share line share line

วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว)

ที่ตั้ง : พระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200

ประวัติความเป็นมา

        เรียกกันอย่างสามัญโดยทั่วไปว่า วัดพระแก้ว ด้วย เหตุที่เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นพร้อม พระบรมมหาราชวังตั้งแต่พุทธศักราช 2325 เพื่อให้เป็น วัดในเขตพระบรมมหาราชวังที่ไม่มีเขตสังฆาวาสและไม่มี พระภิกษุสามเณรจำพรรษา เช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ ในเขตพระราชวังกรุงศรีอยุธยา โดยตั้งพระราชหฤทัย จะให้เป็นพระอารามที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตน ปฏิมากรหรือพระแก้วมรกตที่อัญเชิญกลับมาจากเมือง เวียงจันทน์ และประดิษฐานอยู่ที่วัดแจ้งหรือวัดอรุณ ราชวรารามในสมัยกรุงธนบุรี และจะให้เป็นพระอาราม ที่ใช้ในการบําเพ็ญพระราชกุศล รวมทั้งพิธีกรรมทางศาสนา

        ที่สำคัญ ซึ่งยังคงปฏิบัติเช่นเดียวกันนี้ สืบต่อกันมาจน ในปัจจุบัน ภายในพระอารามมีปูชนียสถาน ปูชนียวัตถุที่สำคัญเป็นอันมากด้วยเหตุที่เป็นพระอารามคู่บ้านคู่เมือง และได้รับการก่อสร้างศาสนสถานเพิ่มเติมเป็นระยะๆ รวมทั้งมีการบูรณปฏิสังขรณ์มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีประวัติการบูรณะ ครั้งใหญ่ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพุทธศักราช 2375 คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 100 ปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อพุทธศักราช 2425 ครบ 150 ปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช 2475 และ 200 ปี ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร เมื่อพุทธศักราช 2525

        สิ่งสำคัญภายในวัด

        พระอุโบสถ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 หลังคาประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ แสดงออกถึงฐานานุศักดิ์ ชั้นสูง
ในสถาปัตยกรรมไทย ภายในเป็นที่ตั้งบุษบกยกฐานสูง ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรหรือ พระแก้วมรกต
ภายในพระอุโบสถยังได้ประดิษฐานพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพระพุทธรูป ฉลองพระองค์ ปางห้ามสมุทร
โดยมีนามในภายหลังว่า พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกและพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ส่วนจิตรกรรมฝาผนังภายในเป็นแบบไทยประเพณี เขียนภาพพุทธประวัติระหว่างช่องหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ

        พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ แกะสลักจากหินหยก แม้ว่าจะมีพุทธศิลป์แบบศิลปะล้านนา แต่ปรากฏตํานานและพงศาวดารที่กล่าวถึงที่มาและอายุในการสร้าง อย่างหลากหลาย ส่วนใหญ่เป็นเรื่องทางปาฏิหาริย์ ในตํานานกล่าวว่า เคยประดิษฐานที่เมืองละโว้ อยุธยา กําแพงเพชร เชียงราย ภายหลังจะอัญเชิญไปเชียงใหม่ แต่เกิดปาฏิหาริย์ต้องประดิษฐานที่วัดพระแก้วดอนเต้า เมืองลําปาง และไปประดิษฐานที่วัดเจดีย์หลวงเมืองเชียงใหม่ ภายหลังถูกอัญเชิญไปยังอาณาจักรล้านช้าง ครั้นถึงสมัยกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (รัชกาลที่ 1) ได้อัญเชิญกลับมา สมเด็จพระเจ้าตากสิน มหาราช โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐาน ณ วัดอรุณราชวราราม เมื่อรัชกาลที่ 9 ทรงสถาปนากรุง รัตนโกสินทร์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

        พระระเบียงรอบพระอุโบสถ มีความโดดเด่นตรงที่มีภาพจิตรกรรมฝาผนัง เรื่อง รามเกียรติ์ เขียนขึ้น ตั้งแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 มีการซ่อมบูรณะเรื่อยมา ต่อมาในคราวบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่วาระสมโภชพระนคร ครบ 100 ปี ในสมัยรัชกาลที่ 5 ในการนี้ได้ทรงพระนิพนธ์โคลงประกอบภาพไว้จํานวนแปดห้อง

ปราสาทพระเทพบิดร เดิมเรียกว่า พระพุทธปรางค์ปราสาท สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๔ ภายหลังมีการบูรณะใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 5 แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า ปราสาทพระเทพบิดร นับเป็นอาคารทรงจัตุรมุข ยอดปรางค์หลังเดียวในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผนัง ฐานและเสา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี หน้าบัน ของจัตุรมุขแต่ละทิศ จําหลักไม้ลงรักปิดทองรูปพระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 4 ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปสมเด็จพระบูรพมหากษัตริยาธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 9

        พระมณฑป ตั้งอยู่ด้านหลังปราสาทพระเทพบิดร สร้างแต่ครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 สําหรับประดิษฐาน พระไตรปิฎกฉบับ
ทองใหญ่ หลังคาย่อมุมและสอบขึ้นแบบทรงปราสาท ผนังภายนอกทั้งหมดทําเป็นลายเทพนม ปิดทองประดับกระจกในกรอบลายพุ่มข้าวบิณฑ์

        พระศรีรัตนเจดีย์ หรือ เจดีย์ทอง ตั้งอยู่ด้านตะวันตกของพระมณฑป สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ตามแบบเจดีย์ทรงระฆังวัดพระศรีสรรเพชญ ในกรุงศรีอยุธยา ภายในประดิษฐานพระเจดีย์ขนาดเล็กที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยรัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้ประดับด้วยกระเบื้องสีทองทั้งองค์

        พระอัษฎามหาเจดีย์ หรือ พระปรางค์ 8 องค์ ลักษณะเป็นพระปรางค์ย่อมุมไม้สิบสองเหมือนกัน ทุกองค์ แตกต่างกันที่สีของกระเบื้องเคลือบสร้างครั้งสมัยรัชกาลที่ 1 ถวายเพื่อเป็นพุทธบูชา ตั้งเรียงกันอยู่ด้าน หน้าพระอารามจากทิศเหนือมาทิศใต้ จึงมีชื่อเรียกและลักษณะสีกระเบื้องต่างกัน อาทิ พระปรางค์สีเหลืองที่ ตั้งอยู่ทางทิศใต้สุด ชื่อ พระศรีอริยเมตตะมหาเจดีย์
สร้างอุทิศถวายแต่พระพุทธเจ้าในอนาคต