่อสาธารณประโยชน์
(7) เพื่อส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคคล ชุมชนและประเทศชาติตามแนวทางพระราชทานเศรษฐกิจพอเพียง

โครงสร้างองค์การ
(1) คณะกรรมการบริหารมูลนิธิฯ

(2) คณะกรรมการบริหารเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

โครงสร้างองค์การเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ ประกอบด้วยคณะทำงานในตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ประธานกรรมการ รองประธาน กรรมการ เหรัญญิก และเลขานุการ 
 

การจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการต่างๆ
การจัดกิจกรรมและการดำเนินโครงการต่าง ๆ ถือว่าเป็นหัวใจของสถาบันทั้งสองแห่ง คณะกรรมการบริหารทุกคณะได้ร่วมกันทุ่มเททั้งกำลังกายกำลังใจ กำลังทรัพย์ และกำลังสติปัญญาจัดกิจกรรมและดำเนินโครงการต่างๆ ดังนี้
(1) ทำบุญใหญ่ประจำปี การจัดงานทำบุญใหญ่ประจำปี ทุกปี เพื่อบำเพ็ญทักษิณานุปทาน อุทิศกุศลแก่นักธรรม ธรรมศึกษา เปรียญธรรม และผู้มีอุปการคุณที่ล่วงลับไปแล้ว เพื่อฉลองพระภิกษุ–สามเณรทั่วประเทศที่สอบไล่ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยคในสนามหลวง และเพื่อทอดผ้าป่าสามัคคีเพื่อสมทบทุนเพิ่มทุนและตั้งทุนมูลนิธิ
(2) การรักษาศีล ปฏิบัติธรรม จัดโครงการรักษาศีล ปฏิบัติธรรม เพื่อเฉลิมพระเกียรติและถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ปีละ ๔-๕ ครั้ง ตามวัดต่างๆในทุกภาคของประเทศไทย
(3) อบรมศีลธรรม จัดโครงการอบรมศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนในสถานศึกษา ทั้งในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยการส่งพระวิทยากรและฆราวาส วิทยากรไปบรรยายธรรม ฝึกมารยาทไทย และบำเพ็ญจิตภาวนา
(4) ธรรมสัญจร จัดโครงการธรรมสัญจร ทั้งใน กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด โดยการจัดอภิปรายธรรม บรรยายธรรม และเสวนาธรรม ทั้งในวัด สถาบันการศึกษา บริษัท และองค์กรต่างๆ ที่เชิญมาปีละ ๑๒ ครั้ง
(5) เลือกนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่น จัดการคัดเลือกนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่นประจำปี โดยการแบ่งคัดเลือกออกเป็น ๓ ประเภท คือ ประเภทนักธรรมและเปรียญธรรมดีเด่นสาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อประเทศชาติ สาขาผู้บำเพ็ญประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา และสาขาการคัดเลือกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อนำเข้าพระราชทานโล่และรางวัล
(6) ถวายความรู้พระบวชใหม่ จัดโครงการถวายความรู้แก่พระนวกะ (พระบวชใหม่) ในเขตกรุงเทพมหานคร จัดให้มีการถวายความรู้แก่พระนวกะ ทุกวันโกนใหญ่ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) ของทุกเดือนตามหน่วยอบรมเขตต่างๆ ในกรุงเทพมหานคร ตลอดเทศกาลเข้าพรรษา
(7) ร่วมงานวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องในเทศกาลมาฆบูชา วิสาขบูชา และอาสาฬหบูชาของทุกปี คือการจัดนิทรรศการ โต๊ะหมูบูชา การอภิปรายธรรม การบรรยายธรรม การโต้วาที และการทำบุญตักบาตร ณ ปริมณฑลท้องสนามหลวง กรุงเทพมหานคร
(8) จัดรายการธรรมะ “ทางเดิน” ทุกวันอาทิตย์ เวลา ๑๗.๐๐- ๑๗.๓๐ น.ทางสถานีวิทยุกองพลทหารม้าที่ ๒ รักษาพระองค์ คลื่น A.M. ๙๖.๓ โดยนายสมบัติ ศีลสาร ประธานมูลนิธิฯ เป็นผู้ดำเนินรายการ (ยุติรายการไปแล้ว
(9) ทำวารสาร "ทางเดิน" เป็นวารสาร 3 เดือน เพื่อเผยแผ่ธรรม ชี้นำความถูกต้อง ปกป้องพระพุทธศาสนา เป็นสื่อกลางของชาวพุทธ และสร้างจุดเข้าใจอันดี ระหว่างศาสนา กำหนดออกปีละ ๔ ฉบับ ฉบับละ ๔,๐๐๐ เล่ม ๓ เดือนต่อ ๑ ฉบับ โดยจัดส่งให้แก่สมาชิกวารสารทางเดิน ถวายพระเถรานุเถระ ในโอกาสต่างๆ และมอบเป็นธรรมบรรณาการแก่ผู้มีอุปการคุณ
(10) ถวายสังฆทาน จัดบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อานันทมหิดล รัชกาลที่ ๘ ในวันที่ ๙ มิถุนายน และบำเพ็ญกุศลเพื่ออุทิศถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี และอุทิศกุศลแก่ นายบัญชา ล่ำซำ ซึ่งเป็นผู้มีอุปการคุณต่อสถาบันทั้ง ๒ ในวันที่ ๑๘ กรกฎาคม ของทุกปี ฯลฯ
(11) ให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย และแนะนำให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่วัด องค์การกุศล สมาชิก และบุคคลทั่วไป
(12) ให้คำปรึกษาการจัดพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา แก่องค์กรต่างๆ และบุคคลทั่วไป เช่น พิธีทำบุญวันเกิด พิธีบรรพชาอุปสมบท พิธีทำบุญหรือบำเพ็ญกุศลผู้เสียชีวิต และพิธีทำบุญขึ้นบ้านใหม่เป็นต้น
(13) บำเพ็ญกุศลวันมูลนิธิฯในวันคล้ายวันสวรรคตสมเด็จย่า ๑๘ กรกฎาคม

นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ

ลำดับ ชื่อ - นามสกุล ตำแหน่ง
1 นายประสิทธิ กิตติสิทโธ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑-๒
2 นายจำรัส ดวงธิสาร นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๒,๖,๑๒
3 นายประเทือง ไตรทิพย์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๔
4 น.อ (พิเศษ) อ่อน บุญญพันธุ์ ร.น นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๕-๖
5 นายสังเวียน ภู่ระหงษ์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๗-๑๑
6 นายสุพจน์ วิสุทธิกันต์ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๓
7 ดร.สนิท ศรีสำแดง นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๔
8 พลตรี ไชยนาจ ญาติฉิมพลี นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๕-๑๖-๑๗
9 นายโชค ไกรเทพ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๘
10 พันเอก(พิเศษ) บุญชู ศรีเคลือบ นายกเปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ สมัยที่ ๑๙

 

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : เปรียญธรรมสมาคมแห่งประเทศไทยฯ วัดสามพระยา เลขที่ 165 ถนนสามเสน 5 เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพฯ 10200
โทรศัพท์ : 0-2628-7283 / 0-2628-8878
โทรสาร : 0-2628-7283
เว็บไซต์ : https://www.pada.or.th/