สำนักพราหมณ์พระราชครู

สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง

ประวัติ
สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง หรือเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปว่า “โบสถ์พราหมณ์” ตั้งอยู่เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2327 ภายในมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง ก่ออิฐถือปูน มีกำแพงล้อมรอบ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้น เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ทรงสร้างเทวสถานและเสาชิงช้าขึ้นตามประเพณีพระนครโบราณ เป็นเทวสถานที่มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล และพระราชพิธีสำคัญสำหรับพระนคร ทั้งนี้ ภายในเทวสถานจะประกอบด้วยโบสถ์ 3 หลัง ดังนี้
(1) สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร พระอุมาและเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคบันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลายภายในเทวสถานมีเทวรูปพระอิศวรทำด้วยสำริด ประทับยืนขนาด 1.87 เมตร ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีก 31 องค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจามีเทวรูป ศิวลึงค์ 2 องค์ ทำด้วยหินสีดำ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม 3 องค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 พระสรัสวดี 1 องค์ (พระนางสรัสวดี นี้ นายลัลลาล ประสาททวยาส ชาวอินเดียเป็นผู้ถวาย เมื่อประมาณ 20 ปี มานี้) สองข้างแท่นลด มีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิและพระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณมีมาแล้วก่อนสมัยราชกาลที่ 5 ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีข้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพนุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
(2) สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวร 5 องค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์ องค์หนึ่งมีขนาดสูง 1.06 เมตร เป็นประธาน ประดิษฐานอยู่ข้างหน้า องค์บริวารอีก 4 องค์ ขนาดสูง 0.95 เมตร
(3) สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในทำชั้นยกตั้งบุษบก 3 หลัง หลักกลางประดิษฐานพระนารายณ์ ทำด้วยปูน ประทับยืน 2 องค์นี้เป็นองค์จำลองของเดิมไว้ (ของเดิมได้ย้ายไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ในสมัยน้ำท่วม พุทธศักราช 2485) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ สูง 2.50 เมตร เรียกว่า “เสาหงส์” บริเวณลานเทวสถาน ด้านหน้าประตูทางเข้ามีเทวาลัยขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพรหมตั้งอยู่กลางบ่อน้ำสร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 สมัยพระราชครูวามเทพมุนี เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้า 5281 ลำดับ 11 ระบุว่า เทวสถาน เป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 เสาชิงช้า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือ หน้าวัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
ประวัติพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ต่อมาสร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ ที่นั่น จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 ลำดับที่ 10 เป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2592
การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2463 มีคำจารึกติดไว้เสาชิงช้า ดังนี้
“ไม้เสาชิงช้าคู่นี้กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยดีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม่ได้ให้สร้างขึ้นใหม่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ นายหลุยโทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้วนั้น อันเป็นผู้ที่ได้เข้าตั้งเคหะสถานอยู่ในประเทศสยามกว่า 50 ปี เสาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2463”
พุทธศักราช 2502 กระจังที่เป็นลวดลายผลุง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี
พุทธศักราช 2513 สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่เพื่อให้มั่นคงแข็งแรง การปรับปรุงบูรณะได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จและได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พุทธศักราช 2515
“เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นปูนกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ชั้น ทั้ง 2 ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหิวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน”
เทวรูปต่างๆ ที่ประดิษฐานในเทวสถานนั้น สันนิษฐานว่าจะชะลอมาจากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์เทวรูปที่เป็นประธานในแต่ละโบสถ์นั้น จะเป็นเทวรูปที่ได้จากสุโขทัย ด้วยเทียบเคียงศิลปะในสมัยนั้นกับเทวรูปที่มีอยู่มีลักษณะคล้ายกันมาก “...พระโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนคร ให้สูงเท่าพนังเชิง ให้พระพิเรน ณ เท ขึ้นไปรับพระใหญ่ ณ เมืองโศกโขทัย ชะลอเลื่อนลงมากรุง ประทับสมโภช 7 วัน
วัดสุทัศน์นี้กำหนดว่าเป็นกึ่งกลางพระนคร จึงตั้งเทวสถานมีเสาชิงช้าลง ณ ที่นั้นตามประเพณีพระนครโบราณข้อซึ่งว่าพระราชประสงค์จะทำให้สูงเท่าวัดพนังเชิงนั้นก็ชอบกล เพราะถมพื้นสูงขึ้นไปมากในพระนครที่เป็นที่ลุ่ม....” เป็นใจความที่ได้จากหมาย “...ฉบับหนึ่งด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ รับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า พระฤกษ์จะขุรากพระอุโบสถ วัดทำใหม่ ณ เสาชิงช้า พระราชาคณะ 20 รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ ณ วันอาทิตย์ เดือน 3 ขึ้น 4 ค่ำ ปีเถาะ นพศก (จุลศักราช 1164) เพลาบ่าย...” “..... เชิญพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ”
จุลศักราช 1170 ปีมะโรง สัมฤทธิศก เป็นปีที่ 27 ในรัชกาลที่ 1 ณ วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ เชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานในวิหารหลวงวัดมหาธาตุลงมาจากเมืองสุโขทัย หน้าตัก 3 วาคืบ สมโภชที่หน้าตำหนักแพ 3 วัน ครั้น ณ เดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ เชิญพระขึ้นจากแพทางประตูท่าช้างไปทำร่มไว้ข้างถนนเสาชิงช้า ประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูท่าพระ มาจนถึงทุกวันนี้ เหตุว่าต้องรื้อประตูจึงเชิญเข้าไปได้ พระพุทธรูปองค์นี้ภายหลังได้ถวายนามว่า พระศรีศากยมุนี....” จากข้อความที่ยกมานี้พอจะทำให้ทราบได้ว่า เมื่อพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงชะลอพระพุทธรูปมาจากสูโขทัย เมื่อพุทธศักราช 2351 นั้น ทรงมีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว โดยให้สร้างวัดขึ้นกำหนดกลางพระนคร คือ บริเวณใกล้เสาชิงช้าและเทวสถาน แสดงว่าขณะนั้นมีเทวสถานและเสาชิงช้าอยู่ก่อนแล้วเป็นมั่นคงจากการสันนิษฐานตามหลักฐานดังกล่าว คงจะเสด็จไปสุโขทัยหลายครั้ง จึงได้ชะลอพระศรีศากยมุนีลงมาและ
พอจะมนุมานได้อีกว่า เทวรูปที่เทวสถานคงจะได้มาจากสุโขทัยเช่นเดียวกัน แม้จะเป็นเวลาห่างกันถึง 24 ปีก็ตาม ด้วยเทวสถานได้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2327 ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธิจั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป

โครงสร้างองค์การ
โครงสร้างองค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง ประกอบด้วย ประธานพระครูพราหณ์ ที่ปรึกษาคระพราหมณ์ พระครูพราหมณ์ จำนวน 3 ท่าน และพราหมณ์พิธี จำนวน 11 ท่าน ดังนี้

การบริหารจัดการ
องค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง มีการบริหารจัดการโดยคณะพราหมณ์ ตามแผนภูมิที่ 7.4-1 โดยแบ่งงานออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้
(1) ด้านงานพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายแด่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในวาระสำคัญต่างๆ
(2) ด้านหน่วยงานและเอกชน เป็นผู้ประกอบพิธีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทยแต่โบราณ ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวกับการรวมขวัญและมงคลของประชาชน เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย – ตรีปวาย เป็นต้น
(3) พิธีเกี่ยวกับรัฐ บวงสรวงวาระสำคัญวันสถาปนา
(4) พิธีเกี่ยวกับประชาชน เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีเกิด ทำขวัญเดือน ตัดจุก แต่งงาน ปลูกบ้าน และพิธีมงคลตามวาระที่มีความประสงค์
(5) ด้านการเผยแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ตามคติประเพณี ด้วยการประกอบพิธีกรรม เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีแต่โบราณ การให้ความรู้ และการสอนปรัชญาของศาสนา
(6) ด้านการเตรียมบุคลากรพราหมณ์ผู้สืบทอดศาสนา ให้การศึกษาและให้โอกาสลูกหลานพราหมณ์ไปศึกษาต่อยังประเทศอินเดีย โดยมุ่งให้ความรู้ด้านปรัชญาและศาสนา ตามความสามารถของแต่ละคน ให้ความรู้การฝึกฝนด้านการประกอบพิธีกรรม
(7) ด้านการสังคมสงเคราะห์ จัดตั้งมูลนิธิ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ในประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการศาสนา บูรณะ และส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเยาวชน สนับสนุนกิจการด้านจริยธรรมและวัฒนธรรม

บุคคลสำคัญ
องค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดตั้ง
ที่ตั้ง : สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2222-6951
โทรสาร : 0-2224-1211
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.devasthan.org/index.html


สมาคมฮินดูสมาช

ประวัติ
เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา ในเทศกาลวิชัยทศมี ปี พ.ศ. 2468 หนึ่งในวันสำคัญของ ศาสนิกชนชาวฮินดู ชาวภารตะ (ชาวอินเดีย) ในประเทศไทย ได้ถือเป็นวันอุดมฤกษ์อันสำคัญ จึงพร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นหนึ่ง ณ อาคารเล็กๆ หลังหนึ่งในย่านหลังวังบูรพา (ใกล้โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) ในนาม "ฮินดูสภา" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมของสมาคมฯ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นับจากวันก่อตั้งอาคารที่ทำการคูหาเดียวในหลังวังบูรพา ต้องขยับขยายเป็น 3 คูหาติดต่อกันในเวลาต่อมา และด้วยเห็นความสำคัญต้องการสนับสนุนการศึกษาของเหล่าเยาวชนของชาติ จึงได้จัดตั้ง “โรงเรียนภารตวิทยาลัย” ขึ้นในบริเวณเดียวกัน
ในการก่อสร้างอาคารสมาคมฮินดูสมาช และ โรงเรียนภารตวิทยาลัยแล้ว จึงได้ทำการก่อสร้าง โบสถ์เทพมณเฑียร ขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 4 แห่ง อันได้แก่ ลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้) สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และ กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน) มาไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ ณ โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าศาสนิกชนทั้งหลาย โดยสมาคมฯ ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองการเปิดโบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธี
หลักใหญ่ของสมาคมจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู โดยกิจกรรมสำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันเรื่อยมา คือการนัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ นอกจากสวดมนต์และขับร้องเพลงถวายพระเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนใน คัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม
นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศอินเดีย มาแสดงปาฐกถาให้ผู้ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีการตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัย มีการสอนภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ ให้เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน

โครงสร้างองค์การ

การบริการจัดการ
นายกสมาคมฮินดูสมาชเป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริหารสมาคม รับผิดชอบการดำเนินงานของสมาคม มีผู้เผยแพร่ศาสนา จำนวน ๙ คน คณะกรรมการบริหารได้แบ่งการบริหารงานเป็น ๖ หน่วย
(1) ฝ่ายเทพมณเฑียร มีหน้าที่เผยแพร่ศาสนา จัดให้มีการบูชากราบไหว้ พิธีบูชายัญ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาศึกษาหาความรู้จากเทพมณเฑียร
(2) ฝ่ายวัฒนธรรมและศิลปะ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือในกิจการด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนาฮินดู จัดหานักแสดงปาฐกถา นักเผยแพร่วัฒนธรรมจากประเทศอินเดียมาแสดงในประเทศไทย จัดการแสดงละครที่มีเนื้อหาสาระทางศาสนา นาฏศิลป์ ดนตรีให้ความช่วยเหลือร่วมมือแก่นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศอินเดีย จัดพิมพ์หนังสือ หรือเอกสารเกี่ยวกับสมาคม ตลอดจนบทความที่เป็นประโยชน์แก่ความสัมพันธ์ด้านศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย
(3) ฝ่ายการศึกษาและโรงเรียนได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๒ มีชื่อว่าโรงเรียน “บาตรวิทยาลัย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ภารตวิทยาลัย”
(4) ฝ่ายกองทุนสงเคราะห์จัดให้เงินช่วยเหลือแก่บรรดาสมาชิกของสมาคม
(5) ฝ่ายกิจกรรมของสมาคม ให้ความร่วมมือในกิจการด้านส่งเสริมภราดรภาพแก่สมาชิก
(6) ฝ่ายบรรเทาสาธารณภัยให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์สมาชิกผู้ประสบภัย
โดยหลักใหญ่ กิจการของสมาคมฮินดูสมาชจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันในตอนต้นๆ คือ นัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ นอกจากสวดมนต์ และขับร้องเพลงถวายพระเป็นเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความอันว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม นอกจากนี้ หากมีอาคันตุกะ ผู้ทรงวิทยาคุณเดินทางจากประเทศอินเดียมาถึงทางสมาคมก็เชื้อเชิญให้มาแสดงปาฐกถาให้ที่ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยกิจการของสมาคมได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนต้องเพิ่มอาคารที่ทำการให้กว้างขวางออกไปอีกถึง ๓ คูหาซึ่งอยู่ติดๆ กัน และได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีชื่อว่า โรงเรียนภารตวิทยาลัย สอนภาษาฮินดูและภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน นอกจากนี้สมาคมได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลและประชาชนไทยในการดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิได้จัดงานแสดงวิวัฒนาการทางศาสนาร่วมกับกรมการศาสนา เป็นต้น

บุคคลสำคัญ
สมาคมฮินดูสมาช ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สมาคมฮินดูสมาช เลขที่ 136/1-2 ถนนศิริพงษ์ เสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2221-4360
โทรสาร : 0-2221-4360
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://devmandirbangkok.com/


สมาคมฮินดูธรรมสภา

ประวัติ
สมาคมฮินดูธรรมสภา หรือ วัดวิษณุยานนาวา ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ด้วยชาวอุตตรประเทศ จากประเทศอินเดีย เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพียงแห่งเดียวใน เอเชียอาคเนย์ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลักด้วยมือ จากประเทศอินเดีย ครบ ๒๔ องค์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นวัดแม่ของวัดต่างๆ ในศาสนาฮินดูในประเทศไทย สำหรับสถานที่ประดิษฐาน ของเทวรูปนั้น ในโบสถ์ใหญ่ตอนกลาง มีรูปพระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษมณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ จากแม่น้ำนรมทา พระศาลิคราม จากแม่น้ำนารายณี หรือคัณฑกี ข้างขวา มีรูปพระแม่ทุรคา และข้างซ้ายมีรูปเล็กๆ พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระนางราธา เป็นต้น หน้าพระราม (ติดกับเสา) ข้างขวาพระหนุมาน และพระคเณศ
ในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยคือโบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราช (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และโบสถ์พระหนุมาน นอกพระมณฑปข้างขวามีรูปพระพุทธเจ้าปางต่างๆ และข้างซ้ายมีพระคัมภีร์พระเวท สำหรับประวัติความเป็นมานั้น สมาคมฮินดูจากสภา ซึ่งเป็น สมาคมทางศาสนา ในองค์การ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยชาวอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ก่อนนั้นชาวอุตตรประเทศ ได้ไปประกอบศาสนกิจต่างๆ ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ถนนสีลมเมื่อศาสนิกชนชาวอุตตรประเทศ เพิ่มจำนวน และสถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ไม่สามารถขยาย ตามจำนวนศาสนิกชนได้ ก็จำเป็นต้องหาสถานที่ใหม่ โดยซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง บริเวณซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กทม. แล้วจดทะเบียนสำนักงานใหญ่ของ สมาคม หลังจากนั้น เริ่มเรี่ยไรเงินจากชาวฮินดู ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย คนละเล็กคนละน้อยเพื่อสร้างโบสถ์
หลังจากสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญเทวรูปต่างๆ มาจากประเทศอินเดีย และทำพิธีประดิษฐานเทวรูป และทำพิธีเปิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา (วัดวิษณุ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้สร้างศาลาวัดวิษณุใช้ในการประชุม เพื่อประกอบศาสนกิจ บางประการ สร้างสระน้ำเก็บน้ำไว้ตลอดปี เพื่ออาบและเอาไปดื่มในบางโอกาส สมัยนั้นศาลาวิษณุเป็นโรงเรือนที่ทำด้วยไม้และหลังคาเป็นสังกะสี เมื่อศาสนิกชนได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับปรุงโดยสร้างหลังใหม่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้สร้างโบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระหนุมาน ศาลาโหมกูณฑ์ ตามลำดับ เพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจิตศรัทธาของศาสนิกชน

โครงสร้างองค์กร

การบริหารจัดการ
สมาคมฮินดูธรรมสภา จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารงานในด้านต่างๆ ดังนี้
(1) เผยแพร่และ ส่งเสริมศาสนา พราหมณ์-ฮินดู นิกายสฺมารฺตในกลุ่มชาวอินเดีย ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และหรือชนชาวอื่นๆ ที่มีความสนใจในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในราชอาณาจักรไทย
(2) สร้างและส่งเสริมมิตรภาพกับศาสนิกชนอื่นๆ
(3) ร่วมมือกับกรมการศาสนา และปฏิบัติตามนโยบายและโครงการของรัฐบาลไทย นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ทางสมาคมได้สร้างตึกสองชั้นและ ได้ตั้งชื่อตึกนั้นว่า ตึกหอสมุดอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ย้ายหอสมุดมาอยู่ชั้นล่างภายในตึกนี้แล้ว จัดพิธีเปิดหอสมุดอย่างเป็น ทางการอีกครั้งหนึ่ง ฯพณฯ โกคเล เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย มาเป็นประธานพิธีเปิด และมอบหนังสือภาษาฮินดูจำนวนหนึ่งพันเล่มให้แก่หอสมุด ในปัจจุบันมีหนังสือประมาณ ๕,๐๐๐ เล่ม ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป
ในส่วนของกิจกรรมทางศาสนานั้น ได้จัดให้มีเมรุเผาศพชาวฮินดู เพื่อประกอบพิธีฌาปนกิจศาสนิกชนชาวพราหมณ์-ฮินดู ชาวซิกข์และชาวนามธารีไปประกอบพิธีเผาศพ และช่วยกันพัฒนาตามความเหมาะสมให้ดีขึ้น รวมทั้งจัดสถานที่พักอาศัยและสิ่งที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขก ต่างเมืองในการนำเยี่ยมเยียนบุคคลและ สถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรมตลอดถึง สถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งแขกเหล่านี้โดยปกติก็เป็นชาวอินเดียอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า โบสถ์ของทางวัดวิษณุ มีความเก่าแก่มาก บูรณะ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการที่ตัดสินใจ สร้างโบสถ์ใหม่ โดยมีนาย บรำยีต สุกุล ประธาน ได้ลงมือรื้อถอนและ ลงเสาเข็มก่อสร้างโบสถ์ใหม่ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๙ ปี
สำหรับการวางศิลาฤกษ์ของโบสถ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ โบสถ์วัดวิษณุได้ก่อสร้างเสร็จในปี ๒๕๔๔ ซึ่งขณะนั้นมี นายไกรลาศ ตีวารี ประธานของวัดวิษณุ และในปีนี้คือปี ๒๕๔๗ ก็ได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมด ๒๔ องค์ มาจากประเทศอินเดีย เพื่อประดิษฐานในโบสถ์ใหม่แห่งนี้ ซึ่งมีนายรามบีลาส ดูเบย์ ประธานคนปัจจุบันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

บุคคลสำคัญ
สมาคมฮินดูธรรมสภา ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง: สมาคมฮินดูธรรมสภา เลขที่ 50 ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : 0-2221-3840
โทรสาร : 0-2633-8454
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : ไม่มีเว็บไซต์

สำนักพราหมณ์พระราชครู

สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง

ประวัติ
สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง หรือเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ซึ่งเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปว่า “โบสถ์พราหมณ์” ตั้งอยู่เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อพุทธศักราช 2327 ภายในมีโบสถ์อยู่ 3 หลัง ก่ออิฐถือปูน มีกำแพงล้อมรอบ และทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้น เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2329 ทรงสร้างเทวสถานและเสาชิงช้าขึ้นตามประเพณีพระนครโบราณ เป็นเทวสถานที่มีพราหมณ์เป็นผู้ดูแล และพระราชพิธีสำคัญสำหรับพระนคร ทั้งนี้ ภายในเทวสถานจะประกอบด้วยโบสถ์ 3 หลัง ดังนี้
(1) สถานพระอิศวร (โบสถ์ใหญ่) ก่อสร้างด้วยอิฐถือปูนไม่มีพาไล โบสถ์หลังนี้จะมีขนาดใหญ่กว่าหลังอื่นทุกหลัง หลังคาทำชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันด้านหน้ามีเทวรูปปูนปั้นนูน รูปพระอิศวร พระอุมาและเครื่องมงคลรูปสังข์ กลศ กุมภ์ อยู่ในวิมาน ใต้รูปวิมานมีปูนปั้นเป็นรูปเมฆและโคบันทิ หน้าบันด้านหลังไม่มีลวดลายภายในเทวสถานมีเทวรูปพระอิศวรทำด้วยสำริด ประทับยืนขนาด 1.87 เมตร ปางประทานพร โดยยกพระหัตถ์ทั้ง 2 ข้าง และยังมีเทวรูปขนาดกลางอีก 31 องค์ ประดิษฐานในเบญจา (ชุกชี) ถัดไปด้านหลังเบญจามีเทวรูป ศิวลึงค์ 2 องค์ ทำด้วยหินสีดำ ด้านหน้าเบญจามีชั้นลด ประดิษฐานเทวรูปพระพรหม 3 องค์ พระราชครูวามเทพมุนีเป็นผู้สร้าง เมื่อพุทธศักราช 2514 พระสรัสวดี 1 องค์ (พระนางสรัสวดี นี้ นายลัลลาล ประสาททวยาส ชาวอินเดียเป็นผู้ถวาย เมื่อประมาณ 20 ปี มานี้) สองข้างแท่นลด มีเทวรูปพระอิศวรทรงโคนันทิและพระอุมาทรงโคนันทิ เป็นศิลปะปูนปั้นโบราณมีมาแล้วก่อนสมัยราชกาลที่ 5 ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้า 2 ต้น สูง 2.50 เมตร สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ในพระราชพิธีตรียัมพวาย-ตรีปวาย ในวันแรม 1 ค่ำ เดือนยี่ (พระพรหม) พิธีข้าหงส์ในวันแรม 1 ค่ำ และวันแรม 5 ค่ำ เดือนนั้น เป็นพิธีที่มีมาแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ส่วนในวันแรม 3 ค่ำ เป็นพิธีที่เพิ่งจัดให้มีขึ้นในรัชกาลปัจจุบัน ภายหลังจากที่พระราชครูวามเทพนุนี ได้จัดสร้างเทวรูปพระพรหมถวายเนื่องในมหามงคลสมัยวันเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 3 รอบ พระนักษัตร
(2) สถานพระพิฆเนศวร (โบสถ์กลาง) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างยังคงศิลปะอยุธยาที่สร้างโบสถ์ที่มีพาไล ตัวโบสถ์ไม่มีลวดลาย หลังคามีชั้นลด 1 ชั้น หน้าบันเรียบ ไม่มีรูปเทวรูปปูนปั้นเหมือนสถานพระอิศวร ภายในโบสถ์มีเทวรูปพระพิฆเนศวร 5 องค์ ล้วนทำด้วยหิน คือ หินแกรนิต 1 องค์ หินทราย 1 องค์ หินเขียว 2 องค์ ทำด้วยสำริด 1 องค์ ประดิษฐานบนเบญจา ประทับนั่งทุกองค์ องค์หนึ่งมีขนาดสูง 1.06 เมตร เป็นประธาน ประดิษฐานอยู่ข้างหน้า องค์บริวารอีก 4 องค์ ขนาดสูง 0.95 เมตร
(3) สถานพระนารายณ์ (โบสถ์ริม) สร้างด้วยอิฐถือปูน มีพาไลทั้งด้านหน้าและด้านหลัง การก่อสร้างทำเช่นเดียวกับสถานพระพิฆเนศวร ภายในทำชั้นยกตั้งบุษบก 3 หลัง หลักกลางประดิษฐานพระนารายณ์ ทำด้วยปูน ประทับยืน 2 องค์นี้เป็นองค์จำลองของเดิมไว้ (ของเดิมได้ย้ายไปอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ ในสมัยน้ำท่วม พุทธศักราช 2485) ตรงกลางโบสถ์มีเสาลักษณะคล้ายเสาชิงช้าขนาดย่อม สำหรับประกอบพิธีช้าหงส์ สูง 2.50 เมตร เรียกว่า “เสาหงส์” บริเวณลานเทวสถาน ด้านหน้าประตูทางเข้ามีเทวาลัยขนาดเล็ก ประดิษฐานพระพรหมตั้งอยู่กลางบ่อน้ำสร้างขึ้นเมื่อ พุทธศักราช 2515 สมัยพระราชครูวามเทพมุนี เทวสถานได้ขึ้นทะเบียนเป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 2 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 หน้า 5281 ลำดับ 11 ระบุว่า เทวสถาน เป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 เสาชิงช้า ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือ หน้าวัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
ประวัติพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดฯให้สร้างขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม 4 ค่ำ เดือน 5 ปีมะโรง พุทธศักราช 2327 ต่อมาสร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ ที่นั่น จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดยถือคติว่าจะให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 66 ตอนที่ 64 วันที่ 22 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2492 ลำดับที่ 10 เป็น “โบราณวัตถุสถาน” สำคัญของชาติประกาศ ณ วันที่ 18 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2592
การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2463 มีคำจารึกติดไว้เสาชิงช้า ดังนี้
“ไม้เสาชิงช้าคู่นี้กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยดีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม่ได้ให้สร้างขึ้นใหม่นี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่ นายหลุยโทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้วนั้น อันเป็นผู้ที่ได้เข้าตั้งเคหะสถานอยู่ในประเทศสยามกว่า 50 ปี เสาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12 เมษายน พุทธศักราช 2463”
พุทธศักราช 2502 กระจังที่เป็นลวดลายผลุง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี
พุทธศักราช 2513 สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่เพื่อให้มั่นคงแข็งแรง การปรับปรุงบูรณะได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จและได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พุทธศักราช 2515
“เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ 21 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.50 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นปูนกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ชั้น ทั้ง 2 ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐานติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสาตะเกียบ 2 คู่ เป็นเสาหิวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลม กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้า จากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน”
เทวรูปต่างๆ ที่ประดิษฐานในเทวสถานนั้น สันนิษฐานว่าจะชะลอมาจากที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะองค์เทวรูปที่เป็นประธานในแต่ละโบสถ์นั้น จะเป็นเทวรูปที่ได้จากสุโขทัย ด้วยเทียบเคียงศิลปะในสมัยนั้นกับเทวรูปที่มีอยู่มีลักษณะคล้ายกันมาก “...พระโองการรับสั่งให้สร้างวัดขึ้นกลางพระนคร ให้สูงเท่าพนังเชิง ให้พระพิเรน ณ เท ขึ้นไปรับพระใหญ่ ณ เมืองโศกโขทัย ชะลอเลื่อนลงมากรุง ประทับสมโภช 7 วัน
วัดสุทัศน์นี้กำหนดว่าเป็นกึ่งกลางพระนคร จึงตั้งเทวสถานมีเสาชิงช้าลง ณ ที่นั้นตามประเพณีพระนครโบราณข้อซึ่งว่าพระราชประสงค์จะทำให้สูงเท่าวัดพนังเชิงนั้นก็ชอบกล เพราะถมพื้นสูงขึ้นไปมากในพระนครที่เป็นที่ลุ่ม....” เป็นใจความที่ได้จากหมาย “...ฉบับหนึ่งด้วยพระยาอภัยรณฤทธิ รับสั่งใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสั่งว่า พระฤกษ์จะขุรากพระอุโบสถ วัดทำใหม่ ณ เสาชิงช้า พระราชาคณะ 20 รูป จะได้สวดพระพุทธมนต์ ณ วันอาทิตย์ เดือน 3 ขึ้น 4 ค่ำ ปีเถาะ นพศก (จุลศักราช 1164) เพลาบ่าย...” “..... เชิญพระศรีศากยมุนีมากรุงเทพฯ”
จุลศักราช 1170 ปีมะโรง สัมฤทธิศก เป็นปีที่ 27 ในรัชกาลที่ 1 ณ วันพฤหัสบดี เดือน 6 ขึ้น 11 ค่ำ เชิญพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ซึ่งเป็นพระประธานในวิหารหลวงวัดมหาธาตุลงมาจากเมืองสุโขทัย หน้าตัก 3 วาคืบ สมโภชที่หน้าตำหนักแพ 3 วัน ครั้น ณ เดือน 6 ขึ้น 14 ค่ำ เชิญพระขึ้นจากแพทางประตูท่าช้างไปทำร่มไว้ข้างถนนเสาชิงช้า ประตูนั้นก็เรียกว่า ประตูท่าพระ มาจนถึงทุกวันนี้ เหตุว่าต้องรื้อประตูจึงเชิญเข้าไปได้ พระพุทธรูปองค์นี้ภายหลังได้ถวายนามว่า พระศรีศากยมุนี....” จากข้อความที่ยกมานี้พอจะทำให้ทราบได้ว่า เมื่อพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงชะลอพระพุทธรูปมาจากสูโขทัย เมื่อพุทธศักราช 2351 นั้น ทรงมีการเตรียมการไว้ก่อนแล้ว โดยให้สร้างวัดขึ้นกำหนดกลางพระนคร คือ บริเวณใกล้เสาชิงช้าและเทวสถาน แสดงว่าขณะนั้นมีเทวสถานและเสาชิงช้าอยู่ก่อนแล้วเป็นมั่นคงจากการสันนิษฐานตามหลักฐานดังกล่าว คงจะเสด็จไปสุโขทัยหลายครั้ง จึงได้ชะลอพระศรีศากยมุนีลงมาและ
พอจะมนุมานได้อีกว่า เทวรูปที่เทวสถานคงจะได้มาจากสุโขทัยเช่นเดียวกัน แม้จะเป็นเวลาห่างกันถึง 24 ปีก็ตาม ด้วยเทวสถานได้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช 2327 ตามคติโบราณในการสร้างพระนครใหม่นั้น ให้สร้างเทวสถานและเสาชิงช้า เพื่อบูชาพระศิวะ ผู้ทรงประทานพร พระนารายณ์ผู้ทรงรักษา พระพรหมผู้สร้าง เมื่อจัดตั้งเทวสถานแล้วก็เป็นสถานที่จะกราบไหว้เทพเจ้าสำคัญ และการสร้างเสาชิงช้าก็เป็นคติในการทำให้บ้านเมืองแข็งแรง พิธีที่ทำให้ประเทศชาติมั่นคงตามลัทธิจั้น คือ พระราชพิธีตรียัมปวาย-ตรีปวาย ซึ่งจะทำพิธีโล้ชิงช้าแสดงตำนานเทพเจ้าตอนสร้างโลก เมื่อได้ทำพิธีนี้แล้วถือว่าการสร้างพระนคร ได้สำเร็จลงโดยสมบูรณ์ เมื่อสร้างพระนครเรียบร้อยแล้ว จึงได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกต่อไป

โครงสร้างองค์การ
โครงสร้างองค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง ประกอบด้วย ประธานพระครูพราหณ์ ที่ปรึกษาคระพราหมณ์ พระครูพราหมณ์ จำนวน 3 ท่าน และพราหมณ์พิธี จำนวน 11 ท่าน ดังนี้

การบริหารจัดการ
องค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง มีการบริหารจัดการโดยคณะพราหมณ์ ตามแผนภูมิที่ 7.4-1 โดยแบ่งงานออกเป็น 7 ด้าน ดังนี้
(1) ด้านงานพราหมณ์ เป็นผู้ประกอบพระราชพิธีถวายแด่พระมหากษัตริย์ และพระบรมวงศานุวงศ์ ในวาระสำคัญต่างๆ
(2) ด้านหน่วยงานและเอกชน เป็นผู้ประกอบพิธีตามประเพณี และวัฒนธรรมไทยแต่โบราณ ซึ่งเป็นพิธีเกี่ยวกับการรวมขวัญและมงคลของประชาชน เช่น พระราชพิธีแรกนาขวัญ พระราชพิธีตรียัมพวาย – ตรีปวาย เป็นต้น
(3) พิธีเกี่ยวกับรัฐ บวงสรวงวาระสำคัญวันสถาปนา
(4) พิธีเกี่ยวกับประชาชน เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับพิธีเกิด ทำขวัญเดือน ตัดจุก แต่งงาน ปลูกบ้าน และพิธีมงคลตามวาระที่มีความประสงค์
(5) ด้านการเผยแพร่ ส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ตามคติประเพณี ด้วยการประกอบพิธีกรรม เพื่อรักษาวัฒนธรรมอันดีแต่โบราณ การให้ความรู้ และการสอนปรัชญาของศาสนา
(6) ด้านการเตรียมบุคลากรพราหมณ์ผู้สืบทอดศาสนา ให้การศึกษาและให้โอกาสลูกหลานพราหมณ์ไปศึกษาต่อยังประเทศอินเดีย โดยมุ่งให้ความรู้ด้านปรัชญาและศาสนา ตามความสามารถของแต่ละคน ให้ความรู้การฝึกฝนด้านการประกอบพิธีกรรม
(7) ด้านการสังคมสงเคราะห์ จัดตั้งมูลนิธิ เทวสถาน โบสถ์พราหมณ์ในประเทศไทย ให้ความช่วยเหลือด้านการศาสนา บูรณะ และส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับเยาวชน สนับสนุนกิจการด้านจริยธรรมและวัฒนธรรม

บุคคลสำคัญ
องค์กรของสำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดตั้ง
ที่ตั้ง : สำนักพราหมณ์พระราชครู ในสำนักพระราชวัง เลขที่ 268 ถนนบ้านดินสอ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2222-6951
โทรสาร : 0-2224-1211
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://www.devasthan.org/index.html


สมาคมฮินดูสมาช

ประวัติ
เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา ในเทศกาลวิชัยทศมี ปี พ.ศ. 2468 หนึ่งในวันสำคัญของ ศาสนิกชนชาวฮินดู ชาวภารตะ (ชาวอินเดีย) ในประเทศไทย ได้ถือเป็นวันอุดมฤกษ์อันสำคัญ จึงพร้อมใจกันจัดตั้งสมาคมเพื่อรวมใจชาวภารตะให้เป็นหนึ่ง ณ อาคารเล็กๆ หลังหนึ่งในย่านหลังวังบูรพา (ใกล้โบสถ์พราหมณ์ เสาชิงช้า) ในนาม "ฮินดูสภา" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "สมาคมฮินดูสมาช" จนถึงปัจจุบัน
กิจกรรมของสมาคมฯ ได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง นับจากวันก่อตั้งอาคารที่ทำการคูหาเดียวในหลังวังบูรพา ต้องขยับขยายเป็น 3 คูหาติดต่อกันในเวลาต่อมา และด้วยเห็นความสำคัญต้องการสนับสนุนการศึกษาของเหล่าเยาวชนของชาติ จึงได้จัดตั้ง “โรงเรียนภารตวิทยาลัย” ขึ้นในบริเวณเดียวกัน
ในการก่อสร้างอาคารสมาคมฮินดูสมาช และ โรงเรียนภารตวิทยาลัยแล้ว จึงได้ทำการก่อสร้าง โบสถ์เทพมณเฑียร ขึ้น และได้อัญเชิญเทวปฏิมา ของพระผู้เป็นเจ้าและเทพยดาอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู มาจากประเทศอินเดีย (พร้อมกับแผ่นหินอ่อนแกะสลักทั้งหมด) และอัญเชิญดินศักดิ์สิทธิ์จากพุทธสังเวชนียสถานที่สำคัญ 4 แห่ง อันได้แก่ ลุมพินี (สถานที่ประสูติ) พุทธคยา (สถานที่ตรัสรู้) สารนาถ (สถานที่แสดงปฐมเทศนา) และ กุสินารา (สถานที่ปรินิพพาน) มาไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคล พร้อมกันนี้ได้อัญเชิญน้ำจากแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในอินเดีย เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำยมุนา และ แม่น้ำสุรัสวดี ฯลฯ มารวมกันและนำมาประดิษฐานไว้ ณ โบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้ เพื่อเป็นที่สักการะของเหล่าศาสนิกชนทั้งหลาย โดยสมาคมฯ ได้จัดพิธีเฉลิมฉลองการเปิดโบสถ์เทพมณเฑียรแห่งนี้อย่างยิ่งใหญ่ ในวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงพระมหากรุณาธิคุณเสด็จพระราชดำเนินมาทรงเป็นองค์ประธานในพิธี
หลักใหญ่ของสมาคมจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู โดยกิจกรรมสำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันเรื่อยมา คือการนัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ นอกจากสวดมนต์และขับร้องเพลงถวายพระเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนใน คัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม
นอกจากนี้ยังมีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิ จากประเทศอินเดีย มาแสดงปาฐกถาให้ผู้ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วย ต่อมาในปี พ.ศ.2482 ได้มีการตั้งโรงเรียนภารตวิทยาลัย มีการสอนภาษาฮินดี และภาษาอังกฤษ ให้เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน

โครงสร้างองค์การ

การบริการจัดการ
นายกสมาคมฮินดูสมาชเป็นหัวหน้าคณะกรรมการบริหารสมาคม รับผิดชอบการดำเนินงานของสมาคม มีผู้เผยแพร่ศาสนา จำนวน ๙ คน คณะกรรมการบริหารได้แบ่งการบริหารงานเป็น ๖ หน่วย
(1) ฝ่ายเทพมณเฑียร มีหน้าที่เผยแพร่ศาสนา จัดให้มีการบูชากราบไหว้ พิธีบูชายัญ อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาศึกษาหาความรู้จากเทพมณเฑียร
(2) ฝ่ายวัฒนธรรมและศิลปะ มีหน้าที่ให้ความร่วมมือในกิจการด้านวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับศาสนาฮินดู จัดหานักแสดงปาฐกถา นักเผยแพร่วัฒนธรรมจากประเทศอินเดียมาแสดงในประเทศไทย จัดการแสดงละครที่มีเนื้อหาสาระทางศาสนา นาฏศิลป์ ดนตรีให้ความช่วยเหลือร่วมมือแก่นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะเดินทางไปยังประเทศอินเดีย จัดพิมพ์หนังสือ หรือเอกสารเกี่ยวกับสมาคม ตลอดจนบทความที่เป็นประโยชน์แก่ความสัมพันธ์ด้านศาสนาและวัฒนธรรมระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย
(3) ฝ่ายการศึกษาและโรงเรียนได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๘๒ มีชื่อว่าโรงเรียน “บาตรวิทยาลัย” ต่อมาเปลี่ยนเป็น “ภารตวิทยาลัย”
(4) ฝ่ายกองทุนสงเคราะห์จัดให้เงินช่วยเหลือแก่บรรดาสมาชิกของสมาคม
(5) ฝ่ายกิจกรรมของสมาคม ให้ความร่วมมือในกิจการด้านส่งเสริมภราดรภาพแก่สมาชิก
(6) ฝ่ายบรรเทาสาธารณภัยให้ความช่วยเหลือบรรเทาทุกข์สมาชิกผู้ประสบภัย
โดยหลักใหญ่ กิจการของสมาคมฮินดูสมาชจะยึดมั่นอยู่กับคำสอนของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และกิจกรรมที่สำคัญประการหนึ่งของสมาคมซึ่งได้ยึดถือปฏิบัติกันในตอนต้นๆ คือ นัดชุมนุมกันในเวลากลางคืนของทุกวันจันทร์ นอกจากสวดมนต์ และขับร้องเพลงถวายพระเป็นเจ้าแล้ว ก็มีการอ่าน และบรรยายความหมายของคำสอนในคัมภีร์ภควัทคีตา บางครั้งก็มีการอ่านบทความอันว่าด้วยเรื่องราวทางศาสนา หรือวัฒนธรรม นอกจากนี้ หากมีอาคันตุกะ ผู้ทรงวิทยาคุณเดินทางจากประเทศอินเดียมาถึงทางสมาคมก็เชื้อเชิญให้มาแสดงปาฐกถาให้ที่ชุมนุมฟัง พร้อมทั้งมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันด้วยกิจการของสมาคมได้ขยายตัวขึ้นเป็นลำดับ จนต้องเพิ่มอาคารที่ทำการให้กว้างขวางออกไปอีกถึง ๓ คูหาซึ่งอยู่ติดๆ กัน และได้ตั้งโรงเรียนขึ้นเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๘๒ มีชื่อว่า โรงเรียนภารตวิทยาลัย สอนภาษาฮินดูและภาษาอังกฤษให้แก่เยาวชนอินเดียเป็นพิเศษในเวลากลางคืน นอกจากนี้สมาคมได้มีส่วนร่วมกับรัฐบาลและประชาชนไทยในการดำเนินกิจกรรมสาธารณประโยชน์ อาทิได้จัดงานแสดงวิวัฒนาการทางศาสนาร่วมกับกรมการศาสนา เป็นต้น

บุคคลสำคัญ
สมาคมฮินดูสมาช ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง : สมาคมฮินดูสมาช เลขที่ 136/1-2 ถนนศิริพงษ์ เสาชิงช้า แขวงสำราญราษฎร์ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10200
โทรศัพท์ : 0-2221-4360
โทรสาร : 0-2221-4360
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : http://devmandirbangkok.com/


สมาคมฮินดูธรรมสภา

ประวัติ
สมาคมฮินดูธรรมสภา หรือ วัดวิษณุยานนาวา ตั้งอยู่เลขที่ ๕๐ ซอยวัดปรก เขตยานนาวา กรุงเทพมหานคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๓ ด้วยชาวอุตตรประเทศ จากประเทศอินเดีย เป็นวัดของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพียงแห่งเดียวใน เอเชียอาคเนย์ที่มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ สร้างด้วยหินอ่อนแกะสลักด้วยมือ จากประเทศอินเดีย ครบ ๒๔ องค์ นอกจากนี้แล้วยังเป็นวัดแม่ของวัดต่างๆ ในศาสนาฮินดูในประเทศไทย สำหรับสถานที่ประดิษฐาน ของเทวรูปนั้น ในโบสถ์ใหญ่ตอนกลาง มีรูปพระราม พระนางสีดา พระพรต พระลักษมณ์ พระสัตรุต พระหนุมาน พระศิวลึงค์ จากแม่น้ำนรมทา พระศาลิคราม จากแม่น้ำนารายณี หรือคัณฑกี ข้างขวา มีรูปพระแม่ทุรคา และข้างซ้ายมีรูปเล็กๆ พระนารายณ์ พระแม่ลักษมี พระศิวะ พระแม่ปารวตี พระพิฆเนศวร พระกฤษณะ พระนางราธา เป็นต้น หน้าพระราม (ติดกับเสา) ข้างขวาพระหนุมาน และพระคเณศ
ในบริเวณวัดวิษณุมีโบสถ์ย่อยคือโบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์นาฏราช (อยู่ใต้ต้นโพธิ์) และโบสถ์พระหนุมาน นอกพระมณฑปข้างขวามีรูปพระพุทธเจ้าปางต่างๆ และข้างซ้ายมีพระคัมภีร์พระเวท สำหรับประวัติความเป็นมานั้น สมาคมฮินดูจากสภา ซึ่งเป็น สมาคมทางศาสนา ในองค์การ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ได้ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ โดยชาวอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย ก่อนนั้นชาวอุตตรประเทศ ได้ไปประกอบศาสนกิจต่างๆ ณ วัดพระศรีมหาอุมาเทวี (วัดแขก) ถนนสีลมเมื่อศาสนิกชนชาวอุตตรประเทศ เพิ่มจำนวน และสถานที่ในบริเวณวัดพระศรีมหาอุมาเทวี ไม่สามารถขยาย ตามจำนวนศาสนิกชนได้ ก็จำเป็นต้องหาสถานที่ใหม่ โดยซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง บริเวณซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน เขตยานนาวา กทม. แล้วจดทะเบียนสำนักงานใหญ่ของ สมาคม หลังจากนั้น เริ่มเรี่ยไรเงินจากชาวฮินดู ที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย คนละเล็กคนละน้อยเพื่อสร้างโบสถ์
หลังจากสร้างเสร็จแล้ว ได้อัญเชิญเทวรูปต่างๆ มาจากประเทศอินเดีย และทำพิธีประดิษฐานเทวรูป และทำพิธีเปิดเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ตั้งชื่อว่า สมาคมฮินดูธรรมสภา (วัดวิษณุ) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ได้สร้างศาลาวัดวิษณุใช้ในการประชุม เพื่อประกอบศาสนกิจ บางประการ สร้างสระน้ำเก็บน้ำไว้ตลอดปี เพื่ออาบและเอาไปดื่มในบางโอกาส สมัยนั้นศาลาวิษณุเป็นโรงเรือนที่ทำด้วยไม้และหลังคาเป็นสังกะสี เมื่อศาสนิกชนได้เพิ่มมากขึ้น จึงได้ปรับปรุงโดยสร้างหลังใหม่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน ต่อมาได้สร้างโบสถ์พระศิวลึงค์ โบสถ์พระแม่ทุรคา โบสถ์พระหนุมาน ศาลาโหมกูณฑ์ ตามลำดับ เพื่อปฏิบัติกิจทางศาสนาตามจิตศรัทธาของศาสนิกชน

โครงสร้างองค์กร

การบริหารจัดการ
สมาคมฮินดูธรรมสภา จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการบริหารงานในด้านต่างๆ ดังนี้
(1) เผยแพร่และ ส่งเสริมศาสนา พราหมณ์-ฮินดู นิกายสฺมารฺตในกลุ่มชาวอินเดีย ที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และหรือชนชาวอื่นๆ ที่มีความสนใจในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ในราชอาณาจักรไทย
(2) สร้างและส่งเสริมมิตรภาพกับศาสนิกชนอื่นๆ
(3) ร่วมมือกับกรมการศาสนา และปฏิบัติตามนโยบายและโครงการของรัฐบาลไทย นอกจากนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ทางสมาคมได้สร้างตึกสองชั้นและ ได้ตั้งชื่อตึกนั้นว่า ตึกหอสมุดอนุสรณ์แด่ศาสตราจารย์สุกิจ นิมมานเหมินท์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ ย้ายหอสมุดมาอยู่ชั้นล่างภายในตึกนี้แล้ว จัดพิธีเปิดหอสมุดอย่างเป็น ทางการอีกครั้งหนึ่ง ฯพณฯ โกคเล เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย มาเป็นประธานพิธีเปิด และมอบหนังสือภาษาฮินดูจำนวนหนึ่งพันเล่มให้แก่หอสมุด ในปัจจุบันมีหนังสือประมาณ ๕,๐๐๐ เล่ม ซึ่งอำนวยประโยชน์แก่บรรดาสมาชิกและผู้สนใจทั่วไป
ในส่วนของกิจกรรมทางศาสนานั้น ได้จัดให้มีเมรุเผาศพชาวฮินดู เพื่อประกอบพิธีฌาปนกิจศาสนิกชนชาวพราหมณ์-ฮินดู ชาวซิกข์และชาวนามธารีไปประกอบพิธีเผาศพ และช่วยกันพัฒนาตามความเหมาะสมให้ดีขึ้น รวมทั้งจัดสถานที่พักอาศัยและสิ่งที่จำเป็น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่แขก ต่างเมืองในการนำเยี่ยมเยียนบุคคลและ สถาบันทางศาสนาและวัฒนธรรมตลอดถึง สถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย ซึ่งแขกเหล่านี้โดยปกติก็เป็นชาวอินเดียอยู่ด้วย ด้วยเหตุผลที่ว่า โบสถ์ของทางวัดวิษณุ มีความเก่าแก่มาก บูรณะ พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการที่ตัดสินใจ สร้างโบสถ์ใหม่ โดยมีนาย บรำยีต สุกุล ประธาน ได้ลงมือรื้อถอนและ ลงเสาเข็มก่อสร้างโบสถ์ใหม่ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างประมาณ ๙ ปี
สำหรับการวางศิลาฤกษ์ของโบสถ์ ได้กราบบังคมทูล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ มาเป็นองค์ประธานในพิธีนี้ โบสถ์วัดวิษณุได้ก่อสร้างเสร็จในปี ๒๕๔๔ ซึ่งขณะนั้นมี นายไกรลาศ ตีวารี ประธานของวัดวิษณุ และในปีนี้คือปี ๒๕๔๗ ก็ได้อัญเชิญเทวรูปทั้งหมด ๒๔ องค์ มาจากประเทศอินเดีย เพื่อประดิษฐานในโบสถ์ใหม่แห่งนี้ ซึ่งมีนายรามบีลาส ดูเบย์ ประธานคนปัจจุบันเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

บุคคลสำคัญ
สมาคมฮินดูธรรมสภา ไม่มีองค์ศาสดาให้นับถือเหมือนศาสนาอื่น ทั้งนี้เพราะ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดูเป็นศาสนาที่สืบทอดมาจากการนับถือคัมภีร์พระเวทอันศักดิ์สิทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้าเท่านั้น หากจะมีการนับถือ ก็จะมีเพียงเทพเจ้าสำคัญๆ ในศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู ซึ่งได้แก่ ท้าวกุเวร พระคเณศ พญานาค พระคงคา พระธรณี พระพรหมา พระพิฆเนศวร พระยม พระลักษมี พระวรุณ พระวาย พระวิษณุ พระศิวะ พระสรัสวดี และพระอินทร์

สถานที่ตั้งและการติดต่อ
ที่ตั้ง: สมาคมฮินดูธรรมสภา เลขที่ 50 ซอยวัดปรก แขวงทุ่งวัดดอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร 10120
โทรศัพท์ : 0-2221-3840
โทรสาร : 0-2633-8454
อีเมล์ : [email protected]
เว็บไซต์ : ไม่มีเว็บไซต์